Look for any podcast host, guest or anyone
Showing episodes and shows of

Fatoutkey

Shows

FatoutkeyFatoutkeyCholesterol-Years👨‍⚕️ จากวิดีโอเล็คเชอร์ชื่อ LDL-C Cumulative Exposure Hypothesis of ASCVD โดย Prof.Brian A Ference ซึ่งเป็นเล็คเชอร์เดียวของเขาที่พี่หาเจอใน Youtube และเป็นเล็คเชอร์ดีสุดๆ ที่บอกให้รู้ว่าไม่เพียงแค่ระดับ ldl-c ที่เราปล่อยให้สูงเกินระดับทางสรีรวิทยา (40 มก/ดล) มากเท่าไหร่เท่านั้น (Magnitude) แต่รวมถึงระยะเวลาที่เราปล่อยให้ระดับสูงเกินกว่าระดับสรีรวิทยาด้วย (Temporal) ที่เร่งความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้อย่างมหาศาล 👨‍⚕️ Prof. Brian A Ference เป็นนักวิจัยชื่อแรกของงานวิจัยสำคัญมาก ซึ่งถือเป็น Landmark study ชื่อ Low-density lipoproteins cause atherosclerotic cardiovascular disease. 1. Evidence from genetic, epidemiologic, and clinical studies. A consensus statement from the European Atherosclerosis Society Consensus Panel ซึ่งพี่ปุ๋มได้ทำไลฟ์สรุปงานวิจัยครั้งที่ 20 ซึ่งสรุปงานวิจัยฉบับนี้ให้น้องๆได้ฟังกันเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสรุปว่า Low density lipoproteins (LDL) เป็น “สาเหตุ” ของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน )Atherosclerotic Cardiovascular Disease) 🚩 Apo B containing Lipoprotein particles ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 70 นาโนเมตร (ตั้งแต่ Chylomicron remnants, VLDL remnants ลงมา) สามารถแทรกเข้าออกใต้ชั้น intima ของหลอดเลือดได้หมด ในโลกโซเชียลมีเดีย health influencers กำมะลอ (รวมถึงแพทย์บางคนด้วย 😭) โม้ว่า ldl-particle มี 2 แบบคือ แบบ A ขนาดใหญ่ (25 นาโนเมตร) และ แบบ B ขนาดเล็ก (15 นาโนเมตร) ถ้าใช้ไดเอ็ทบางประเภทแล้วทำให้ระดับ ldl-c พุ่งกระฉูด ไม่ต้องกังวล เพราะไดเอ็ทประเภทนี้จะทำให้ ldl particle เป็นแบบ A มีขนาดใหญ่ (25 นาโนเมตรนี่ใหญ่กว่า 70 นาโนเมตรเหรอ?) ตราบใดที่ hdl-c สูง ไตรกลีเซอไรด์ต่ำ แล้วบอกให้ดู ratio TG/Hdl ถ้าไม่เกิน 2 ไม่ต้องสนใจ ldl-c ที่สูงกระฉูดนี่พี่เศร้าใจมาก 👩🏻‍💻 ในไลฟ์สรุปงานวิจัยครั้งที่ 21 นี้ พี่จะสรุปงานวิจัย 2 ฉบับที่ Dr.Thomas Dayspring อ้างถึง รวมทั้งจะอธิบายความเข้าใจผิดของ health influencer บางคนที่ให้ข้อมูลผู้ติดตามผิดๆว่า กินยาลดระดับไขมันกลุ่ม Statin แล้ว เสียชีวิตช้ากว่ากลุ่มที่ไม่ได้กินยาแค่ 3 วัน สร้างความตลกขบขันในกลุ่มผู้ติดตาม ทั้งๆที่ ignorance ไม่รู้ว่าหายนะจาก compound effect ของเวลากำลังจะมาเยือน (หลังจากเจอความ ignorance ของ health influencer กำมะลอในโซเชียลมีเดียนี่ พี่ปุ๋มปากจัดขึ้นเยอะ 😁)2023-04-081h 15FatoutkeyFatoutkeyLandmark study สรุปว่า LDL เป็นสาเหตุของ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน👩‍💼ภารกิจที่พี่ปุ๋มตั้งใจทำ แม้ว่ามันจะใช้พลังงานกาย ใจ เงิน ในการทำไลฟ์แต่ละครั้งก็ตามคือ นำข้อมูลสุขภาพจากงานวิจัยที่มีคุณภาพมาย่อยให้น้องๆได้ฟัง/ชมกัน มีข้อมูลสุขภาพหลายเรื่องที่แพร่กระจายอย่างผิดๆอยู่บนโซเชียลมีเดีย เรื่องที่พี่ปุ๋มให้ความสำคัญมากเรื่องหนึ่ง นอกเหนือไปจากความเข้าใจผิดว่า “ฮอร์โมนอินซูลินทำให้เราอ้วน ดังนั้นการตัดคาร์โบไฮเดรตออกไปจากมื้ออาหาร จึงเป็นวิธีที่จะช่วยลดน้ำหนักได้ดีที่สุด” ก็คือความเชื่อผิดๆที่ว่าระดับ ldl-cholesterol ที่สูง ไม่เป็นสาเหตุของการเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ตราบใดที่ระดับไตรกลีเซอไรด์ต่ำ และระดับ HDL-Cholesterol สูง พี่เชื่อว่าการที่น้องๆได้รับข้อมูลด้านเดียวจากเหล่า health influencers เหล่านี้ ที่นำเอางานวิจัยที่ไม่ได้มาตรฐานที่เผยแพร่กันต่อๆกันในเฉพาะกลุ่มมานำเสนอ ทำให้น้องๆเข้าไม่ถึงข้อมูลอีกชุดหนึ่งที่เผยแพร่ได้รับการยอมรับเป็นเอกฉันท์อยู่ในชุมชนการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น 👩🏻‍💻 ในไลฟ์ ซีรีส์สรุปงานวิจัยครั้งที่ 20 พี่จะสรุปข้อมูลงานวิจัย 1 ใน 2 ฉบับซึ่งถือเป็น landmark study เป็นคำประกาศที่เป็นเอกฉันท์ (Consensus Statement) จาก European Atherosclerosis Society Consensus Panel ชื่อ “Low-density lipoproteins cause atherosclerotic cardiovascular disease. 1. Evidence from genetic, epidemiologic, and clinical studies. A consensus statement from the European Atherosclerosis Society Consensus Panel” ตีพิมพ์ในวารสาร European Heart Journal เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2561 📃 งานวิจัยฉบับนี้ใช้ประโยคที่หนักแน่นมากว่า Low-density lipoproteins CAUSE atherosclerotic cardiovascular disease (ldl “เป็นสาเหตุ”ของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน) ฟันธงหนักแน่นด้วยหลักฐานงานวิจัยทั้งด้านพันธุกรรม ด้านระบาดวิทยา และ randomized controlled tirials ครบถ้วน นอกเหนือจากที่งานวิจัยฉบับนี้เขียนไว้ชัดเจนว่า Lipoproteins-particle ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 70 นาโนเมตร (VLDL, VLDL-remnants, IDL, LDL, Lp(a)) สามารถแทรกเข้า-ออกใต้ชั้นหลอดเลือดและเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันแล้วนั้น ยังมีข้อมูลสำคัญอื่นๆที่พี่สมควรจะนำงานวิจัยฉบับนี้มาสรุปให้น้องๆได้ฟังกัน เพื่อความกระจ่างว่า ทำไมการปล่อยให้ ldl-cholesterol (ที่จริงต้องพูดว่า ldl particle) สูงเกินระดับมาตรฐาน มากเท่าไหร่ และนานเท่าไหร่ ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจมากเท่านั้น2023-03-211h 49FatoutkeyFatoutkeyCholesterol Paradox📃 มีงานวิจัยทำในประเทศเดนมาร์กชื่อ “Association between low density lipoprotein and all cause and cause specific mortality in Denmark: prospective cohort study” ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ British Medical Journal เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2563 ซึ่งเป็น prospective cohort study ศึกษาประชากรเดนมาร์กอายุ 20-100 ปี ที่ recruit ในช่วงปีพ.ศ. 2546-2558 จำนวน 108,243 คน ติดตามไป 9.4 ปี ดูความเกี่ยวพันระหว่างระดับ ldl-cholesterol กับ ความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ (all causes mortality) แล้วพบว่ามีลักษณะเป็น u-shape คือ ในประชากรที่มีระดับ ldl-cholesterol สูงและต่ำ มีความเกี่ยวพันกับการเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ 📌 งานวิจัยฉบับนี้ เป็นที่ฮือฮาในบรรดา health influencers ที่ปฏิเสธอันตรายของคอเลสเตอรอลเป็นอย่างยิ่ง (cholesterol deniers) ต่างนำข้อมูลมาเผยแพร่ในโซเชียลมีเดียกันอย่างกว้างขวาง ตีความงานวิจัยอย่างไม่ถูกต้อง สร้างความสับสนให้กับประชาชน จนถึงขนาดที่นักวิจัยผู้ทำการศึกษาฉบับนี้ ต้องออกจดหมายแสดงความกังวลถึงการเผยแพร่ข้อมูลอย่างผิดพลาดในโซเชียลมีเดีย และชี้แจงข้อสรุปที่ถูกต้อง ซึ่งมาจากคณะผู้ทำงานวิจัยฉบับนี้ 👩🏻‍💻 ในไลฟ์ # 59 พี่จะนำข้อมูลจากงานวิจัยมาอธิบายข้อเท็จจริงเรื่อง Cholesterol Paradox นี้ว่าเป็นอย่างไรกันแน่ การมีระดับ ldl-cholesterol ต่ำ มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ ดังนั้นไม่ควรปล่อยให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดต่ำเกินไป จริงหรือ?2023-03-061h 24FatoutkeyFatoutkey3 ปัจจัยสำคัญในมื้ออาหาร ที่มีโอกาสทำให้เราอ้วนมากที่สุด👨‍⚕️ ในงานวิจัยสาขา Obesity พี่ว่าน้อยคนมากที่จะไม่รู้จัก Dr.Kevin D. Hall Ph.D. เขาดำรงตำแหน่ง Section Chief: Physiology Section, Laboratory of Biomedical Modeling ที่ National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Disesses (NIDDK) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ National Institutes of Health (NIH) 🧪 งานวิจัยจากห้องแล็ปของเขามุ่งสำรวจว่า ระบบเมตาบอลิสมและสมองปรับตัวเพื่อตอบสนองการแทรกแซงด้วยโภชนาการและการมีกิจกรรมทางกายอย่างไร เพื่อทำความเข้าใจระบบควบคุมน้ำหนักของร่างกาย เพื่อหาวิธีจัดการกับโรคอ้วนที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและรุนแรงทั่วโลก 👩🏻‍💻 พี่ปุ๋มเก็บงานวิจัยของ Dr.Kevin Hall เกือบทุกฉบับ และนำมาทำไลฟ์ให้ น้องๆชมกันเป็นระยะ เขาเป็นหนึ่งในนักวิจัยที่ทำให้พี่ตาสว่างว่า Carbohydrate และ อินซูลิน ไม่ได้ทำให้มนุษย์อ้วน เหมือนอย่างที่พี่เคยเข้าใจจากการหลงเชื่อ “เรื่องเล่า” Carbohydrate Insulin Obesity Model ของ Health Influencers ชื่อดังหลายคน 😁 📃 ในเดือน ม.ค. 2566 Dr.Hall และคณะได้ตีพิมพ์งานวิจัยที่น่าสนใจเพื่อสำรวจว่าอะไรคือ 3 ปัจจัยสำคัญของมื้ออาหารที่มีโอกาสทำให้เราอ้วนได้มากที่สุด นอกจากงานวิจัยฉบับนี้แล้ว พี่ปุ๋มจะสรุปเลคเชอร์ล่าสุดของ Dr.Kevin Hall ชื่อ “The Calculus of Calories: Quantifying Human Body Weight Regulation” ที่พี่ได้ฟัง version ล่าสุดเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2566 เป็นเลคเชอร์ที่เจ๋งมากๆค่ะ ขนาดพี่ได้ฟัง version แรกมาแล้ว มาฟัง version ปี 2566 ก็ยัง ว้าว ค่ะ2023-02-261h 25FatoutkeyFatoutkeyสรุปเลคเชอร์ Cholesterol Masterclass โดย Prof Thomas Dayspring ตอนจบProf.Thomas Dayspring M.D., FACP, FNLA เป็น Clinical lipidologist คนสำคัญที่มีความรู้และความเข้าใจคอเลสเตอรอลที่ร่างกายผลิตกับผลกระทบต่อสุขภาพหัวใจ เขาทั้งทำงานวิจัยและเขียน textbook เกี่ยวกับคอเลสเตอรอลมานานกว่า 30 ปี ที่พี่ปุ๋มประทับใจมากคือ เขาอายุ 77 ปีแล้วแต่ยังกระฉับกระเฉง เต็มไปด้วยพลังงาน เลคเชอร์ฟังเข้าใจง่าย สนุก ตื่นเต้น เห็นภาพ   เขาเพิ่งเลคเชอร์เรียกได้ว่าเป็น Cholesterol Masterclass 4 ตอน เนื้อหาดีมาก ครอบคลุมความเข้าใจเรื่องการสร้างคอเลสเตอรอล ระบบการขนส่งไขมันภายในร่างกาย คอเลสเตอรอลกับการเป็นสาเหตุโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ยาลดระดับคอเลสเตอรอล การป้องกันภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งนำไปสู่ความมีอายุยืนยาวจากการลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ จากรายงานขององค์การอนามัยโลก  พี่ปุ๋มจึงจะนำ Cholesterol Masterclass ทั้ง 4 ตอนของเขาซึ่งเลคเชอร์ผ่าน Foolproof Mastery Channel มาสรุปให้น้องๆได้ฟังกัน 2 ตอนจบ    ในตอนที่ 1 พี่สรุปไปเรียบร้อยในไลฟ์ #57 น้องๆกลับไปดูย้อนหลังกันได้ค่ะ หัวข้อคือ  1. คอเลสเตอรอลกับโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน  2. การขนส่งไขมันในร่างกาย และ HDL-Cholesterol  ในตอนจบ พี่จะสรุปต่ออีก 2 เรื่องคือ  3. ยาลดระดับคอเลสเตอรอล  4. การป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน เพื่อความมีอายุขัยที่ยืนยาว   ฟังพี่สรุปจบแล้ว จะได้มีข้อมูลที่ถูกต้องจากงานวิจัยถึงอันตรายของการปล่อยให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงโดยไม่จัดการ และจะได้ไม่ไปหลงเชื่อ health influencer ในโซเชียลมีเดีย ที่ “เล่า” ว่า ระดับคอเลสเตอรอลที่สูงในกระแสเลือด มีความจำเป็นต่อร่างกาย ถ้าไตรกลีเซอไรด์ต่ำ HDL-Cholesterol แล้วละก็ ถึงแม้ LDL-Cholesterol สูง ก็ไม่เป็นอะไร เพราะ LDL-particle จะมีลักษณะ pluffy ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจ เมื่อฟังเลคเชอร์ของ Prof.Thomas จบ พวกเราจะพบว่า…ไม่จริงเลยค่ะ2023-02-141h 51FatoutkeyFatoutkeyสรุปเลคเชอร์ Cholesterol Masterclass โดย Prof.Thomas Dayspring ตอนที่ 1Prof.Thomas Dayspring M.D., FACP, FNLA เป็น Clinical lipidologist คนสำคัญที่มีความรู้และความเข้าใจคอเลสเตอรอลที่ร่างกายผลิตกับผลกระทบต่อสุขภาพหัวใจ เขาทั้งทำงานวิจัยและเขียน textbook เกี่ยวกับคอเลสเตอรอลมานานกว่า 30 ปี    เขาเพิ่งเลคเชอร์เรียกได้ว่าเป็น Cholesterol Masterclass 4 ตอน ในช่องยูทูป Foolproof Mastery เนื้อหาดีมาก ครอบคลุมความเข้าใจเรื่องการสร้างคอเลสเตอรอล ระบบการขนส่งไขมันภายในร่างกาย คอเลสเตอรอลกับการเป็นสาเหตุโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ยาลดระดับคอเลสเตอรอล การป้องกันภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งนำไปสู่ความมีอายุยืนยาวจากการลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ จากรายงานขององค์การอนามัยโลก   พี่สรุปเนื้อหาตอนที่ 1  1. คอเลสเตอรอลกับโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน  2. การขนส่งไขมันในร่างกาย และ HDL-Cholesterol    เชิญรับฟังได้ค่ะ2023-02-061h 55FatoutkeyFatoutkeyRed Pen Reviews มีกระบวนการรีวิวหนังสือ Why We Get Sickพบกับไลฟ์ #56 Red Pen Reviews มีกระบวนการรีวิวหนังสือ Why We Get Sick: The Hidden Epidemic at the Root of Most Chronic Disease--and How to Fight It เขียนโดย Dr.Benjamin Bikman อย่างไร วันพุธ 11 ม.ค. 2566 เวลา 20.00 น. ✅ หลังจากที่พี่ปุ๋มได้แนะนำองค์กรไม่แสวงหากำไรชื่อ Red Pen Reviews ซึ่งทำหน้าที่ในการรีวิวความน่าเชื่อถือของข้อมูลในหนังสือสุขภาพที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงจากผู้อ่านมาสักพัก พี่ปุ๋มก็คิดว่าน่าจะเป็นการดีที่น้องๆจะได้มาทำความเข้าใจกระบวนการในการรีวิวหนังสือสุขภาพขององค์กรนี้ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด 📗 พี่เลือกหนังสือชื่อ Why We Get Sick: The Hidden Epidemic at the Root of Most Chronic Disease--and How to Fight It เขียนโดย Dr.Benjamin Bikman ซึ่งเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงจากผู้อ่าน ได้รับคะแนนรีวิวจากสื่อกระแสหลักสูงมาก แต่ทำไมหนังสือเล่มนี้ ถึงได้ คะแนนรีวิวรวมจาก Red Pen Reviews แค่ 52% คะแนนความถูกต้องของข้อมูลจากงานวิจัยที่หนังสืออ้างอิง 45%  คะแนนความถูกต้องของการอ้างอิง 43%  ความมีประโยชน์ต่อสุขภาพ 68% 📌 มาทำความเข้าใจผ่านกระบวนการรีวิวขององค์กร Red Pen Reviews กันค่ะว่า ทำไมหนังสือสุขภาพที่ได้รับความนิยมสูง อาจไม่ได้มีข้อมูลสุขภาพที่มีคุณภาพเท่ากับความนิยมที่ได้รับ ลิงค์งานวิจัย https://academic.oup.com/jcem/article... https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/arti... https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/arti... https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/arti... https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/arti... https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29243... https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25515... #หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า #FatOutHealthspans2023-01-131h 38FatoutkeyFatoutkey" Protein Leverage Hypothesis " ทำไมการกินโปรตีนไม่พอ จึงทำให้อ้วน?👨‍💼 Prof. David Raubenheimer ดำรงตำแหน่ง Professor of Nutritional Ecology, Leonard P Ullmann Chair in Nutritional Ecology School of Life and Environmental Sciences เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญชั้นนำในเรื่อง Nutritional Ecology ซึ่งศึกษาว่าสภาวะสิ่งแวดล้อมทางด้านโภชนาการที่สัตว์เผชิญ ทำให้ระบบชีววิทยาของสัตว์สร้างการตอบสนองอย่างไรเพื่อธำรงสุขภาพและสมรรถนะทางกาย   👨‍⚕️ ส่วน Prof. Stephen J. Simpson ดำรงตำแหน่ง Academic Director of the Charles Perkins Centre, and a Professor in the School of Life and Environmental Sciences at the University of Sydney, และ Executive Director of Obesity Australia ในปี 2556 เขาได้รับเลือกให้เป็น Fellow ของ the Royal Society of London ในฐานะที่เป็น “one of the world’s foremost entomologists and nutritional biologists”   👨‍⚕️👨‍💼 ทั้ง 2 คนเป็นนักกีฏวิทยา (Entomologist) ชั้นนำ ที่ทำงานวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับแรงผลักดันตามสัญชาติญาณของแมลงและสัตว์อื่นที่ต้องได้รับโปรตีนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย มิฉะนั้นสัตว์จะกินต่อจนกว่าจะได้รับโปรตีนตามที่สัตว์ต้องการ ทั้งสองเป็นผู้เสนอทฤษฎี Protein Leverage Hypothesis และได้ขยายงานวิจัยมาทำในมนุษย์    🍕 ทั้ง Prof. David และ Prof. Stephen เชื่อว่า การเพิ่มการบริโภคอาหารสำเร็จรูปที่มีการผ่านกระบวนการเป็นอย่างมาก (Ultra Processed Foods) ในปัจจุบันซึ่งมีปริมาณโปรตีนไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุที่ทำให้มนุษย์บริโภคเคลอรี่เพิ่ม และได้นำเสนอข้อมูลล่าสุดจากงานวิจัยในงาน Causes of obesity: theories, conjectures and evidence ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 17-19 ต.ค.2565 ที่ The Royal Society, London UK เป็นการประชุมที่รวมนักวิจัยระดับท็อปด้านโรคอ้วน มาแลกเปลี่ยน/update ข้อมูลงานวิจัยล่าสุดใน area ของ Obesity research    👩🏻‍💻 ไลฟ์ #55 นี้ พี่ปุ๋มจะนำงานวิจัยสำคัญเกี่ยวกับ Protein Leverage Hypothesis ของทั้งสองท่าน มาสรุปให้น้องๆฟังกันค่ะว่ามันคืออะไร มีงานวิจัยสนับสนุนทฤษฎีนี้มากน้อยแค่ไหน และความเข้าใจทฤษฎีนี้จะช่วยลดระบาดวิทยาของโรคอ้วนที่ไม่มีทีท่าจะชะลอความรุนแรงได้หรือไม่  เชิญหาคำตอบจากไลฟ์นี้ได้เลยค่ะ   #หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า #FatOutHealthspans  ลิงค์งานวิจัย   https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1467-789X.2005.00178.x  https://europepmc.org/backend/ptpmcrender.fcgi?accid=PMC9515627&blobtype=pdf  https://www.researchgate.net/profile/Peter-Petocz/publication/15701207_A_Satiety_Index_of_common_foods/links/00b495189da413c16d000000/A-Satiety-Index-of-common-foods.pdf?origin=publication_detail  ติดตามเพจ Fatout-Healthspans  https://www.facebook.com/fatoutkey2022-12-251h 27FatoutkeyFatoutkeyระบบตั้งค่าน้ำหนักร่างกาย From Weight Set Point System to A Dual Intervention Point System🎥 ในงาน Causes of obesity: theories, conjectures and evidence จัดขึ้นเมื่อวันที่ 17-19 ต.ค.2565 ที่ The Royal Society, London UK เป็นการประชุมที่รวมนักวิจัยระดับท็อปด้านความอ้วน มาแลกเปลี่ยน/update ข้อมูลงานวิจัยล่าสุดใน area ของ Obesity research    👩🏻‍💻 พี่โชคดี ลงทะเบียนฟรีเข้าไปฟัง online ร่วมกับผู้คนทั่วโลก 1,300 คน ทั้ง 3 วัน และพี่ก็ตั้งใจไว้แล้วว่า เมื่อเสร็จภารกิจงานประจำของพี่ปลายเดือน พ.ย. พี่จะเริ่มเลือกหัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้มาสรุปให้น้องๆได้ฟังกัน ลองดูหัวข้อที่น่าสนใจจากงานนี้ค่ะ  1. The genetic subtyping of obesity (wow มากๆค่ะ) Professor Ruth Loos Novo Nordisk Foundation Center for Basic Metabolic Research, Faculty of Health and Medical Science, University of Copenhagen, Copenhagen, Denmark and Icahn School of Medicine at Mount Sinai, USA  2. Insights from the genetics of obesity and thinness (ยีนผอมก็มาค่ะ) Professor I Sadaf Farooqi FMedSci FRS University of Cambridge, UK  3. Adipocyte and lipid turnover in human adipose tissue (wow อีกหัวข้อค่ะ) Dr Kirsty Spalding Karolinska Institutet, Sweden  4. Obesity, mitochondrial energy efficiency and insulin secretion (เป็นแฟนคลับ Prof.Barbara ไปแล้วค่ะ)  Emeritus Professor Barbara E Corkey Boston University School of Medicine, USA  5. Leptin and a simple circuit regulating feeding Professor Jeffrey Friedman ForMemRS Rockefeller University, USA (เป็นคนพบฮอร์โมนเลปติน)  6. Protein leverage and human obesity (น่าสนใจมาก) Professor Stephen Simpson AC FRS University of Sydney, Australia  7. Do ultra-processed foods cause obesity? Dr Kevin D Hall National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases, USA  8. FFM and RMR are strong determinants of energy intake: integration into a theory of appetite Professor John Blundell University of Leeds, UK  9. Does...2022-12-161h 42FatoutkeyFatoutkeyOptimal Diets for Prevention of Coronary Heart Diseasevdo series สรุปงานวิจัยครังที่ 18: Optimal Diets for Prevention of Coronary Heart Disease ของ Frank B. Hu แพทย์และนักระบาดวิทยา นักโภชนาการระดับโลก งานวิจัยของ Hu ได้รับการอ้างอิงในงานวิจัยอื่น 433,043 ครั้ง h-idex 294, i-10 index 1,352 พี่ว่าในชีวิตพี่ก็ไม่เคยเจอนักวิจัยในสาขา diet and Nutrition ที่ Citation สูงขนาดนี้มาก่อน Prof.Hu ทำงานวิจัยในสาขาโรคอ้วน, เบาหวาน, หัวใจ textbook สำคัญของ Hu คือ Obesity Epidemiology แค่งานวิจัยชื่อ Obesity Epidemiology ของเขา ก็ได้รับการอ้างอิงโดยงานวิจัยฉบับอื่นถึงหมื่นกว่าครั้ง งานวิจัยชื่อ Optimal Diets for Prevention of Coronary Heart Disease ของ Hu ร่วมกับ Prof. Walter Willett ฉบับนี้ ตีพิมพ์ในปี 2002 ได้ให้กลยุทธ์โภชนาการเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจไว้ 3 ประการคือ 1. แทนที่ไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ด้วยไขมันไม่อิ่มตัว 2. เพิ่มการบริโภคกรดโอเมก้า 3 จากปลา อาหารเสริมโอเมก้า 3 จากปลาหรือจากพืช 3. บริโภคผัก ผลไม้ ถั่วเปลือกแข็ง ธัญพืช ปริมาณมาก ลดการบริโภคผลิตภัณฑ์จากธัญพืชที่ป่นจนละเอียด (refined grain) นอกจากกลยุทธ์โภชนาการ 3 ประการนี้ Prof. Hu แนะนำการออกกำลังกาย ไม่สูบบุหรี่ รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ จะช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของเราค่ะ2022-12-0334 minFatoutkeyFatoutkeyระบบควบคุมภาวะธำรงดุลของคอเลสเตอรอล👩🏻‍💻 ห่างหายจากการทำไลฟ์ไปเดือนกว่าเลยค่ะ ตอนนี้จบภารกิจงานสำหรับปีนี้เป็นพี่เรียบร้อย พร้อมกับยังอยู่รอดปลอดโควิด ทั้งๆที่ในรอบ 1.5 เดือนที่ผ่านมา พี่ทำใจไว้ละ เพราะทำงานนอกบ้านเกือบทุกวัน พบเจอผู้คนมากมาย เปิดมาส์กทานข้าว ที่สำคัญแม่บ้านติดโควิดมาเสิรฟข้าวพี่บนห้องทุกวัน พี่ก็ยังอยู่รอดปลอดภัย (ไขว้นิ้ว)  🎧 กลับมากับไลฟ์ #53 ระบบควบคุมภาวะธำรงดุลของคอเลสเตอรอล ทำไมเรื่องนี้สำคัญ และพี่อยากทำไลฟ์มาก ก็เพราะพี่เองก็เคยมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องคอเลสเตอรอลหลายข้อทีเดียวค่ะ ซึ่งพี่เห็นว่าถึงเวลาที่ต้องอ่านงานวิจัยเพื่อเคลียร์ความเข้าใจผิดเหล่านี้กันเสียที เช่น 1. คอเลสเตอรอลสร้างจากที่ไหนในร่างกายบ้าง เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไรระหว่าง สร้างจากตับ (hepataic synthesis) vs สร้างจากทางเดินอาหาร (intestinal synthesis) vs สร้างจากอวัยวะอื่นนอกเหนือจากตับ (extrahepatic synthesis) แค่เรื่องนี้เรื่องเดียว กับ diagram 1 รูปจากงานวิจัยดีมาก 1 ฉบับพี่ว่าน้องจะกระจ่างในข้อสงสัยหลายเรื่องเลยค่ะ งานวิจัยที่พี่อ่านจบไปแล้ว 2 ฉบับดีมากๆ 2. คอเลสเตอรอลจากอาหาร มีผลกระทบต่อคอเลสเตอรอลในเลือดหรือไม่อย่างไร ทำไมบางคนกินไข่แล้วระดับคอเลสเตอรอลปรกติ ในขณะที่บางคนกินไข่แล้วระดับคอเลสเตอรอลในเลือดขยับขึ้น งานวิจัยที่ไขข้อข้องใจนี้รวมถึงฟังเลคเชอร์ของ Prof.Thomas Dayspring ก็กระจ่างมากเลยค่ะ 3. ทำไมตับจึงมีความสำคัญต่อการควบคุมภาวะธำรงดุลของคอเลสเตอรอล โดยเฉพาะการควบคุมสมดุล LDL-Cholesterol ในเลือด ซึ่งเราจะต้องให้ความสนใจมาก เพราะมีผลต่อการเพิ่มหรือลดความเสี่ยงของ Atherosclerotic Coronary Artery Disease (ASCVD) มีปัจจัยอะไรบ้างที่กระทบการควบคุมสมดุลนี้ 4. การลดระดับ LDL-Cholesterol ให้ต่ำที่ระดับ 70 มก/ดล หรือต่ำกว่าด้วยยา ในคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อ ASCVD เป็นอันตรายเนื่องจากไปลดการ supply คอเลสเตอรอลให้อวัยวะต่างๆจริงหรือไม่ 5. ถ้าเราไม่บริโภคคอเลสเตอรอลเลย เป็นอันตรายต่อการสร้างคอเลสเตอรอลภายในร่างกายหรือไม่  📌 แค่ 5 หัวข้อนี้ พี่ว่าจะทำให้น้องๆเข้าใจคอเลสเตอรอลดีขึ้น พี่จะใช้ข้อมูลจาก textbook Teherapeutic Lipidology 2nd Edition เป็นหลัก เสริมด้วยงานวิจัยที่น่าสนใจสักจำนวนหนึ่ง2022-11-291h 56FatoutkeyFatoutkeyความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความอ้วน 30 ประการ ตอนจบ (ซีรีย์สรุปงานวิจัย EP17)👩🏻‍💻 พี่ปุ๋มได้ทำ vdo สรุปงานวิจัย เกี่ยวกับบทความเรื่อง Thirty Obesity Myths, Misunderstandings, and/or Oversimplifications: An Obesity Medicine Association (OMA) Clinical Practice Statement (CPS) 2022 ตีพิมพ์ในวารสาร Obesity Pillars ของ Obesity Medicine Association เมื่อเดือน ส.ค. ทึ่ผ่านมา ซึ่งวัตถุประสงค์ของบทความ เพื่อให้ Clinical Practice Guideline ต่อแพทย์ พยาบาล บุคคลากรทางการแพทย์ที่ให้ความช่วยเหลือคนไข้ที่ได้รับผลกระทบจากความอ้วน ทำไปแล้วทั้งหมด 2 ตอน ครอบคลุมความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความอ้วนไปแล้ว 16 ประการ     📃 ในตอนจบนี้ มีความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความอ้วนที่น่าสนใจแก่การทำความเข้าใจใหม่หลายข้อ เช่น  ข้อที่ 18: คนอ้วนมีการเผาผลาญต่ำ (low metabolism) เมื่อเทียบกับคนที่ผอมโดยธรรมชาติ ซึ่งเป็นคนที่มีการเผาผลาญสูง   ข้อที่ 20: ไดเอ็ทแบบไขมันต่ำ (Low fat diet) มีประสิทธิภาพที่สุดในการลดน้ำหนัก  ข้อที่ 23: เมื่อลดน้ำหนักด้วยการกินให้ลดลง 500 แคลอรี่ต่อวัน ทุกๆ 7 วัน (3500 แคลอรี่) จะลดมวลไขมันได้ 1 ปอนด์ไปเรื่อยๆ ตราบใดที่ยังกินน้อยลง 500 แคลอรี่ต่อวัน  ข้อที่ 24: เพิ่มการออกกำลังกายคือวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการลดน้ำหนัก  ข้อที่ 25: ทุกๆ 1 ปอนด์ที่มวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นแทนไขมัน หมายถึงการเผาผลาญพลังงานที่เพิ่มขึ้น 60 แคลอรี่ต่อวัน ข้อที่ 27: การตั้งเป้าหมายในการลดน้ำหนักตามความเป็นจริง ช่วยให้ลดน้ำหนักได้สำเร็จมากกว่าการตั้งเป้าหมายลดน้ำหนักแบบ aggressive    ☑️ พี่เชื่อว่าข้อมูลในบทความนี้ ซึ่งมีงานวิจัยอ้างอิงทั้งหมด 528 ฉบับ จะเป็นรากฐานความรู้ที่ถูกต้องให้กับน้องๆทุกคนในการทำความเข้าใจความอ้วนผ่านงานวิจัย ไม่ใช่จากเรื่องเล่า หรือจากความดูสมเหตุผลแต่ปราศจากงานวิจัยรองรับ 0 Comments SORT BY2022-10-141h 44FatoutkeyFatoutkeyความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความอ้วน 30 ประการ ตอนที่ 2 (ซีรีย์สรุปงานวิจัย EP16)👩🏻‍💻 พี่ได้ทำ vdo สรุปงานวิจัยครั้งที่ 15 ไปแล้ว 1 ตอนเกี่ยวกับบทความเรื่อง Thirty Obesity Myths, Misunderstandings, and/or Oversimplifications: An Obesity Medicine Association (OMA) Clinical Practice Statement (CPS) 2022 ตีพิมพ์ในวารสาร Obesity Pillars ของสมาคมฯ เมื่อเดือน ส.ค. ทึ่ผ่านมา ซึ่งวัตถุประสงค์ของบทความ เพื่อให้ Clinical Practice Guideline ต่อแพทย์ พยาบาล บุคคลากรทางการแพทย์ที่ให้ความช่วยเหลือคนไข้ที่ได้รับผลกระทบจากความอ้วน ในตอนที่ 1 สรุปให้น้องๆฟังไปได้ทั้งหมด 7 ข้อ 📃 บทความอธิบายความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง ความเข้าใจผิด และ/หรือ การด่วนสรุปง่ายเกินไปเกี่ยวกับความอ้วนทั้งหมด 30 ข้อ แต่ละข้อสอดแทรกงานวิจัยรองรับ เนื้อหาทั้งหมดเกือบ 30 หน้า มีงานวิจัยอ้างอิง 528 ฉบับ จึงต้องแบ่งเป็น 3 ตอนค่ะ  ☑️ พี่เชื่อว่าข้อมูลในบทความนี้ จะเป็นรากฐานความรู้ที่ถูกต้องให้กับน้องๆทุกคนในการทำความเข้าใจความอ้วนผ่านงานวิจัย ไม่ใช่จากเรื่องเล่า หรือจากความดูสมเหตุผลแต่ปราศจากงานวิจัยรองรับ 📢 พบกันวันพฤหัสนี้ในตอนที่ 2 กับอีก 10 ความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความอ้วนค่ะ2022-10-141h 51FatoutkeyFatoutkeyความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความอ้วน 30 ประการ (ซีรีย์สรุปงานวิจัย EP15)พี่ได้บทความรีวิวเรื่องความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความอ้วน 30 ประการ ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ที่เฉพาะสำหรับความอ้วนของสหรัฐอเมริกาล่าสุดเดือน ส.ค. 2565 มา 1 ฉบับ ที่อธิบายความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง หรือความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความอ้วนทั้งหมด 30 ข้อ แต่ละข้อสอดแทรกงานวิจัยรองรับ เนื้อหาทั้งหมดเกือบ 30 หน้า จึงต้องแบ่งเป็น 3 ตอนค่ะ    พี่เชื่อว่าข้อมูลจะเป็นรากฐานความรู้ที่ถูกต้องให้กับน้องๆทุกคนเป็น ในการทำความเข้าใจความอ้วนผ่านงานวิจัย ไม่ใช่จากเรื่องเล่า หรือจากความดูสมเหตุผลแต่ปราศจากงานวิจัยรองรับ2022-09-301h 32FatoutkeyFatoutkeyโหลดแคลอรีช่วงเช้า ช่วยลดน้ำหนักได้ดีกว่าโหลดแคลอรีช่วงเย็นหรือไม่ (ซีรีย์สรุปงานวิจัย #14)🏅 หลังจาก Jeffrey C. Hall, Michael Robash และ Michael W. Young ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ในปี พ.ศ. 2560 จากการค้นพบกลไกระดับโมเลกุลที่ควบคุมนาฬิกาชีวภาพประจำเซลล์ ศาสตร์ชีววิทยาตามนาฬิกาชีวภาพ (Chronobiology) เริ่มได้รับความสนใจในการนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในเรื่องการกิน นอน ออกกำลังกาย     📃 มีสุภาษิตที่กล่าวว่า กินมื้อเช้าอย่างพระราชา มื้อกลางวันอย่างเจ้าชาย และมื้อเย็นอย่างยาจก จะช่วยส่งเสริมสุขภาพ และช่วยลดน้ำหนัก เนื่องจาก เป็นการกินที่สอดคล้องกับจังหวะนาฬิกาชีวภาพร่างกาย     ⏰ ตั้งแต่เดือนเม.ย. 2565 พี่ปุ๋มเริ่มต้นสำรวจงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ “When” to eat ด้วยการทำวิดีโอสรุปงานวิจัยที่มีลักษณะเป็น randomized controlled trials ตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2565 เป็นการจำกัดแคลอรีร่วมกับการจำกัดช่วงเวลากิน เปรียบเทียบกับ การจำกัดแคลอรีแต่ไม่จำกัดช่วงเวลาในการกิน หรือ จำกัดแคลอรีร่วมกับจำกัดช่วงเวลาการกินให้อยู่ช่วงเช้า เปรียบเทียบกับ จำกัดแคลอรีร่วมกับจำกัดช่วงเวลาการกินให้อยู่ช่วงเย็น ซึ่งผลลัพธ์ของงานวิจัยเหล่านี้คือ ถ้าว่าด้วยเรื่องการลดน้ำหนัก แคลอรีสำคัญกว่าช่วงเวลาการกิน และยังไม่สามารถระบุกลไกที่ชัดเจนของการจำกัดช่วงเวลาการกินได้ว่าส่งผลต่อการลดน้ำหนักได้อย่างไร    👩🏻‍💻 สำหรับการสรุปงานวิจัยในครั้งที่ 14 นี้ เราจะมาสำรวจงานวิจัยที่กำลังจะตีพิมพ์ในเดือนต.ค.2565 ในวารสารการแพทย์ชั้นนำ เรื่องการโหลดแคลอรีหนักในช่วงเช้า เทียบกับการโหลดแคลอรีหนักช่วงเย็น ว่าส่งผลต่อ Energy Expenditure และน้ำหนัก แตกต่างกันหรือไม่อย่างไร พร้อมกับมาทบทวนการวิจัยชิ้นสำคัญในอดีตที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อหาข้อสรุป ณ ปัจจุบันกันค่ะ2022-09-301h 24FatoutkeyFatoutkeyจำกัดแคลอรี่ ออกกำลังกายแบบแอโรบิกในขณะ fasted เบิร์นไขมัน ลดน้ำหนักได้ดีกว่าจริงหรือไม่ (ซีรี่ย์สรุปงานวิจัย #13)📃 มีข้อมูลจากงานวิจัยแบบ meta-analysis ที่แสดงว่าการออกกำลังกายร่วมกับการจำกัดแคลอรี่ ช่วยสนับสนุนการลดน้ำหนักระยะยาวได้ดีกว่าการจำกัดแคลอรี่หรือออกกำลังกายแต่เพียงอย่างเดียว  ⏰ แต่การจำกัดแคลอรี่ ร่วมกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิกในขณะที่หยุดกินอาหารมาตลอดทั้งคืน จะช่วยเร่งการเผาผลาญไขมัน ลดน้ำหนักได้ดีกว่า การจำกัดแคลอรี่ ร่วมกับการออกกำลังกายหลังจากกินอาหารหรือไม่2022-09-191h 23FatoutkeyFatoutkeyNew Hallmarks of Ageing: a 2022 Copenhagen ageing meeting summary👨‍🔬 หลังจาก Lopez-Otin และคณะได้นำเสนอ The Hallmarks of Aging 9 ประการ ตีพิมพ์ลงในวารสารทางการแพทย์ Cell เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2556 จนถึงปัจจุบันได้รับการอ้างอิงไปราว 10281 ครั้งนั้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์สุขภาพที่สนใจในเรื่องกระบวนการแก่ชรา ได้มีกรอบความคิดในการวางสมมุติฐาน และสร้างความก้าวหน้าในงานวิจัยสาขาชีววิทยาแห่งความแก่ชราเป็นอย่างมาก   📌 หมายเหตุ: พี่ปุ๋มได้ทำไลฟ์สรุปงานวิจัย 9 Hallmarks of Aging โดย Lopez-Otin และคณะไปเมื่อเดือน ต.ค. 2564 กลับไปย้อนชมกันได้ค่ะ พี่วางลิงค์ไว้ให้ตรงนี้นะคะ https://fb.watch/fg2LGSf0QP/   📑 ตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา เมื่อมีงานวิจัยเชิงลึกที่สำรวจกระบวนแก่ชรามากขึ้น ก็มาถึงจุดที่มีการวิพากย์กันว่า The Hallmarks of Aging 9 ประการที่นำเสนอโดย Lopez-Otin และคณะในปี 2556 อาจจะไม่เพียงพอที่จะวางกรอบถึงสาเหตุของกระบวนการแก่ชราได้ครบถ้วนอีกต่อไป    🧑‍💻👩🏻‍💻 ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการจัด “A Research Symposium: New Hallmarks of Ageing” ขึ้นเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2565 ที่ Copenhagen, Denmark เพื่อรวบรวมการค้นพบใหม่ๆจากงานวิจัยในเรื่องกระบวนการแก่ชรา และทบทวนถึงการวางกรอบ Hallmarks of Ageing ใหม่    📑 บทสรุปของการประชุม ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ Aging เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2565 “The New Hallmarks of Ageing: A 2022 Copenhagen Ageing Meeting Summary”    👩🏻‍💻 พี่ปุ๋มจึงคิดว่าน่าสนใจที่พี่จะสรุปให้น้องๆได้ฟังกันว่ามี Hallmarks of Aging อะไรบ้างที่เพิ่มขึ้นจาก 9 Hallmarks of Aging เดิมในปี 25562022-09-061h 18FatoutkeyFatoutkeyอาหารที่มีผลต่อระดับ LDL Cholesterol (ซีรี่ย์สรุปงานวิจัย #11)👩🏻‍💻 จากวิดีโอซีรีส์สรุปงานวิจัยครั้งที่ 8 เรื่องแนวทางโภชนาการเพื่อส่งเสริมสุขภาพหลอดเลือดหัวใจของสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (AHA) ประจำปี 2564 (2021 Dietary Guidance to Improve Cardiovascular Health: A Scientific Statement From the American Heart Association) ที่พี่ปุ๋มได้ทำไปเมื่อวันที่ 11 ก.ค. ซึ่งระบุชัดเจนเรื่องลดการบริโภคไขมันอิ่มตัว เพื่อลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด มีหลักฐานจากงานวิจัยที่แน่นหนามากว่า ระดับ LDL-Cholesterol เป็นสาเหตุของการเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน (Atherosclerosis Coronary Artery Disease-ASCVD)   📑 การป้องกันไม่ให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเกินกว่าค่ามาตรฐาน เป็นแนวทางที่สมาคมโรคหลอดเลือดหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญ มีงานวิจัยล่าสุดที่ระบุว่าสามารถพบปื้นไขมัน (Fatty Streak) ได้ในเด็กอายุ 1-10 ขวบ ซึ่งเป็นตัวทำนายอุบัติการณ์เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในระยะทึ่เป็นผู้ใหญ่   🥓 อาหารและการใช้ชีวิต (Diet and Lifestyle) เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ในวิดีโอซีรีส์ครั้งที่ 11 พี่ปุ๋มจะสรุปว่ามีอาหารประเภทใดบ้างที่มีผลต่อระดับ LDL-Cholesterol โดยอ้างอิงจากงานวิจัยล่าสุด ซึ่งเป็นงานวิจัยแบบ systematic reviews and meta- analyses of randomized controlled trials ในปี 25642022-08-161h 34FatoutkeyFatoutkeyกลไกการเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน (ซีรี่ย์สรุปงานวิจัย #9)👩🏻‍💻 พี่ปุ๋มติดตาม Prof. Gerald I Shulman มาได้ประมาณ 2 ปีหลังจากอ่านหนังสือ Life Without Diabetes: The Definitive Guide to Understanding And Reversing Type 2 Diabetes เขียนโดย Prof. Roy Taylor เล่มนี้พี่แนะนำเลยค่ะ สำหรับผู้ที่อยากทำความเข้าใจโรคเบาหวานอย่างถูกต้อง อ่านไม่ยากค่ะ  🔬 สิ่งที่เป็นความ amazing ของงานวิจัยที่ Prof. Gerald I. Shulman ศึกษานั้น เกี่ยวข้องกับกลไกการเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินระดับเซลล์ ที่เขาเพียรศึกษามามากกว่า 20 ปี เขาเป็นผู้พัฒนาเทคนิค Nuclear Magnetic Resonance Spectroscopy เพื่อวัด metabolites ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการชีวะเคมีเมื่อมีการสันดาปกลูโคสภายในกล้ามเนื้อ เป็นที่มาของความเข้าใจเชิงลึกถึงระดับเซลล์ของกลไกการเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งแตกต่างจากความเข้าใจดั้งเดิมที่เคยตั้งสมมุติฐานกันมา   🏅เขาได้รับเหรียญรางวัล Banting medal for scientific achievement จาก สมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา (American diabetic association) เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2561 เหรียญรางวัลนี้มอบให้แด่ผู้ที่มีส่วนเป็นอย่างยิ่งต่อความเข้าใจ การรักษา หรือการป้องกันโรคเบาหวาน  📑 เมื่อพูดถึงภาวะดื้อต่ออินซูลินมีงานวิจัยจำนวนมากที่ตั้งสมมุติฐานสาเหตุของภาวะนี้ว่าเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน (Multifactorial factors) ไม่ว่าจะเกิดจากภาวะอักเสบจากการได้รับพลังงานล้นเกินเป็นเวลานาน การเปลี่ยนแปลงเมตาบอลิสมของไขมัน หรือการเปลี่ยนแปลงของประชากรจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร ความเครียด เป็นต้น   👨‍⚕️ Banting Lecture ของเขาเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2561 พี่ปุ๋มจัดให้เป็นเล็คเชอร์ที่ดีที่สุดที่พี่ได้มีโอกาสดูในปีนี้ (ดูไปแล้ว 3 รอบ 😍) ซึ่งสมมุติฐานที่ Gerald I Shulman ตั้งไว้ และทำงานวิจัย พัฒนาเทคนิคแบบ cutting edge เพื่อพิสูจน์ให้เห็นเป็นรูปธรรมระดับเซลล์อย่างชัดเจนถึงสาเหตุที่แท้จริงของภาวะดื้อต่ออินซูลินนั้น น่าตื่นเต้นมาก ส่งผลให้การวางแผนการป้องกัน การรักษาโรคเบาหวาน การพัฒนายาและการรักษาอื่นตรงเป้ามากขึ้น2022-07-301h 20FatoutkeyFatoutkeyคำแนะนำโภชนาการสำหรับการมีสุขภาพหัวใจที่ดี จากสมาคมแพทย์โรคหัวใจสหรัฐอเมริกา (ตอนที่ 1)พบกับ Series vdo สรุปงานวิจัยครั้งที่ 8  เรื่อง “2021 Dietary Guidance to Improve Cardiovascular Health: A Scientific Statement From the American Heart Association”    🖥 ในท่ามกลางกระแสข้อมูลในอินเตอร์เน็ตจากสารพัดแหล่ง คำแนะนำเรื่องโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดีของระบบหลอดเลือดหัวใจเป็นหนึ่งในเรื่องสุขภาพที่สำคัญมากและเป็นเรื่องสร้างความสับสนให้กับผู้คนมากที่สุดเรื่องหนึ่ง   📖 พี่ปุ๋มพูดเสมอว่า เมื่อเป็นเรื่องสุขภาพ จงเชื่อในข้อมูลจากงานวิจัยที่มีคุณภาพที่ทำในมนุษย์และมีจำนวนมากพอ เพื่อประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง   👩🏻‍💻 ซีรีส์วิดีโอสรุปงานวิจัยครั้งที่ 8 พี่ปุ๋มจะนำเอา แนวทางโภชนาการเพื่อส่งเสริมสุขภาพหลอดเลือดหัวใจของสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (AHA) ประจำปี 2564 มาสรุปพร้อมงานวิจัยสนับสนุนให้น้องๆฟัง เพื่อคลายความสับสนเรื่องสำคัญคือ  1. คำแนะนำเรื่องการบริโภค macronutrients (คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน)  2. ระหว่างไขมันอิ่มตัว vs ไขมันไม่อิ่มตัว ไขมันประเภทใดที่ดีต่อสุขภาพหลอดเลือดหัวใจ  3. คอเลสเตอรอลจากอาหารมีผลต่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือดหรือไม่  4. โปรตีนจากแหล่งใดที่ AHA แนะนำ   📖 ข้อมูลงานวิจัยนอกจากที่ปรากฎในแหล่งอ้างอิงอยู่ใน Dietary guideline ฉบับนี้ทั้ง 194 ฉบับแล้ว พี่จะใช้ข้อมูลงานวิจัยที่สำคัญจาก Clinical Lipidologist (ไม่ทราบจะใช้ชื่อภาษาไทยที่ถูกต้องอย่างไรค่ะ) ที่เป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ 2 คน และจาก textbook เล่มสำคัญอีก 1 เล่ม เพื่อให้ข้อมูลงานวิจัยที่ update และน่าเชื่อถือกับน้องๆ2022-07-121h 22FatoutkeyFatoutkeyสรุปหนังสือสุขภาพ Eat, Drink and Be Healthy: The Harvard Medical School Guide to Healthy Eating เขียนโดย Prof. Walter C. Willettสรุปหนังสือสุขภาพดีมาก “Eat, Drink and Be Healthy: The Harvard Medical School Guide to Healthy Eating” ฉบับ Updated and Expansion เขียนโดย Prof. Walter C. Willett MD., DrPH และ Patrick J. Skerrett 📖 ในแต่ละปีมีหนังสือในกลุ่ม Health, Fitness and Dieting ออกมาเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ การเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย และการลดน้ำหนัก ก็มีแพร่กระจายทั่ว Social media จาก Health Gurus ทั้งหลาย ซึ่งต่างให้ข้อมูลสุขภาพเรื่องเดียวกัน ต่างกันอย่างสิ้นเชิง สร้างความสับสนให้กับผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง ❓คำถามคือ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าหนังสือกลุ่ม Health, Fitness and Dieting เล่มไหนให้ข้อมูลที่ถูกต้อง สนับสนุนด้วยงานวิจัยที่มีคุณภาพ และนอกจากนั้น ก็ยังสรุปงานวิจัยที่นำมาสนับสนุนข้อมูลในหนังสือได้อย่างถูกต้อง ข้อมูลในหนังสือเมื่อนำมาปฏิบัติ ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างแท้จริง 📌 จากคุณสมบัติของหนังสือสุขภาพข้างต้น พบได้ในหนังสือเล่มนี้ค่ะ “Eat, Drink and Be Healthy: The Harvard Medical School Guide to Healthy Eating” ซึ่งเขียนโดย Prof. Walter C. Willett  👩🏻‍💻 ในไลฟ์ พี่จะให้เหตุผลว่าทำไมหนังสือเล่มนี้ จึงเป็นหนังสือสุขภาพที่มีคุณภาพของเนื้อหามาก และน้องๆทุกคนจะได้ประโยชน์จากข้อมูลสุขภาพแต่ละบท (ทั้งหมด 12 บท) ที่เกี่ยวข้องกับการกินให้มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยมีหลักฐานงานวิจัยที่มีคุณภาพสนับสนุนทุกบท นอกจากนั้นยังมีของแถมเป็นเมนูอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ 77 เมนู  😔 ช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย. นี้ พี่เหนื่อยและเครียดกับงานมาก ร่างกายมัน Shut down ด้วยการหิวการนอนตลอดเวลา ต้องกลับมาฟื้นฟูร่างกายขนานใหญ่ โชคดีที่คุณภาพการนอนของพี่ยังดีมาก แต่พี่ก็หยุดการเดินทุกวันอย่างน้อย 7,000 ก้าวไปเลย และก็ไม่มีเวลาและสมาธิเขียนโพสต์ในเพจอย่างที่อยากทำ หวังว่าน้องๆจะเข้าใจและรอกันได้นะคะ 2022-06-161h 28FatoutkeyFatoutkeyกลยุทธ์ในการรักษาน้ำหนักที่ลดไว้ได้นานกลยุทธ์ในการรักษาน้ำหนักที่ลดไว้ได้นาน (จากงานวิจัยแบบ systematic review ล่าสุด) “Perspectives into the experience of successful, substantial long-term weight loss maintenance: a systematic review” 👫 การลดน้ำหนักสำหรับบางคนก็ถือเป็นเรื่องยากแล้ว แต่การรักษาน้ำหนักที่ลดไว้ได้นานกลับยากยิ่งกว่า ค่าเฉลี่ยของคนอเมริกันที่เป็นผู้ใหญ่เต็มวัยผ่านการลดน้ำหนักมามากกว่าสามครั้งตลอดชีวิต 📖 งานวิจัยของ Langeveld & de Vries ในปี 2013 แสดงว่าการลดน้ำหนักระยะสั้นสามารถประสบความสำเร็จโดยใช้วิธีการที่หลากหลายรูปแบบ แต่มากกว่า 80% ของผู้ที่ลดน้ำหนักได้สำเร็จ ประสบกับปัญหาน้ำหนักกลับคืนมาหลังจากนั้นหนึ่งปี 85% หลังจากนั้นสองปี และมากกว่า 95% หลังจากนั้นสามปี และที่น่าตกใจคือคนที่น้ำหนักเพิ่มกลับคืนมานั้น ส่วนใหญ่น้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่าที่เคยอ้วนก่อนลดน้ำหนักเสียอีก 👫 คนที่สามารถรักษาน้ำหนักที่ลดไว้ได้นานกว่าสองปี มีแนวโน้มที่จะรักษาน้ำหนักนั้นไว้ได้ต่อไปในอีก 5-10 ปี  👩🏻‍💻 จึงน่าสนใจที่พี่ปุ๋มจะนำงานวิจัยฉบับนี้มาคุยกัน งานวิจัยชื่อ “Perspectives into the experience of successful, substantial long-term weight loss maintenance: a systematic review” ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Qualitative Studies on Health and Well-being เมื่อเดือนมกราคม 2564 ซึ่งครอบคลุมกลยุทธ์ทั้งหมด 10 ด้านด้วยกัน ที่จะช่วยให้เรารักษาน้ำหนักที่ลดไว้ได้นาน 📌 น่าสนใจใช่ไหมคะ งานวิจัยความยาว 22 หน้าพี่อ่านจบเรียบร้อย รอตั้งสติทำสไลด์เพราะอาทิตย์หน้ามีงานสอนติดกัน 4 วันรวด พี่ต้องตั้งสติและแบ่งเวลาดีมากๆ 😭2022-05-261h 14FatoutkeyFatoutkeyสรุปหนังสือ Burn- New Research Blows the Lid Off How We Really Burn Calories, Lose Weight, and Stay Healthy ตอนจบBurn New Research Blows the Lid Off How We Really Burn Calories, Stay Healthy and Lose Weight (ตอนจบ) 1. The real hunger games: Diet, Metabolism, and Human Evolution 2. Run for Life 3. The Past, Present and Uncertain Future of Homo Energeticus2022-05-171h 56FatoutkeyFatoutkeyสรุปหนังสือ Burn- New Research Blows the Lid Off How We Really Burn Calories, Lose Weight, and Stay Healthy ตอนที่ 1สรุปหนังสือดีในปี 2564 “Burn: New Research Blows the Lid Off: How We Really BURN Calories, Stay Healthy, and Lose Weight”   ถ้าจะให้พี่ปุ๋มจัดอันดับ Top 5 หนังสือดีที่เกี่ยวกับความเข้าใจเรื่องวิทยาศาสตร์ความอ้วนในรอบ 4 ปี ที่มีโอกาสได้อ่าน นอกจาก The Hungry Brain ของ Dr.Stephan Guyenet แล้ว Burn เล่มนี้โดย Dr.Herman Pontzer ติด Top 5 อีกเล่มหนึ่งเลยค่ะ โดยเฉพาะด้านความอ้วนในมุมมองของนักบรรพชีวินอย่าง Dr.Herman Pontzer ที่เชี่ยวชาญในเรื่องการวัด Energy Expenditure ของสัตว์ตระกูลไพรเมท รวมทั้งมนุษย์  พี่ปุ๋มเคยทำ Zoom Lecture สรุปหนังสือเล่มนี้ไป 2 ตอน เมื่อปีที่แล้วให้กับน้องๆกลุ่มหนึ่งที่แสดงความสนใจแน่วแน่ลงทะเบียนเข้ามาฟังกัน แต่ละตอนเกือบ 2 ช.ม.   หลังจากผ่านไปเกือบ 1 ปี งานวิจัย 2 ฉบับที่ Dr.Herman Pontzer พูดถึงในหนังสือ ว่าจะเปลี่ยนความเข้าใจเรื่อง Energy Expenditure ในมนุษย์อย่างสิ้นเชิง ได้ตีพิมพ์ในช่วงปลายปี 2564 พี่จึงคิดว่าน่าจะทำไลฟ์สรุปหนังสือดีงามเล่มนี้ให้น้องๆได้ฟังกันทางไลฟ์ พร้อมนำงานวิจัยใหม่ทั้ง 2 ฉบับนี้มาสรุปกันด้วย2022-05-171h 39FatoutkeyFatoutkeyสรุปงานวิจัยครั้งที่ 6/2 “Calorie Restriction With or Without Time-Restricted Eating in Weight Loss”สรุปงานวิจัยครั้งที่ 6/2 “Calorie Restriction With or Without Time-Restricted Eating in Weight Loss” ตอนจบค่ะ2022-05-0427 minFatoutkeyFatoutkeyสรุปงานวิจัย ครั้งที่ 5- Human Calorie Restriction Trial Identifies Key Factor for Extending Health Span📌 มีการศึกษาเรื่องการจำกัดแคลอรี่ (Caloric Restriction) ในสิ่งมีชีวิตหลายสปีชี่ส์ เช่น ยีสต์ หนอน แมลงวัน ลิง เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการจำกัดแคลอรี่สามารถปรับปรุงสุขภาพและยืดอายุขัยได้ในสัตว์ทดลองเหล่านี้ แต่ประสิทธิผลนี้จะยังคงพบในมนุษย์หรือไม่ ยังเป็นเรื่องที่โต้แย้งกัน    📖 เราจะมาดูข้อมูลงานวิจัยสำคัญเรื่องการจำกัดแคลอรี่ในมนุษย์ 2 ฉบับ ซึ่งฉบับที่ 2 เพิ่งตีพิมพ์สดๆร้อนๆเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งพบข้อมูลที่น่าตื่นเต้นว่า มีอวัยวะสำคัญชนิดหนึ่ง และโมเลกุลที่เป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่ง เกิดขึ้นเมื่อมีการจำกัดแคลอรี่ ซึ่งมีประโยชน์ต่อระบบเมตาบอลิสมและระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ ส่งผลต่อ healthy lifespan อย่างสิ้นข้อสงสัย    📌 อวัยวะและโมเลกุลสำคัญนั้นคืออะไร ต้องจำกัดแคลอรี่ขนาดไหนจึงจะเห็นผล คำตอบอยู่ในคลิปค่ะ2022-04-2558 minFatoutkeyFatoutkeyชีวเคมี ครั้งที่ 2 ตอนจบ Energy Balance Model vs Carbohydrate Insulin Modelชีวเคมี ครั้งที่ 2 ตอนที่ 1 Energy Balance Model vs Carbohydrate Insulin Model2022-04-251h 30FatoutkeyFatoutkeyชีวเคมี ครั้งที่ 2 ตอนที่ 1 Energy Balance Model vs Carbohydrate Insulin Modelสรุปงานวิจัย “The energy balance model of obesity: beyond calories in, calories out” Kevin D Hall, I Sadaf Farooqi, Jeffery M Friedman, Samuel Klein, Ruth J F Loos, David J Mangelsdorf, Stephen O'Rahilly, Eric Ravussin, Leanne M Redman, Donna H Ryan, John R Speakman, Deirdre K Tobias ตีพิมพ์ใน : The American Journal of Clinical Nutrition วันที่ตีพิมพ์ : 4 กุมภาพันธ์ 2565   👩🏻‍💻ในไลฟ์ที่ 45,46 พี่ปุ๋มพูดตั้งแต่ต้นว่า เราไม่มีทางจะเข้าใจ Energy Metabolism สัมพันธ์กับ ชีวเคมี cellular metabolism, thermodynamics ได้เลย ถ้าเราไม่เชื่อ Energy Balance Model of Obesity ซึ่งพี่ก็มีงานวิจัยฉบับนี้นอนรออยู่เรียบร้อย แต่มันต้องแยกทำเป็นอีกไลฟ์หนึ่งเลย เพราะมันสำคัญมาก  ตอนที่พี่ได้งานวิจัยนี้ฉบับเต็มมานี่ ต้องก้มกราบกันเลยทีเดียว เพราะล่าสุดมากๆ คือกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้เอง และบรรดาผู้ที่ทำการรีวิว paper ฉบับนี้คือ “เทพ” งานวิจัยในเรื่อง Energy Metabolism of Obesity ทั้งนั้น ลองดูรายชื่อนะคะ   1. Kevin D Hall เป็นนักวิจัยด้าน Energy Metabolism ที่พี่ปุ๋มพูดถึงบ่อย และนำงานวิจัยดีในเรื่อง Energy Metabolism ของเขาหลายฉบับมาสรุปให้น้องๆฟังกัน โดยเฉพาะการเปรียบเทียบ diet แบบ Low Carb High fat vs High Carb Low fat ในการลดน้ำหนักว่าไม่แตกต่างกัน  2. Sir Stephen O’Rahilly University of Cambridge ถ้าพูดถึงนักวิจัยที่ทำงานวิจัยเรื่องฝาแฝด Twin studies กับพันธุกรรมความอ้วนแล้ว พี่ว่าท่านนี้ยืน 1 ใน 5 ของผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ระดับโลกเลย พี่ฟังเลคเชอร์ของเขาทุกเรื่องที่หาพบ  3. Jeffrey M Friedman ศาสตราจารย์นักวิจัยผู้ค้นพบฮอร์โมน leptin อยู่ที่ The Rockefeller University ถ้าได้อ่านหนังสือ The Hungry Brain แล้ว น้องๆจะรู้จัก “เทพ” ท่านนี้ว่าเขาทำงานวิจัยหนักขนาดไหนกว่าจะค้นพบ leptin  4. I Sadaf Farooqi เป็นศาสตราจารย์นักวิจัยด้านพันธุกรรมกับ Obesity ที่เก่งมากอีกคน เป็นลูกศิษย์เอกของ Sir Stephen O’Rahilly  5. Eric Ravussin เป็นศาสตราจารย์ด้านสรีรวิทยา และผู้อำนวยการโรคอ้วนและโภชนาการอยู่ที่ Pennington Biomedical Research Center เป็นคนที่ทำงานวิจัยเรื่อง Energy Expenditure, body composition, ศึกษาเรื่อง skeletal muscle and adipose tissue cross talk เป็นคนที่พี่ download งานวิจัยของเขามาเก็บเท่าที่พี่จะหาได้เลย  6. John R Speakman เป็นศาสตราจารย์อยู่ที่ Chinese Academy of Science เป็นคนที่ทำงานวิจัยเรื่อง cause and consequences ปัจจัยที่มีผลต่อ Energy balance เป็นคนที่ทำและเขียน textbook เรื่อง Doubly Labelled Water ในการวัด Energy Expenditure ใน free livings   📌 และเมื่อเทพทั้ง 6 มาอธิบาย The Energy Balance Model of Obesity พวกเราต้องฟังกันเลยค่ะ   👩🏻‍💻 เมื่อ 4 ปีที่แล้วที่พี่เริ่มทำเพจ พี่ก็หลงทางความรู้นะคะ เชื่อว่า คาร์บและฮอร์โมนอินซูลินทำให้อ้วน เพราะพี่เสพข้อมูลข้างเดียว ไม่เคยรู้จักเทพงานวิจัยทั้ง 6 คนนี้เลย พี่ชอบรูปข้างล่างนี้ ตอนที่พี่เสพสื่อฝั่งเดียว พี่ก็เห็นว่านับยังไงก็ได้ 3 มันไม่มีทางเป็นเลขอื่นไปได้ แล้วพี่ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมคนอื่นเขาถึงนับได้ 4 กัน   👩🏻‍💻 พี่มี 2 ทางเลือกค่ะ คือ ยืนกรานความเชื่อว่านับได้ 3 หรือ ลองเดินข้ามไปยังอีกด้2022-04-101h 45FatoutkeyFatoutkeyชีวเคมี 101 ครั้งที่ 1 ตอนจบเรามาคุยกันต่อว่า  1. ใน Energy metabolism นั้น คาร์โบไฮเดรตสำคัญระดับเซลล์อย่างไร อย่างที่ไขมันทำไม่ได้  2. อินซูลินหรืออะไรกันแน่ที่ทำให้เราอ้วน  #FatOutHealthspans2022-04-101h 27FatoutkeyFatoutkeyซีรีส์ชีวเคมี ตอนที่ 1 Fat burn = Fat loss?? คาร์โบไฮเดรตสำคัญต่อร่างกายอย่างไร? อินซูลินหรืออะไรกันแน่ที่ทำให้อ้วน??มาทำความเข้าใจ 3 เรื่องสำคัญ 1. Fat burn = Actual Fat loss?? 2. คาร์โบไฮเดรตสำคัญต่อร่างกายอย่างไร แบบที่ไขมันทำไม่ได้ 3. อินซูลินหรืออะไรกันแน่ที่ทำให้อ้วน?? 👩🏻‍💻 พี่ปุ๋มบอกน้องๆตั้งแต่ปลายปี 2564 ว่า จะทำซีรีส์ชีวเคมี 101 เพราะความเข้าใจวิชาชีวเคมีจะทำให้เราพิจารณาเลือกรับข้อมูลที่ได้จากสื่อสารพัดรูปแบบในเรื่อง Energy Metabolism อย่างสอดคล้องกับปฏิกิริยาชีวเคมีที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ 👩🏻‍💻 พี่เองเป็นคนหนึ่งที่เคยเชื่อข้อมูลจากกูรูต่างประเทศที่โด่งดัง ดูน่าเชื่อถือ ออกหนังสือขายดีถล่มทลายในการเขียนเพจช่วง 2 ปีแรก แต่หลังจากที่ได้มีโอกาสศึกษางานวิจัย ได้รู้จักนักวิจัยเรื่อง Energy Metabolism ตัวจริง เสียงจริงจำนวนมากในช่วง 2 ปีหลัง พี่ก็พบข้อมูลที่ถูกต้องมากขึ้น และก็อยากที่นำข้อมูลที่ถูกต้องมาเล่าให้น้องๆฟัง ข้อเสียของนักวิจัยระดับเทพพวกนี้คือ เขาไม่ทำการสื่อสารประชาสัมพันธ์ตัวเองในโลกโซเชี่ยลมีเดีย ไม่เขียนหนังสือสุขภาพให้คนทั่วไปอ่าน (ช่วงหลังเริ่มมีออกมามากขึ้นแล้วค่ะ) เราเลยเสพข้อมูลข้างเดียวมาตลอด 🎥 การจะทำซีรีส์นี้ พี่ต้องใช้เวลาอ่านเยอะมาก ซึ่งในช่วงงานประจำล้นมือนี่ ทำให้พี่ใช้เวลามากกว่าที่คิดเยอะ อ่านเสร็จต้องเชื่อมโยงข้อมูลที่ได้ให้เป็นระบบ เข้าใจไปทีละขั้น จนเห็นภาพรวมทั้งหมด จากนั้นก็ต้องมานั่งคิดว่าจะเล่าอย่างไรให้ง่ายพอที่น้องๆจะเข้าใจ แล้วก็ลงมือทำสไลด์ 😭 📌 ไม่จำเป็นต้องเชื่อข้อมูลที่พี่นำมาบอกกล่าวทุกอย่าง เมื่อได้ฟังก็ลองเก็บมันเข้าไปพิจารณาไว้อีก 1 ทางเลือก ศึกษาไปเรื่อยๆ อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมตรงไหน inbox มาหาพี่ได้เสมอ ถ้าพี่มีข้อมูล พี่ยินดีส่งให้ หรือชี้ช่องทางความรู้ให้ไปศึกษาต่อค่ะ #FatOutHealthspans #Biochemistry1012022-04-011h 19FatoutkeyFatoutkeyสรุปหนังสือ ดีมาก Intermittent Fasting Revolution ตอนจบไลฟ์ #44 สรุปหนังสือดี Intermittent Fasting Revolution (ตอนจบ)  มาพบกับตอนจบของการสรุปหนังสือดีเล่มนี้กันค่ะ ยังเหลืออีก 2 บทหลักคือ บทที่ 6: Diet Composition and Brain Health - หลักการสำคัญ 3 ข้อ สำหรับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ - ไดเอ็ทประเภทใดที่มีการศึกษาผ่านงานวิจัยแบบ RCT กว้างขวางที่สุดว่าส่งผลต่อความมีสุขภาพดี - มีอะไรดีในผัก ผลไม้ ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย วิตามิน เกลือแร่ ? บทที่ 9: Bon Voyage - Intermittent Fasting ที่มีงานวิจัยสนับสนุนว่าดีต่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง - 4 วิธีที่ hack Intermittent Fastingได้ มีอะไรบ้าง - อนาคตสมองของมนุษย์ยุคบริโภคล้นเกิน ไม่มีกิจกรรมทางกาย ไม่มีกิจกรรมท้าทายสมอง จะเป็นอย่างไร -------------------------------- บทตามเวลา 00:00   พูดคุยทักทายก่อนไลฟ์ 08:50  Introduction 17:01  Hormesis คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร 20:32  IF คือ Hormetic Metabolic Process 23:10  ความสำคัญของ Metabolic Switching 27:36  บทที่ 3 IF for Disease Prevention and Treatment 29:51  บทที่ 4 IF สนับสนุนสมองกับร่างกายอย่างไร 34:25  IF + Exercise เป็นสิ่งที่แนะนำ 38:38  Neurobic Exercise / Keep Your Brain Alive 41:03  บทที่ 6 Diets Composition and Brain Health 48:25  Mediterranean Diet Pyramid 59:51  บทสุดท้าย 01:02:51  วิธีการทำ IF ในแบบต่างๆที่แนะนำ 01:06:30  Intermittent Fasting Hack 01:08:09  คำแนะนำสำหรับมือใหม่ในการเริ่ม IF 01:12:15  ตัวอย่างเมนูอาหาร 500 - 700 แคลอรี่ สอบถามรายละเอียดสิทธิพิเศษเพิ่มเติม และสั่งซื้อ Bone Broth ได้ที่ LineOA : https://lin.ee/4S8N8iZ FB Page : https://www.facebook.com/shopbyfatoutkey -------------------------------- ช่องทางการติดตามอุดหนุนผลงานพี่ปุ๋มเพื่อเป็นกำลังใจ YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCpPU... FB Page : https://www.facebook.com/fatoutkey Podcast Spotify : https://open.spotify.com/show/0RtYfou... Apple Podcast : https://podcasts.apple.com/th/podcast... Website : https://healthspans.co/                  https://fatoutkey.com/ #FatOutHealthspans #IntermittentFastingRevolution #Fasting2022-02-221h 22FatoutkeyFatoutkeyสรุปหนังสือ ดีมาก Intermittent Fasting Revolution ตอนที่ 1ไลฟ์ #43: สรุปหนังสือ ดีมาก Intermittent Fasting Revolution: The Science of Optimizing Health and Enhancing Performance เขียนโดย Prof.Mark P. Mattson ⏰ Intermittent Fasting เป็นหัวข้อสุขภาพที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และมีบทความสุขภาพที่เขียนถึงประโยชน์ของเรื่องนี้นับไม่ถ้วน และถ้าพิมพ์คำค้น Intermittent Fasting, Autophagy, Time Restricted Feeding ลงไปใน pubmed ก็จะพบงานวิจัยมากกว่า 700 ฉบับ 🤵ในบรรดานักวิจัยที่ศึกษาผลลัพธ์ของ Fasting มีผลต่อสมองและสุขภาพโดยรวมทั้งในสัตว์ทดลองและมนุษย์มาตลอด 30 ปี ก็ต้องเป็นท่านนี้ Prof.Mark P. Mattson ศาสตราจารย์ทางด้านประสาทวิทยา ที่โรงเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ และเคยดำรงตำแหน่ง Chief of Neuroscience Research Laboratory at the National Institute on Aging 🤵 Prof. Mattson เป็นหนึ่งในนักประสาทวิทยาที่งานวิจัยของเขาตลอดระยะเวลาเกือบ 30 ปี ได้รับการอ้างอิงในงานวิจัยอื่นมากที่สุดในโลก คือมากกว่า 180,000 ครั้ง 🔬 งานวิจัยที่โดดเด่นมากของ Prof. Mattson คืองานวิจัยที่พัฒนาความเข้าใจเรื่องความชราของสมอง และการระบุความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความผิดปกติของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับความชรา ได้แก่ อัลไซเมอร์ พาร์กินสันส์ เป็นต้น 📃 งานวิจัยที่เขามุ่งเน้นและควรค่าแก่การยกย่องก็คือเรื่อง สมองตอบสนองอย่างไร ต่อความเครียดระดับต่ำๆที่เกิดจากการออกกำลังกาย และการหยุดกินอาหารเป็นช่วงเวลา (Fasting) เขาเป็นนักวิจัยที่ NIH ยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่อง Fasting กับผลทางสรีรวิทยาที่มีต่อสมองและร่างกาย 📔 และเมื่อผู้เชี่ยวชาญเรื่อง Fasting ตัวจริงเสียงจริง เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Fasting เอง ย่อมเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและ update สุด บทตามเวลา 00:00 Introduction 03:18  แนะนำผู้เขียน 05:23  ข้อแนะนำ 3 ข้อถ้าต้องการมีสุขภาพกายใจที่ดี 13:49  เนื้อหาในหนังสือ 9 บท มีอะไรบ้าง 19:03  บทที่ 1 Food Scarcity Sculpted : The Human Brain and Body 29:43 มุมมองทางประวัติศาสตร์ของการหยุดกินอาหารต่อสุขภาพและสมองที่ดี 34:53  บทที่ 2 Intermittent Fasting Slow Aging 39:28. Hormesis : What it is and why it matters 46:06  IF ชลอวัยได้อย่างไร  58:21  ทำไมเราถึงต้องทำ Short Term, Regular, Frequent Fasting -------------------------------- สอบถามรายละเอียดสิทธิพิเศษเพิ่มเติม และสั่งซื้อ Bone Broth ได้ที่ LineOA : https://lin.ee/4S8N8iZ FB Page : https://www.facebook.com/shopbyfatoutkey -------------------------------- ช่องทางการติดตามอุดหนุนผลงานพี่ปุ๋มเพื่อเป็นกำลังใจ YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCpPU... FB Page : https://www.facebook.com/fatoutkey Podcast Spotify : https://open.spotify.com/show/0RtYfou... Apple Podcast : https://podcasts.apple.com/th/podcast... Website : https://healthspans.co/                  https://fatoutkey.com/2022-02-221h 05FatoutkeyFatoutkeyBone Broth มหัศจรรย์คอลลาเจนธรรมชาติที่ทุกคนต้องรับประทาน / ซีรีย์ Bone Broth & Collagen EP1📢 พบกับ วิดีโอสัมภาษณ์พิเศษ “อาจารย์” ของพี่ปุ๋ม เรื่อง Bone Broth ของเหลวมหัศจรรย์สีทอง (มีของขวัญพิเศษสุด ช่วงท้ายบทสัมภาษณ์ด้วย รอฟังกันจนจบนะคะ) 👩🏻‍💻 ตลอดระยะเวลา 4 ปีในการเปิดเพจ Fat Out-Healthspans พี่ปุ๋มมีบุคคลสำคัญท่านนี้ ที่พี่ยกย่องให้เป็น “อาจารย์” ของพี่มาตลอด 10 ปีที่เรากลับมาเจอกัน (จริงๆเรารู้จักกันมา 30 กว่าปีแล้วค่ะ) อาจารย์ท่านนี่ก็คือ พี่หนิง ภ.ญ.นันทวดี พิทยาพิบูลพงศ์ พี่หนิงเป็นผู้เขียนหนังสือลดน้ำหนักอย่างมีความสุขที่พิมพ์ซ้ำมาแล้ว 6 รอบชื่อ ผอมเลือกได้ และ อีกเล่มชื่อ บอกลาขาใหญ่  🥰 ทุกครั้งที่พี่ปุ๋มต้องการความกระจ่างเกี่ยวกับสุขภาพหรือโภชนาการเรื่องใดก็ตาม พี่หนิงก็จะเป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ของพี่ และทำให้พี่ต่อภาพคำถามที่สงสัยได้กระจ่างชัด และเมื่อนำไปปฏิบัติตามที่พี่หนิงแนะนำ ก็มักจะได้ผลลัพธ์ในการปรับปรุงสุขภาพเสมอ 🎥 พี่จึงคิดทำช่วงวิดีโอพิเศษ เชิญพี่หนิงมาพูดคุยเรื่องสุขภาพหลากหลาย โดยในตอนแรก เชิญพี่หนิงมาคุยเรื่อง Bone Broth ซึ่งพี่ไม่เคยเล่าให้พี่หนิงฟังเลยว่าพี่ทำ I-Fast Bone Broth ออกมา พอพี่หนิงทราบก็ตื่นเต้น แล้วบอกกับพี่ว่า “ปุ๋มรู้ไหมว่า Bone Broth นี่มันดีต่อสุขภาพทั้งร่างกายเลยนะ ไม่ใช่แค่ผิวสวย ผมสวย เล็บสวย อย่างที่เราเข้าใจกัน” แทนที่จะฟังคนเดียว พี่เลยชวนพี่หนิงมานั่งคุยให้น้องๆฟังกันด้วยเลย จะเป็นประโยชน์โดยรวมมากกว่า 📌 มาชมกันนะคะ นอกจากนั้นในตอนท้ายการพูดคุย พี่ปุ๋มมีของขวัญพิเศษสุดให้กับน้องๆทุกท่านด้วยค่ะ อยู่ฟังกันจนจบนะคะ  หัวข้อตามเวลา 00:00  Introduction 01:51  แนะนำแขกรับเชิญ พี่หนิง ภญ.นันทวดี พิทยาพิบูลพงศ์ 07:24  ผลงานหนังสือของพี่หนิง 09:02  ที่มาที่พี่หนิงสนใจ Bone Broth หรือน้ำต้มกระดูก 12:47  แคลเซียมไม่ได้ช่วยลดกระดูกพรุน ถ้าไม่มีคอลลาเจนเป็นตัวช่วยพยุง 14:17  ทำไม Bone Broth หรือ น้ำซุปกระดูก ถึงเป็น Functional Food ช่วยฟื้นฟูร่างกายที่ดี 18:29  ทำคอลลาเจนใน Bone Broth ไม่ได้แค่ช่วยเรื่องผิว ผม เล็บ เท่านั้น 19:35  ความสำคัญและสัดส่วนองค์ประกอบของคอลลาเจนในร่างกาย 21:26  คอลลาเจนกับโรคลำไส้รั่ว หรือ Leaky Gut 28:18  Bone Broth เหมาะกับใครบ้าง 34:34  ข่าวดี...สิทธิพิเศษสำหรับคนที่ชมคลิปนี้ -------------------------------- สอบถามรายละเอียดสิทธิพิเศษเพิ่มเติม และสั่งซื้อ Bone Broth ได้ที่ LineOA : https://lin.ee/4S8N8iZ FB Page : https://www.facebook.com/shopbyfatoutkey -------------------------------- ช่องทางการติดตามอุดหนุนผลงานพี่ปุ๋มเพื่อเป็นกำลังใจ YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCpPU... FB Page : https://www.facebook.com/fatoutkey Podcast Spotify : https://open.spotify.com/show/0RtYfou... Apple Podcast : https://podcasts.apple.com/th/podcast... Website : https://healthspans.co/                  https://fatoutkey.com/2022-02-2238 minFatoutkeyFatoutkeyทำไมสมองที่ควบคุมการอยู่เพื่อกิน จึงมีอิทธิพลต่อการกินเกินซีรีส์สรุปงานวิจัย #4 : ทำไมสมองที่ควบคุมการ “อยู่เพื่อกิน” (Hedonic Eating) จึงมีอิทธิพลต่อการกินเกินมากกว่าสมองที่ควบคุมการ “กินเพื่ออยู่” (Homeostatic Eating) และเราจะมีวิธีจัดการอย่างไร ผ่านงานวิจัยดีมาก 2 ฉบับค่ะ  00:00  Introduction 04:28  ทำไมสัตว์กินเพื่ออยู่ แต่มนุษย์อยู่เพื่อกิน 05:02  สาเหตุที่มนุษย์กินอาหาร 08:28  งานวิจัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมองส่วนที่ไม่หิวก็กิน กับ ส่วนที่กินเพื่ออยู่ 10:16  วงจรประสาทในการควบคุมสมดุลพลังงาน 18:46  งานวิจัยว่าเรากินเกินได้อย่างไร 30:59  เมื่อระบบการอยู่เพื่อกิน กับ การกินเพื่ออยู่เสียสมดุล เป็นต้นเหตุของความอ้วนได้อย่างไร  37:53  งานวิจัยที่ชี้ว่าปัจจัยอะไรที่ทำให้คนบางกลุ่มมีพฤติกรรมการกินเกิน 43:14  กินอย่างไรให้เป็นการ "กินเพื่ออยู่" 51:11  การจัดการสมอง "อยู่เพื่อกิน" (ไม่หิวก็กิน) -------------------------------- ช่องทางการติดตามอุดหนุนผลงานพี่ปุ๋มเพื่อเป็นกำลังใจ YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCpPU... FB Page : https://www.facebook.com/fatoutkey Podcast Spotify : https://open.spotify.com/show/0RtYfou... Apple Podcast : https://podcasts.apple.com/th/podcast... Website : https://healthspans.co/                  https://fatoutkey.com/ สั่งซื้อ Bone Broth  LineOA : https://lin.ee/4S8N8iZ FB Page : https://www.facebook.com/shopbyfatoutkey2022-02-1055 minFatoutkeyFatoutkeyแสง ยาแห่งอนาคตเพื่อสุขภาพกายใจที่ดี👩🏻‍💻 พี่ปุ๋มอัด vdo หัวข้อนี้อีกครั้ง หลังจากไปพูดเรื่องนี้กับน้องเอม เจ้าของเพจ Wellness Club Thailand ในวันอังคารที่ 26 ม.ค. ที่ผ่านมา เพราะในวันนั้นพูดไม่ครบถ้วนแสงBioactive light ทั้ง 5 ประเภท เนื่องจากเวลาจำกัด และเห็นว่าแสงแดดเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมาก และที่สำคัญ ฟรีค่ะ    📌 หัวข้อสำคัญใน vdo นี้คือ   1. ธรรมชาติของแสง และทำไมแสงจึงส่งผลต่อความมีสุขภาพกายใจที่ดีของสิ่งมีชีวิต  2. แสงที่มีผลกระทบทางชีววิทยา 5 ประเภท (5 Bioactive Types of Light) มีอะไรบ้าง  3. ประโยชน์ต่อสุขภาพ 8 ประการ ที่ได้รับจากการอาบแสงแดด  4. การปฏิบัติตัวเพื่อรับแสงแดดอย่างเหมาะสม และ การจัดการแสงประดิษฐ์ยามค่ำคืน เชิญชมได้ค่ะ    Time Index  00:00  Introduction  03:52  ธาตุทั้ง 4 เพื่อความมีสุขภาพกายใจที่ดี  05:23  แหล่งข้อมูลของการบรรยายเรื่อง แสง 06:59  รังสี UV จากแสงอาทิตย์ที่ผ่านเข้ามาสู่โลกได้  08:23  ประวัติของแสงกับสุขภาพ  16:42  แสงที่มีผลดีทางชีวะวิทยา 5 ประเภท  19:11  Solar spectrum  21:32  Visible Light มีผลต่อนาฬิกาชีวิตอย่างไร  21:00  ธรรมชาติของแสง และทำไมแสงจึงส่งผลต่อความมีสุขภาพกายใจที่ดี  27:40  ผลกระทบของแสงสีฟ้าต่อนาฬิกาชีวภาพ  32:39  Infrared Light หรือ Near Infrared Light (NIR) ดีต่อสุขภาพไมโตคอนเดรีย  39:50  กลไกของแสง NIR ต่อการผลิตฮอร์โมน Melatonin ในไมโตคอนเดรีย  47:55 95% ของ Melatonin ถูกผลิตขึ้นในไมโตคอนเดรีย  50:57  ประโยชน์ของแสง Red และ NIR Light ต่อสุขภาพ  52:46  แสง Ultraviolet (UV) น่ากลัวจริงหรือ?  54:37 การสำรวจสภาวะวิตามินดีของคนไทย  55:56 เส้นทางการในการผลิตวิตามินดีในร่างกาย  56:36 ระดับวิตามินดีในร่างกายเท่าไรถึงจะดี  58:30  วิธีอาบแสงแดดเพื่อสร้างวิตามินดีใน 1 สัปดาห์  01:00:54  อาหารเพื่อเสริมสร้างวิตามินดี  01:02:08  ประโยชน์ของ UV  01:02:30  ประโยชน์ต่อสุขภาพ 8 ประการของการอาบแสงแดด  01:04:18  คำแนะนำในการปฏิบัติตัว     #Lightmedicineofthefuture #FatOutHealthspans2022-02-011h 08FatoutkeyFatoutkeyทำไมมนุษย์ มีแนวโน้มที่กินเกิน เมื่อเป็นอาหารแบบบุฟเฟต์ทำไมมนุษย์มีแนวโน้มที่จะอิ่มช้า กินเกิน เมื่อเป็นอาหารแบบบุฟเฟต์ รอพบ วิดีโอซีรีส์ สรุปงานวิจัย #3   🧠 สมองที่ควบคุมการกินทั้งแบบ กินเพราะหิว (homeostatic eating) และ ไม่หิวก็กิน (Hedonic eating) มีเรื่องให้สมองส่วนจิตสำนึกของเราแปลกใจเสมอค่ะ   🎂 น้องๆมีอาหารที่ถูกใจกันไหมคะ เห็นเมื่อไหร่ จะถูกดึงดูดให้เข้าไปหาอย่างทัดทานได้ยาก หรือให้ดั้นด้นไปไกลแค่ไหน ต้องไปต่อคิวนานเท่าไร ทนได้ ขอให้ได้กินอาหารโปรดเป็นพอ   ❓แต่มันจะเกิดอะไรขึ้นคะ ถ้าทั้งโลกมีอาหารจานโปรดที่น้องๆชอบอยู่เพียงอย่างเดียว น้องๆจะต้องกินอาหารชนิดเดียวนั้นไป 2-3 มื้อตลอดชีวิต   📌 และถ้าให้เลือกระหว่างอาหารจานโปรดจานเดียว กับบุฟเฟต์ที่มีอาหารให้เลือกหลากหลาย ทำไมมนุษย์ชอบอาหารแบบบุฟเฟต์ซะเหลือเกิน และถึงอิ่มแล้วก็ยังกินได้อีกทำให้มีแนวโน้มกินเกินได้   👩🏻‍💻 มาทำความรู้จักกับ Sensory-Specific Satiety (SSS) ผ่านงานวิจัยฉบับสำคัญ ที่พี่ปุ๋มจะมาสรุปให้น้องๆได้เข้าใจว่า   1. Sensory-Specific Satiety คืออะไร มีความสำคัญต่อการกินของมนุษย์อย่างไร  2. ทำไมมนุษย์ชอบกินอาหารแบบบุฟเฟต์ และทำให้อิ่มช้าลงโดยไม่รู้ตัว  3. เราจะมีวิธีจัดการ Sensory-Specific Satiety อย่างไร เพื่อหลีกเลี่ยงการอิ่มช้า กินเกิน โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีความไวต่อการการสะสมไขมัน (Obesity sensitive)   สารบัญตามเวลา   00:00  Introduction  06:53  งานวิจัยเรื่องสมองกับการกิน "เรากินเกินได้อย่างไร"  10:35  วงจรประสาทในการควบคุมสมดุลพลังงาน  22:26  Sensory-specific Satiety คืออะไร  36:26  ทำไมมนุษย์ชอบกินอาหารแบบบุฟเฟต์  42:24 วิธีจัดการ Sensory-specific Satiety เพื่อหลีกเลี่ยงการกินเกิน 2022-01-1949 minFatoutkeyFatoutkeyกินหลอกสมองอย่างไร ให้อิ่มนาน แคลอรี่น้อยวิดีโอซีรีส์สรุปงานวิจัย #2 กินหลอกสมองอย่างไรให้อิ่มนาน ด้วยแคลอรี่น้อย 📌 มาทำความเข้าใจ 4 หัวข้อนี้กันค่ะ 1. ทำไมอยู่ในสิ่งแวดล้อมทางอาหารที่ชวนให้อ้วน (Obesogenic Environment) อย่างปัจจุบันเหมือนกัน แต่ไม่ใช่ทุกคนบนโลกนี้ที่อ้วน 2. กลไกความอิ่มของร่างกายแบบ homeostatic eating เป็นอย่างไร คนอ้วน มีกลไกความอิ่มแตกต่างจากคนผอมอย่างไร 3. แล้วเราจะมีวิธีกินหลอกสมองอย่างไร ให้อิ่มอยู่นาน ด้วยแคลอรี่ที่น้อย 4. ดื่มน้ำช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือ สารบัญเวลา 00:00 ทักทาย 04:15 หัวข้อในการสรุปงานวิจัย 06:19 ทำไมทุกคนที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ชวนให้อ้วน ไม่ได้อ้วนทุกคน 22:09 ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคที่สุดของคนอ้วน ที่ต้องการลดน้ำหนัก 23:37 กลไกความอิ่ม 25:14 ระบบประสาทที่ควบคุมความหิวความอิ่ม 34:38 ตัวรับแรงตึงที่กระเพาะอาหาร 43:08 ตัวรับรู้สารอาหาร 49:21 กินหลอกสมองอย่างไร ให้อิ่มนาน แคลอรี่น้อย 57:51 อาหารที่มีองค์ประกอบของน้ำสูงเช่นซุป ช่วยทำให้อิ่มได้อย่างไร2022-01-111h 01FatoutkeyFatoutkeyโภชนาการและการใช้ชีวิต ช่วยยืดอายุขัยเซลล์ได้จริงหรือไม่โภชนาการและการใช้ชีวิต ช่วยยืดอายุขัยเซลล์ได้จริงหรือไม่ งานวิจัยที่เป็น Randomized Controlled Trial (RCT) ฉบับแรก อาจมีคำตอบ   📌 ซีรีส์การสรุปงานวิจัยสั้นๆฉบับแรกนี้ จะทำให้น้องๆทราบว่า โภชนาการและไลฟ์สไตล์แบบใดที่สามารถลดอายุขัยของเซลล์ ที่เรียกว่า Epigenetic age ลงได้ ที่สำคัญงานวิจัยนี้เป็น Pilot Randomized Controlled Trial ฉบับแรก (ตามที่ผู้วิจัยกล่าว) ที่เปรียบเทียบการใช้โภชนาการและไลฟ์สไตล์ตลอด 8 สัปดาห์ ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ได้รับการแทรกแซงด้วยโภชนาการและไลฟ์สไตล์ตามโปรโตคอลค่ะ น่าตื่นเต้นนะคะ   📌 น้องๆจะได้ข้อมูลจากงานวิจัยนี้ว่า โภชนาการแบบใด ไลฟ์สไตล์แบบไหน ที่อาจจะช่วยยืดอายุขัยเซลล์ได้ และสามารถนำมาปฏิบัติกับตัวเองได้เลยค่ะ2022-01-1122 minFatoutkeyFatoutkeyทำไมการออกกำลังกาย ช่วยลดน้ำหนัก ได้ไม่ดีเท่าไหร่... งานวิจัยล่าสุดมีคำตอบมาฟังสรุปงานวิจัยฉบับเต็มเรื่อง Energy Compensation and adiposity in humans ซึ่งตีพิมพ์ใน Current Biology เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 ให้ข้อมูลสำคัญว่า 1. Energy Management Models 3 โมเดล มีอะไรบ้าง และ Energy Compensation Model คืออะไร 2. ทำไมการเพิ่มระดับของกิจกรรมทางกายของคนแต่ละคน อาจไม่ได้เพิ่มระดับพลังงานตลอดทั้งวันที่ใช้ไป อย่างที่เราเคยเข้าใจกัน 3. ระดับไขมันในร่างกายของคนแต่ละคน ส่งผลต่อ Energy Compensation แตกต่างกันอย่างไร 4. อายุ เพศ มีผลต่อการเกิด Energy Compensation หรือไม่2021-12-231h 47FatoutkeyFatoutkeySauna ประโยชน์ที่น่าทึ่งต่อสุขภาพ 20 ประการ ตอนจบการอบร่างกายด้วยความร้อนเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพนั้นมีการปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณกาลย้อนไปได้หลายพันปี และพบได้ในหลายวัฒนธรรมทั่วโลกค่ะ  ทศวรรษที่ผ่านมามีงานวิจัย Observational จำนวนมาก ที่เป็นการติดตามผู้ใช้ซาวน่าระยะยาว (หลายสิบปีค่ะ) และ Randomized Controlled Trials จำนวนหนึ่ง ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์และสุขภาพ ถึงประโยชน์ของซาวน่าต่อการยืดอายุขัยและปรับปรุงสุขภาพโดยรวม   ในไลฟ์ #40 ซึ่งเป็นตอนจบ พี่จะสรุปต่อว่า  1. ประโยชน์ต่อสุขภาพที่น่าทึ่ง 20 ประการจากซาวน่า  2. ข้อควรระวังและวิธีใช้ซาวน่าอย่างถูกต้องและปลอดภัย  มาฟังกันเลยค่ะ2021-12-181h 25FatoutkeyFatoutkeySauna ประโยชน์ที่น่าทึ่งต่อสุขภาพ 20 ประการ ตอนที่ 1การอบร่างกายด้วยความร้อนเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพนั้นมีการปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณกาลย้อนไปได้หลายพันปี และพบได้ในหลายวัฒนธรรมทั่วโลกค่ะ ทศวรรษที่ผ่านมามีงานวิจัยทั้ง Observational, Longitudinal, Cohort studies ที่เป็นการติดตามผู้ใช้ซาวน่าระยะยาว (หลายสิบปีค่ะ) ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์และสุขภาพจำนวนมาก รวมถึง Randomized Controlled Trial จำนวนหนึ่ง ถึงประโยชน์ของซาวน่าต่อการยืดอายุขัยและปรับปรุงสุขภาพโดยรวม  พี่ปุ๋มจึงเห็นว่า ควรทำไลฟ์สรุปสาระสำคัญของประโยชน์ซาวน่าที่มีต่อสุขภาพให้น้องๆได้ฟังกัน โดยจะมีหัวข้อคร่าวๆดังนี้   1. ข้อมูลโดยรวมของซาวน่า  2. ร่างกายตอบสนองต่อความร้อนจากซาวน่าในทางสรีระวิทยาอย่างไร  3. กลไกระดับเซลล์ที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความเครียดที่ได้จากความร้อนของซาวน่าคืออะไร  4. ประโยชน์ต่อสุขภาพจากซาวน่า 12 ประการ  5. ข้อควรระวังและวิธีใช้ซาวน่าอย่างถูกต้องและปลอดภัย  6. คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับซาวน่า2021-12-181h 07FatoutkeyFatoutkeyเซลล์จัดการ Energy intake เพื่อเปลี่ยนไปเป็นไขมันสะสมอย่างไร ขึ้นอยู่กับปริมาณ macronutrient ตัวใดตัวหนึ่งจริงหรือพี่ปุ๋มอัดคลิปนี้เพื่อ อธิบายทีละขั้นตอน เพื่อให้น้องๆทุกคนเข้าใจชีวเคมีของกระบวนการเมตาบอลิสมภายในเซลล์อย่างแจ่มแจ้งที่สุดว่า เซลล์จัดการพลังงานที่ได้จากอาหารที่กินเข้าไป เพื่อเปลี่ยนเป็นไขมันอย่างไร   กินคาร์บแล้วจำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมจนทำให้อ้วนอย่างนั้นหรือ ? อินซูลินหรืออะไรกันแน่ที่สำคัญที่สุดในการสะสมไขมัน2021-12-181h 04FatoutkeyFatoutkeyประโยชน์ของความเครียด ความยืดหยุ่นของระบบเมตาบอลิสม การหยุดกินอาหาร และ Hormesis ต่อสุขภาพ ตอนจบสรุปการสัมภาษณ์ Prof. Mark Mattson หนึ่งใน World Top Expert เรื่อง Fasting ต่ออีก 7 หัวข้อที่เหลือจากตอนที่ 1 ดังนี้ค่ะ (สัมภาษณ์โดย Dr. Rhonda Patrick ขวัญใจพี่)    1. การออกกำลังกาย ระหว่างหยุดกินอาหาร มีประโยชน์ต่อสุขภาพสมองเพิ่มขึ้นหรือไม่  2. ผักและผลไม้ ให้ประโยชน์ต่อร่างกายผ่านกลไกใด (ว้าวมากค่ะ)  3. การจำกัดแคลอรี่ที่สุดโต่ง (Extreme caliric restriction) นำไปสู่การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อหรือไม่อย่างไร  4. ข้อพิจารณาด้านความปลอดภัย ในการหยุดกินอาหารเป็นช่วงเวลาสำหรับผู้สูงอายุ เด็ก และสตรีมีครรภ์  5. การหยุดกินอาหาร (Fasting) ส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนเพศหญิงและรอบประจำเดือนอย่างไร  6. ความคิดเห็นของ Prof. Mattson ที่มีต่อ Resveratrol และ Spermidine ซึ่งเป็นสารที่เลียนแบบการหยุดกินอาหาร  7. การใช้ ketone supplement ช่วยปรับปรุงสุขภาพของเซลล์สมองได้หรือไม่2021-12-181h 19FatoutkeyFatoutkeyประโยชน์ของความเครียด ความยืดหยุ่นของระบบเมตาบอลิสม การหยุดกินอาหาร และ Hormesis ต่อสุขภาพ ตอนที่ 1🤵 Prof. Mark Mattson ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ทางด้านประสาทวิทยา ที่โรงเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ และเคยดำรงตำแหน่ง Chief of Neuroscience Research Laboratory at the National Institute on Aging Prof. Mattson เป็นหนึ่งในนักประสาทวิทยาที่งานวิจัยของเขาตลอดระยะเวลาเกือบ 30 ปี ได้รับการอ้างอิงในงานวิจัยอื่นมากที่สุดในโลก คือมากกว่า 180,000 ครั้ง 🔬 งานวิจัยที่โดดเด่นมากของ Prof. Mattson คืองานวิจัยที่พัฒนาความเข้าใจเรื่องความชราของสมอง และการระบุความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความผิดปกติของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับความชรา ได้แก่ อัลไซเมอร์ พาร์กินสันส์ เป็นต้น 📃 งานวิจัยที่เขามุ่งเน้นและควรค่าแก่การยกย่องก็คือเรื่อง สมองตอบสนองอย่างไร ต่อความเครียดระดับต่ำๆที่เกิดจากการออกกำลังกาย และการหยุดกินอาหารเป็นช่วงเวลา 👨‍💻 การสัมภาษณ์ความยาว 2 ชั่วโมงครึ่งของเขาเมื่อเร็วๆนี้ เต็มไปด้วยงานวิจัยอ้างอิงเจ๋งๆ จำนวนมาก มีหัวข้อสำคัญที่น่าสนใจมาก ที่พี่ปุ๋มจะถอดวิดีโอ สรุปให้พวกเราได้ฟังกันคือ 1. ความเครียดส่งเสริมความอึดทน (resilience) ในสิ่งมีชีวิตได้อย่างไร 2. ความยืดหยุ่นในระบบเมตาบอลิสม (Metabolic switching) ทำนายการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตได้อย่างไร 3. การหยุดกินอาหารเป็นช่วงเวลา (Intermittent Fasting) สร้างประโยชน์ต่อสุขภาพผ่านกลไกใด 4. เปรียบเทียบความเหมือนและความต่างของรูปแบบการกินอาหารระหว่าง Time Restricted Feeding กับ การหยุดกินอาหารแบบ 5:2  5. เปรียบเทียบผลกระทบที่ Ketogenic diet และ Intermittent Fasting มีต่อสมองว่าแตกต่างกันอย่างไร 6. การออกกำลังกาย ระหว่างหยุดกินอาหาร มีประโยชน์เพิ่มขึ้นหรือไม่ 7. การจำกัดแคลอรี่ที่สุดโต่ง (Extreme caliric restriction) นำไปสู่การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อหรือไม่อย่างไร 8. ข้อพิจารณาด้านความปลอดภัย ในการหยุดกินอาหารเป็นช่วงเวลาสำหรับผู้สูงอายุ เด็ก และสตรีมีครรภ์ 9. การหยุดกินอาหาร (Fasting) ส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนเพศหญิงและรอบประจำเดือนอย่างไร 10. ความคิดเห็นของ Prof. Mattson ที่มีต่อ Resveratrol และ Spermidine ซึ่งเป็นสารที่เลียนแบบการหยุดกินอาหาร 11. การใช้ ketone supplement ช่วยปรับปรุงสุขภาพของเซลล์สมองได้หรือไม่2021-12-181h 06FatoutkeyFatoutkeyThe 9 Hallmarks of Agingไลฟ์ #36 : The 9 Hallmarks of Aging  ไลฟ์นี้ พี่ปุ๋มจะสรุปงานวิจัยสำคัญที่ชื่อ “The Hallamarks of Aging” โดย Carlos Lopez-Otin และคณะ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Cell เดือน มิ.ย. 2556 ความยาว 47 หน้า 😭 มาทำความเข้าใจจากงานวิจัยฉบับนี้ว่า   1. เครื่องหมายหลักแห่งความแก่ชราทั้ง 9 ประการมีอะไรบ้าง แต่ละเครื่องหมายหลักมีกลไกอย่างไรที่ทำให้ร่างกายแก่ชรา  2. มีหนทางใดบ้างที่ Carlos Lopez-Otin แนะนำไว้ในงานวิจัยฉบับนี้ ซึ่งอ้างอิงจากงานวิจัยจำนวนมากก่อนหน้าปี พ.ศ. 2556 ที่น่าจะสามารถชะลอเครื่องหมายหลักแห่งความชราทั้ง 9 ประการได้2021-11-101h 31FatoutkeyFatoutkeyWhy Zebras Don't Get Ulcers เครียดเรื้อรัง สุขภาพเลวร้าย (ตอนที่ 1)พี่ปุ๋มเริ่มต้นรู้จัก Prof. Robert Sapolsky จากหนังสือดีชื่อ “Behave: The Biology of Humans at Our Best and Worst” เมื่อสามปีที่แล้ว จากนั้นก็สอยหนังสือของเขาทุกเล่ม รวมทั้งเล่มนี้ “Why Zebras Don’t Get Ulcers: The Updated Guide to Stress, Stressed Related Diseases, and Coping” หนังสือให้ความเข้าใจเรื่องความเครียดซึ่งเป็นเรื่องที่ Prof. Robert Sapolsky เชี่ยวชาญ มาทำความเข้าใจกันค่ะว่า 1. ทำไมมนุษย์ถึงมีความเครียดแตกต่างจากม้าลายในมุมมองของวิวัฒนาการ เป็นที่มาของชื่อหนังสือเล่มนี้ค่ะ 2. มีฮอร์โมนอะไรและมีสมองส่วนใดบ้างที่รับผิดชอบในการตอบสนองต่อความเครียด 3. มีความเชื่อมโยงระหว่างความเครียดกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคอะไรบ้าง 4. ไม่ใช่ทุกคนที่ประสบความเครียดเรื้อรังแล้ว จะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรค มีคนบุคลิกแบบใดที่มีความเสี่ยงดังกล่าว 5. วิธีจัดการความเครียดที่นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดีมีอะไรบ้าง2021-09-271h 16FatoutkeyFatoutkeyExercise won’t make you thin but it will make you ALIVE (ตอนจบ)เราจะมาทำความเข้าใจการมีกิจกรรมทางกายที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ผ่านความเข้าใจวิวัฒนาการ และสรุปงานวิจัย 3 ฉบับ ว่าเมื่อมีกิจกรรมทางกาย มี Exerkines อะไรบ้างที่สื่อสารเพื่อความมีสุขภาพดีของร่างกาย และ exercise มี dose ที่เหมาะสมหรือไม่2021-09-141h 27FatoutkeyFatoutkeyExercise won’t make you thin, but it will make you ALIVEเราจะมาสำรวจงานวิจัยหลายฉบับที่ให้ความกระจ่างว่า 1. อะไรคือกลไกสำคัญระดับโมเลกุล ที่การออกกำลังกายมีผลไม่ใช่แค่ต่อกล้ามเนื้อลายเท่านั้น แต่กับอีก 4 ระบบ สำคัญของร่างกาย 2. การที่ร่างกายวิวัฒนาการมาเพื่อ Constrained Energy Expenditure มีประโยชน์ต่อความมีสุขภาพดีอย่างไร 3. ทำไมการไม่ค่อยมีกิจกรรมทางกาย (Inactivity lifestyle) ของคนเมือง ทั้งๆที่มี Total Daily Energy Expenditure ใกล้เคียงกับชนเผ่า Hadza จึงส่งผลเสียต่อสุขภาพ 4. การออกกำลังกาย มี dose ที่เหมาะสม หรือไม่2021-09-101h 10FatoutkeyFatoutkeyความมหัศจรรย์ของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ตอนที่ 3/4มหัศจรรย์ภูมิคุ้มกันร่างกาย ตอนที่ 3/4   หัวข้อตอนนี้  1. One Health ในมุมมองของ Prof. Emeran Mayer หมายถึงอะไร เกี่ยวข้องกับสุขภาพมนุษย์อย่างไร จากงานวิจัยน่าทึ่งในปี พ.ศ.2563  2. ภาวะอักเสบต่ำๆ เรื้อรัง ส่งผลร้ายต่อระบบภูมิคุ้มกัน และสุขภาพอย่างไร  3. 7 วิธีรักษาระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง 2021-07-311h 28FatoutkeyFatoutkeyความมหัศจรรย์ของระบบภูมิคุ้มกัน ตอนที่ 2/4ความมหัศจรรย์ของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ในตอนที่ 2 นี้ พี่ปุ๋มจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า 1. ทางเดินอาหาร ประชากรจุลินทรีย์ มีความเชื่อมโยงกับระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอย่างไร 2. ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของแต่ละคนตอบสนองต่อผู้บุกรุกแตกต่างกัน2021-07-171h 08FatoutkeyFatoutkeyความมหัศจรรย์ของระบบภูมิคุ้มกัน ตอนที่ 1/4พี่จะสรุปหนังสือสำคัญ 3 เล่มที่แสดงให้พวกเราเห็นถึงความมหัศจรรย์ของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย  ในตอนที่ 1 : ภูมิคุ้มกันทำงานอย่างไร (Immune System 101)   💉ในขณะที่การฉีดวัคซีนให้ประชาชน ยังไม่ครอบคลุมและรวดเร็วได้มากพอ ทุกคนจะต้องช่วยเหลือตัวเองด้วยการรักษาอาวุธต่อกรกับไวรัสที่สำคัญที่สุดของร่างกาย คือระบบภูมิคุ้มกันร่างกายให้เข้มแข็งเอาไว้    🛡 ดังนั้นการทำความเข้าใจระบบภูมิคุ้มกันร่างกายและวิธีการรักษาให้ระบบนี้ทำหน้าที่ได้เป็นปรกติ จึงเป็นสิ่งที่พวกเราทุกคนจำเป็นต้องรู้ เพื่อที่เราจะได้มีเกราะปกป้องร่างกายให้รอดพ้นการติดไวรัสโคโรนา-19 ก่อนที่จะได้รับวัคซีน   📚 พี่เลือกข้อมูลจาก The Gut-Immune Connection ซึ่งพี่ปุ๋มเคยสัญญาไว้ตั้งแต่ทำไลฟ์สรุปหนังสือเล่มแรก The Mind-Gut Connection ของ Prof.Emeran Mayor ว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่หนังสือเล่มใหม่นี้ออกวางจำหน่าย พี่จะรีบนำมาสรุปให้พวกเราฟังกันทันที อีกเล่มที่พี่เลือกคือ The Immunity Fix เขียนโดย Dr.James Dinicolantonio ร่วมกับ Simm Land   ในไลฟ์ที่คาดว่าจะมี 3 ตอนนี้ มาทำความเข้าใจกันว่า   1. ทำไมทางเดินอาหารจึงถือเป็น Immune organ ที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย   2. มีความเชื่อมโยงระหว่างทางเดินอาหารกับระบบภูมิคุ้มกันอย่างไร  3. สภาวะใดบ้างที่เมื่อเกิดกับร่างกายแล้ว ลดทอนประสิทธิภาพของระบบภูมิคุมกันร่างกาย  4. มีการแทรกแซงเพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับระบบภูมิคุ้มกันได้อย่างไรบ้าง  5. One Health ในมุมมององค์รวมในแบบของ Prof.Emeran จากงานวิจัยชิ้นสำคัญในปี 2020 หมายถึงอะไร  6. โภชนาการแบบใด กิจกรรมใด ที่รักษาระบบภูมิคุ้มกันให้ทำหน้าที่ได้เป็นปรกติ  7. และข้อมูลสำคัญอื่นๆอีกมากมาย2021-07-171h 08FatoutkeyFatoutkeyไนตริก ออกไซด์ โมเลกุลส่งสัญญาณที่สำคัญที่สุดต่อระบบหลอดเลือดหัวใจ ตอนจบในตอนจบนี้ มาเรียนรู้ Say Yes to NO Program เพื่อเพิ่มการสร้างไนตริกออกไซด์กันค่ะ  1. โภชนาการที่ส่งเสริมการผลิตไนตริกออกไซด์  2. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ส่งเสริมการผลิตไนตริกออกไซด์  3. การมีกิจกรรมทางกายที่ส่งเสริมการผลิตไนตริกออกไซด์  ในส่วนผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อาจจะหาซื้อยากในประเทศไทย พี่ได้วางลิงค์ที่น้องๆจะสามารถสั่งซื้อได้ไว้ให้สำหรับผู้ที่สนใจนะคะ   1. L-arginine https://prf.hn/l/rGE3kxZ https://prf.hn/l/7AvPzGd  2. L-Citrulline https://prf.hn/l/78YlvXX  3. Alpha lipoic acid https://prf.hn/l/KzyLMmW  4. Pomegranate extract https://prf.hn/l/7083ak1  5. Pycnogenol https://prf.hn/l/708mPkl  6. Omega-3 https://prf.hn/l/rpOz1Dv  7. Chromium https://prf.hn/l/7Av4mGn  8. Co Q10 https://prf.hn/l/rGEVZxo2021-07-171h 04FatoutkeyFatoutkeyไนตริก ออกไซด์ โมเลกุลส่งสัญญาณที่สำคัญที่สุดต่อระบบหลอดเลือดหัวใจ ตอนที่ 2/3ไนตริกออกไซด์ โมเลกุลส่งสัญญาณที่สำคัญที่สุดในระบบหลอดเลือดหัวใจ (ตอนที่ 2/3)  วันนี้ เราจะมาคุยกันต่อว่า  1. มีสาเหตุอะไรบ้าง ที่ทำให้เซลล์บุผนังหลอดเลือดชั้นใน ที่เรียกว่า Endothelium นี้เสียหาย ทำหน้าที่สำคัญในการสร้างไนตริกออกไซด์ได้ไม่สมบูรณ์ 2. ผลกระทบต่อสุขภาพ 4 ประการที่เกิดจาก เซลล์บุผนังหลอดเลือดชั้นในเสียหายคืออะไร   เชิญฟังได้เลยค่ะ2021-07-0142 minFatoutkeyFatoutkeyไนตริก ออกไซด์ โมเลกุลส่งสัญญาณที่สำคัญที่สุดต่อระบบหลอดเลือดหัวใจ ตอนที่ 1/3Nitric Oxide “Molecule of the year” จากการคัดเลือกของ American Association for the Advancement of Science (AAAS) ในปี พ.ศ.2535   🧪 ก่อนที่จะมีการค้นพบไนตริกออกไซด์ จนนำไปสู่การได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี 2541 นั้น ยังมีความเข้าใจผิดเป็นส่วนใหญ่ว่า ไนตริกออกไซด์คือก๊าซพิษสีน้ำตาลเข้ม (ไนโตรเจนไดออกไซด์) ซึ่งเป็นมลภาวะที่เกิดจากการเผาไหม้ไนโตรเจนในเครื่องยนต์ หรือสับสนว่าคือ ไนตรัสออกไซด์ ที่เรารู้จักกันว่าคือ ก๊าซหัวเราะ  🔬 จากนั้น เป็นช่วงเวลา 20 ปี (ยุค 70’s ถึง 80’s) ที่นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน 3 คนคือ Robert Furchgott (SUNY- Brooklyn), Ferid Murad (University of Texas Medical School), and Louis Ignarro (UCLA) ได้ต่างคนต่างศึกษาและพบว่า ไนตริกออกไซด์มีบทบาททางสรีรวิทยาที่สำคัญต่อร่างกายนานัปการ โดยเฉพาะต่อการขยายหรือหดตัวของหลอดเลือด  📍 จนในปี พ.ศ. 2535 มีการค้นพบที่สำคัญมากว่า ไนตริกออกไซด์เป็นโมเลกุลส่งสัญญาณหลักที่ทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัว สามเดือนถัดมา นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกลงคะแนนให้ไนตริกออกไซด์ได้รับเลือกเป็น “Molecule of the year” ผ่าน The American Association for the Advancement of Science (AAAS) ซึ่งเป็นสมาคมสนับสนุนความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก อายุ 173 ปี มีสมาชิกทั่วโลกมากกว่า 120,000 คน และเป็นผู้ตีพิมพ์วารสาร Science ที่ทรงคุณค่า   🧪 ไนตริกออกไซด์ ยังมีความน่าสนใจเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของมันที่มีต่อทุกอวัยวะในร่างกายให้เราได้ศึกษาอีกมากมาย  💻 ไลฟ์ # 26 ไนตริก ออกไซด์ โมเลกุลส่งสัญญาณที่สำคัญที่สุดต่อระบบหลอดเลือดหัวใจ (ตอนที่ 1/3) มาทำความเข้าใจกันว่า 1. ไนตริก ออกไซด์ โมเลกุลส่งสัญญาณที่สำคัญที่สุดสำหรับสุขภาพระบบหลอดเลือดหัวใจ คืออะไร สร้างขึ้นที่ไหนในร่างกาย 2. Endothelium : อวัยวะที่ไม่เป็นที่รู้จักนี้คืออะไร 3. Endothelium ทำหน้าที่สำคัญอย่างไรต่อหลอดเลือด 2021-07-0154 minFatoutkeyFatoutkeyFasting ส่งผลกระทบต่อประชากรจุลินทรีย์ทางเดินอาหารอย่างไร?Fasting ส่งผลกระทบต่อประชากรจุลินทรีย์ทางเดินอาหารอย่างไร   ⏰ Fasting มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไรนั้น พี่ปุ๋มเคยทำไลฟ์สรุปงานวิจัยเรื่อง Effects of Intermittent Fasting on Health, Aging, and Disease โดย Rafael de Cabo, Ph.D., and Mark P. Mattson, Ph.D. ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ New England Journal of Medicine เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2563 ไปแล้ว   ❓คำถามที่น่าสนใจคือ ประชากรจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารของเรา ซึ่งตั้งแต่ปี 2555 เมื่อ Human Microbiome Genome Project เสร็จสิ้นในเฟสแรก ทำให้นักวิทยาศาสตร์เริ่มเข้าใจบทบาทของมันต่อสุขภาพมนุษย์เพิ่มขึ้นนั้น จะได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง เมื่อมนุษย์ Fasting    📌 มาฟังสรุปงานวิจัย 3 ฉบับหลัก+งานวิจัยรองในวิดีโอนี้ เพื่อความกระจ่างกันค่ะ2021-05-211h 08FatoutkeyFatoutkeyThe Mind-Gut Connection “สมอง-จิต-ทางเดินอาหาร ความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวของมนุษย์” ตอนที่ 1ฟังย้อนหลังพี่ปุ๋ม Live#23 The Mind-Gut Connection “สมอง-จิต-ทางเดินอาหาร ความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวของมนุษย์” ตอนที่ 1 ในไลฟ์ # 23 นี้ พี่จะสรุปหนังสือดีชื่อ Mind Gut Connection โดย Prof. Emeran A. Mayor (ตอนที่ 1)  เนื้อหา 1. ร่างกายเป็นซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ และ Superorganism ที่ชาญฉลาด 2. สมองสื่อสารกับทางเดินอาหารได้อย่างไร 3. ทางเดินอาหารสื่อสารกับสมองอย่างไร 4. จิต (อารมณ์) เชื่อมโยงกับทางเดินอาหารจริงหรือ2021-03-241h 17FatoutkeyFatoutkeyกระตุ้นเส้นประสาทเวกัสเพื่อสุขภาวะของร่างกาย (ตอนจบ)ในตอนจบ พี่จะสรุปต่อว่า 1. การทำงานที่ไม่สมดุลของเส้นประสาทเวกัส นำไปสู่ความไม่ “Well being”อะไรบ้าง 2. วิธีวัดการทำงานของเส้นประสาทเวกัส 4 แบบ 3. กิจกรรมที่จะช่วยกระตุ้นเส้นประสาทเวกัส2021-03-151h 09FatoutkeyFatoutkeyกระตุ้นเส้นประสาทเวกัสเพื่อสุขภาวะของร่างกาย (ตอนที่ 1)เส้นประสาทเวกัส เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทอัตโมัติพาราซิมพาเทติก มีบทบาทสำคัญที่ถูกมองข้ามต่อ "Well Being" ของร่างกาย ในไลฟ์ #21 ตอนที่ 1 เรามาทำความรู้จัก  1. ระบบประสาทของมนุษย์ 2. ระบบประสาทอัตโนมัติ 3. เส้นประสาทเวกัส ตำแหน่งที่ตั้ง 4. หน้าที่สำคัญของเส้นประสาทเวกัส 5. เส้นประสาทเวกัสจัดการสมดุลร่างกายอย่างไร2021-03-131h 11FatoutkeyFatoutkeyFiber Fueled ใยอาหารสำคัญต่อความมีสุขภาพกายใจที่ดีอย่างไร ตอนจบกินแบบ F GOALS เพื่อชีวิต (จุลินทรีย์) ที่ดีกว่า ความหลากหลายของใยอาหารสำคัญต่อสุขภาพอย่างไร (ตอนจบ)  1. กรดไขมันสายสั้น ส่งผลต่อสุขภาพ 5 ระบบ อย่างไร  2. กินใยอาหารหลากสีแบบ F GOALS เพื่อความหลากหลายของประชากรจุลินทรีย์  3. ตัวอย่างเมนูอาหารแบบ “Microbiome Diet Recipes”2021-03-0353 minFatoutkeyFatoutkeyFiber Fueled ใยอาหารสำคัญต่อความมีสุขภาพกายใจที่ดีอย่างไร ตอนที่ 1ใยอาหารมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร พี่ปุ๋มเชื่อว่าน้องๆทุกคนเคยได้รับข้อมูลจากสื่อต่างๆมาแล้วมากมาย  ในไลฟ์ #19 นี้ พี่อยากจะพูดถึงแง่มุมของใยอาหารที่ไม่ได้มีประโยชน์ต่อมนุษย์โดยตรง แต่ที่แท้จริงแล้ว ใยอาหารมีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตทีอยู่ร่วมกับเราตั้งแต่เกิดจนตาย และมีสัดส่วน 9 ต่อ 1 เมื่อเทียบกับจำนวนเซลล์ของร่างกาย ประชากรจุลินทรีย์นั่นเอง จากนั้นโพสต์ไบโอติกที่ประชากรจุลินทรีย์ผลิต จึงส่งผลต่อสุขภาพ 5 ประการ   ในไลฟ์ #19 พี่จะสรุปข้อมูลดีจากหนังสือชื่อ Fiber Fueled : The Plant-Based Gut Health Program for Losing Weight, Restoring Health, and Optimizing Your Microbiome  1. เครื่องจักรชีวภาพที่ขับเคลื่อนสุขภาพที่อยู่ร่วมกับมนุษย์คืออะไร  2. กรดไขมันสายสั้น กับ ความมีสุขภาพดี 5 ประการ  3. โพสต์ไบโอติกคืออะไร  4. F GOALS โปรแกรมอาหารแบบ Fiber Fueled 4 สัปดาห์2021-03-0250 minFatoutkeyFatoutkeyสรุปหนังสือ Stronger by Stress โดย Siim Land กระบวนการเติมเมธิลกรุ๊ปบน DNA และการรักษาตับให้แข็งแรงตอนนี้ ต่อเนื่องจากไลฟ์ # 17 เกี่ยวกับกระบวนการเติมเมธิลกรุ๊ปบน DNA ในตอนนี้ เราจะมาทำความเข้าใจว่า   1. อาหารประเภทใดบ้าง ที่เต็มไปด้วยเมธิลกรุ๊ป ที่พร้อมจะบริจาคให้เซลล์ได้ (Methyl donors)  2. เนื่องจากตับเป็นอวัยวะที่มีการเกิด Methylation process มากที่สุด เราจึงควรรู้ว่าตับมีหน้าที่อะไรบ้าง และจะรักษาตับให้แข็งแรงได้อย่างไร  3. สารพิษที่เราควรหลีกเลี่ยง เพราะสามารถสร้างความเสียหายให้ตับได้ มีอะไรบ้าง2021-02-231h 01FatoutkeyFatoutkeyสรุปหนังสือ Stonger by Stress ตอน Epigenetics และ DNA Methylationตอนนี้น้องๆจะได้ฟังข้อมูลเกี่ยวกับ   1. พันธุศาสตร์ด้านกระบวนการเหนือยีน (Epigenetic) คืออะไร สำคัญอย่างไร  2. DNA Methylation หนึ่งในสาม Epigenetic patterns  3. MTHFR Gene ทำหน้าที่อะไร และมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร  4. ปัจจัยที่ทำให้ Methylation process บกพร่อง (มีอวัยวะหนึ่ง ที่สำคัญที่สุดต่อกระบวนการนี้)  5. วิธีรักษากระบวนการเติมเมธิลกรุ๊ป (Methylation Process) ให้เหมาะสมตลอดอายุขัย2021-02-231h 06FatoutkeyFatoutkeyสรุป Stronger By Stress ตอนที่ 3 บทที่ 11 เรื่อง “Of NAD+ and Methylation”ตั้งแต่พี่ปุ๋มทำวิดีโอ 4 ตอน สรุปหนังสือ Lifespan โดย Prof.David Sinclair ไปเมื่อต้นปี 2563 พี่ก็เก็บสะสมข้อมูลเกี่ยวกับ NAD+ และกระบวนการ Methylation ซึ่ง Sinclair บอกว่าเป็นกระบวนการ epigenetic ที่สำคัญมาก คล้ายกับการเติมสนิมเหล็กบน DNA ทำให้เกิดความชราของเซลล์ พี่เลยขอเวลาอ่านทั้งหนังสือ Stronger By Stress กับงานวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการเติม Methylation บน DNA ที่เก็บไว้เยอะ และต้องการเวลาทำสไลด์หน่อยค่ะ  ในตอนนี้พี่ปุ๋มสรุปหัวข้อไว้ 4 เรื่องดังนี้ก่อนค่ะ 1. NAD+ (Nicotinamide Adenine Dinucleotide) คืออะไร  2. NAD+ สำคัญต่อร่างกายอย่างไร 3. กระบวนการสร้าง NAD+ มีกี่วิธี  4. วิธีเพิ่ม NAD+2021-02-1554 minFatoutkeyFatoutkeyฟังย้อนหลังไลฟ์ #13 พบกับคำตอบว่า “ทำไมถ้าเรามีเครื่องย้อนเวลา มันน่าจะเป็นโปรแกรมการลดน้ำหนักที่ดีที่สุด”มาสืบสวนเรื่องนี้ผ่านงานวิจัยกันว่า ทำไม ถ้ามีเครื่องย้อนเวลา มันอาจจะเป็นโปรแกรมลดน้ำหนักที่ดีที่สุดในโลก ถ้าเรามีเครื่องย้อนเวลาจริง เราจะ... 1. ย้อนกลับไปช่วงเวลาไหน 2. ความแตกต่างสำคัญในช่วงเวลานั้น vs ยุคปัจจุบัน ที่ทำให้น้ำหนักลดได้เองอย่างง่ายดาย 3. ในยุคนั้น มีคนอ้วนไหม มีได้อย่างไร เพราะอะไรคนอ้วนยุคนั้นถึงไม่กังวลใจเรื่องความอ้วน ความเข้าใจเรื่องระบบตั้งค่าน้ำหนักร่างกายที่ถูกต้อง จะทำให้เรายอมรับข้อเท็จจริง และตั้งเป้าหมายการมีสุขภาพดีอย่างเป็นองค์รวม มากกว่ามุ่งแต่ตัวเลขบนเครื่องชั่งน้ำหนักค่ะ2021-01-171h 08FatoutkeyFatoutkeyสรุปหนังสือ Stronger By Stress ของ Siim Land ตอนที่ 2/1สรุปหนังสือ Stronger By Stress ตอนที่ 2 Mitohormesis and Autophagy มาทำความเข้าใจว่า 1. Longevity Pathways มีอะไรบ้าง 2. ทฤษฏีความชราจากความเสื่อมของไมโตคอนเดรีย 3. วงจรชีวิตของไมโตคอนเดรีย เกี่ยวข้องกับความเครียดอย่างไร 4. วิธีสร้างวงจรชีวิตของไมโตคอนเดรียที่สมดุลผ่าน Hormesis ต่อไมโตคอนเดรีย พี่วางลิงค์โพสต์ที่ถอดบทสัมภาษณ์ Dr.Martin Picard เรื่องไมโตคอนเดรีย 3 ตอน ไว้ให้ด้วยนะคะ ดีมากๆเลยค่ะ ตอนที่ 1 https://fatoutkey.com/ไมโตคอนเดรีย-ep1/ ตอนที่ 2 https://fatoutkey.com/ไมโตคอนเดรีย-ep2/ ตอนที่ 32020-12-201h 16FatoutkeyFatoutkey6 ความเชื่อที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับอินซูลิน (ตอนสุดท้าย) 🎥 มาแล้วค่ะ ตอนสุดท้ายของ 6 ความเชื่อที่เราเข้าใจผิดเกี่ยวกับอินซูลิน  ในตอนนี้ พี่สรุป 2 ความเชื่อที่เหลือคือ 5. คาร์โบไฮเดรตเป็น macronutrient ตัวเดียวที่รับผิดชอบในการกระตุ้นฮอร์โมนอินซูลิน 6. Insulin spike ไม่ดีต่อร่างกาย   👩‍🏫 ในที่สุด series 6 ความเชื่อที่เราเข้าใจผิดเกี่ยวกับฮอร์โมนอินซูลิน 3 ตอน ก็จบลงได้ด้วยดี พร้อมกับพี่ต้องไปตัดแว่นสายตาใหม่เร็วๆนี้ 😆  การทำ vdo series นี้ มีคุณูปการกับพี่มาก ทำให้พี่ได้ค้นหางานวิจัยดีๆมาอ่าน จากงานวิจัยฉบับหนึ่งก็นำไปสู่การรู้จักนักวิจัยที่เชี่ยวชาญคนอื่นๆในสาขานั้น หรือข้ามไปรู้จักผู้เชี่ยวชาญในสาขาอื่นที่เกี่ยวกับ energy homeostasis โดยเฉพาะในสาขา Hedonic Eating เป็นผลพลอยได้ที่ดีมากเลยค่ะ   🥰 ขอบคุณน้องๆทุกคนที่ติดตาม เป็นกำลังใจให้พี่ปุ๋ม พี่ตุ้น พี่เมี่ยง มาตลอดระยะเวลาเกือบ 3 ปีนะคะ เราทั้ง 3 คน ซาบซึ้งใจมากค่ะ  ขอความมีสุขภาพกายใจที่ดี จงสถิตเป็นทรัพย์สินที่มั่งคั่งสำหรับทุกคน ❤️2020-12-1035 minFatoutkeyFatoutkey6 ความเชื่อที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับอินซูลิน (ตอนที่ 2)ตอนที่ 2 มาแล้วค่ะ ไม่รู้ว่าน้องๆจะหัวบวมเพิ่มขึ้นกันหรือเปล่า 😍 พี่พูดอย่างเมามัน    ในตอนที่ 2 พี่อธิบายความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอินซูลินอีก 2 ข้อคือ   3. กินคาร์โบไฮเดรตสูง จะทำให้ระดับอินซูลินสูงเรื้อรัง แล้วก็เก็บสะสมเป็นไขมัน ทำให้เราอ้วน (Carbohydrate-Insulin Obesity Model) จริงหรือ  4. อินซูลินทำให้เราหิว   👩‍🏫 พี่พยายามอธิบายอย่างดีที่สุดนะคะ ทราบดีว่า มันไม่ได้ง่ายนักในการทำความเข้าใจกระบวนการทางสรีรวิทยาของร่างกาย ลองฟังหลายๆครั้ง และถ้ามีคำถามอะไร ก็เขียนไว้ในคอมเมนท์เลยค่ะ พี่จะพยายามหาข้อมูลมาตอบนะคะ  ส่วนในตอนสุดท้าย   5. คาร์โบไฮเดรตเป็น macronutrient เพียวตัวเดียว ที่กระตุ้นอินซูลินได้ดีที่สุด 6. อินซูลิน “spike” ไม่ดีต่อร่างกาย     ขอความมีสุขภาพกายใจที่ดี จงสถิตเป็นทรัพย์สินที่มั่งคั่งสำหรับทุกคน ❤️  #FatoutHealthspans​ #DemythifyCarbInsulinObesityModel​ 2020-12-0453 minFatoutkeyFatoutkey6 ความเชื่อที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับฮอร์โมนอินซูลิน ตอนที่ 13 ปีที่แล้วพี่ปุ๋มเป็นคนหนึ่งที่เชื่อสุดใจกับ Carbohydrate-Insulin Obesity Model (CIM) ที่กล่าวว่า  “สาเหตุหลักของความอ้วนเกิดจาก ความสามารถของคาร์โบไฮเดรตที่กระตุ้นการหลั่งอินซูลินเพิ่ม ซึ่งทำให้เพิ่มการสะสมกลูโคสไปเป็นไขมันในเนื้อเยื่อไขมัน และทำให้มีกลูโคสและกรดไขมันไหลเวียนในกระแสเลือดน้อยลง ทำให้เราขาดแคลนวัตถุดิบในการสร้างพลังงาน เราจึงหิวบ่อย” 📃 จนพี่ได้มีโอกาสอ่านงานวิจัยฉบับแรกที่ทำให้พี่ตาสว่างชื่อ “Insulin : Understand its action in health and disease” โดย P. Sonksen ตีพิมพ์ใน Br J Anaesth 2000; 85: 69-79 งานวิจัยฉบับนั้นทำให้พี่รู้จัก Sir Edward Schafer ผู้ซึ่งตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับหน้าที่หลักของอินซูลินได้อย่างถูกต้อง ตั้งแต่เมื่อประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา และเกิดอะไรขึ้นใน “ยุคมืด” ของวงการ Endocrinology ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1960-1980 ที่ทำให้มีการ “ตีความ” หน้าที่ของอินซูลิน ผิดไปจากสมมุติฐานของ Sir Edward Schafer และกลายเป็นความเข้าใจว่า เซลล์ “ต้องการ” อินซูลิน จึงจะสามารถนำกลูโคสเข้าไปในเซลล์ได้ และความเข้าใจนี้ก็ปรากฎอยู่ใน textbooks และความเข้าใจของคนทั่วไปมาตลอดจนถึงบัดนี้ รวมถึงตัวพี่ปุ๋มเองในอดีตด้วย 💻 จากนั้นพี่ก็เริ่มควานหาข้อมูลที่โต้แย้ง Carbohydrate-Insulin Obesity Model ทำให้ได้รู้จักกับนักวิจัยในสาขา Obesity, Neuroendocrinology คนสำคัญมากมาย ทำให้พี่เริ่มเข้าใจอินซูลินมากขึ้น (ยังมีอีกเยอะที่ต้องศึกษา) เลยอยากเขียน ความเชื่อที่ผิด 6 ประการสำคัญเกี่ยวกับอินซูลิน (Sir Edward Schafer พอใจที่จะเรียก อินซูลิน ว่า “Autacoid” ”Chalone” มากกว่า ฮอร์โมนด้วยซ้ำ) โดยมีงานวิจัยประกอบ เป็นงานช้างเลยทีเดียวค่ะ ประโยชน์ที่เชื่อว่าน้องๆจะได้รับคือ  1. เข้าใจบทบาทที่แท้จริงของอินซูลิน ที่มีคุณูปการต่อร่างกาย  2. เข้าใจข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับฮอร์โมนอินซูลินกับระบบควบคุมภาวะธำรงดุลของร่างกาย (ความอ้วนนี่แหละ) 3. ไม่ freak out กลัว คาร์โบไฮเดรต กลัวอินซูลินแบบไม่มีเหตุผล  4. เลือกไดเอ็ทที่จะใช้ลดน้ำหนักได้อย่างเหมาะสมกับตัวเอง โดยไม่ติดอยู่กับไดเอ็ทกลุ่มคาร์โบไฮเดรตต่ำแต่เพียงอย่างเดียว ใน vdo ตอนที่ 1 ความยาวเกือบ 50 นาที สรุปความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอินซูลิน 2 ข้อแรกก่อนคือ 1. เซลล์ ต้องการ อินซูลินในการนำพากลูโคสเข้าเซลล์ จริงหรือไม่ 2. คาร์โบไฮเดรตกระตุ้นอินซูลิน เกิดการสะสมเป็นไขมัน จึงทำให้อ้วน จริงหรือไม่ พี่อ้างอิงงานวิจัยของ Prof.Sonksen ชื่อ Insulin : Understand Its Action in health and disease เป็นหลัก และเสริมด้วยงานวิจัยฉบับอื่นๆ 🥰 เชิญติดตามชมได้เลยค่ะ2020-12-0243 minFatoutkeyFatoutkeyสรุปหนังสือ Stronger By Stress ของ Siim Land ตอนที่ 1สรุปหนังสือ Stronger By Stress ของ Siim Land ตอนที่ 1  น้องๆจะได้ข้อมูลว่า  1. ร่างกายมีกระบวนการปรับตัวเพื่อตอบสนองความเครียดอย่างไร  2. General Adaptation Syndrome คืออะไร มีกี่ระยะ  3. ตัวก่อความเครียดให้ร่างกาย 11 ประเภท มีอะไรบ้าง  4. Hormesis หมายถึงอะไร มีประโยชน์อะไรต่อร่างกาย   #fatoutkey #FatoutHealthspans2020-11-231h 15FatoutkeyFatoutkeyBone Broth Breakthrough โบนบรอธ มหัศจรรย์ของเหลวสีทอง ทำไมต้องดื่มทุกวันรีรัน ไลฟ์ # 10 Bone Broth Breakthrough โบนบรอธ มหัศจรรย์ของเหลวสีทอง ทำไมต้องดื่มทุกวัน   🎉 อย่าพลาดโปรโมชั่น iFast Bone Broth ท้ายคลิปนะคะ   เพื่มเพื่อนกับ Line OA : @fatoutkey รับทันที 20 คะแนน แลกรับฟรีโบนบรอธ 1 ถุง  กดตาม link นี้  https://lin.ee/yGOfaie  แล้วกดรับ Reward Card ที่ปุ่มเมนูจะได้รับ 20 คะแนนทันที   ส่วนลูกค้าเก่า กรุณาแจ้งข้อความขอคะแนนกับแอดมินค่ะ ทุกๆยอดสั่ง 1 ถุง รับคะแนน 1 คะแนน สะสมครบ 20 คะแนนแลกรับทันที 1 ถุงฟรีค่ะ   📙 จากเดิมที่จะใช้ข้อมูลจากหนังสือเล่มเดียวคือ Bone BrothBreakthrough กลายเป็นอ่านเพิ่มเป็น 3 เล่ม บวกบทความเรื่อง Bone Broth อีกจำนวนหนึ่ง กลั่นเอาแต่ข้อมูลสำคัญออกมาว่า  1. สารอาหารสำคัญใน Bone Broth 6 ชนิด มีอะไรบ้าง  2. กรดอะมิโนสำคัญ 4 ชนิดใน Bone Broth   3. คอลลาเจนที่พบใน Bone Broth   4. Bone Broth มีประโยชน์ใดต่อต่อสุขภาพบ้าง    📌 สรุปข้อมูลและประโยชน์ต่อสุขภาพของ Bone Broth จากหนังสือดี Bone Broth Breakthrough โดย Dr.Josh Axe สมกับได้ชื่อว่าเป็น Liquid Gold Miracle   📌 ตั้งแต่พี่เริ่มเปิดเพจเมื่อ 3 ปีที่แล้ว พี่ก็เริ่มนำข้อมูลเกี่ยวกับ Bone Broth มาเขียนโพสต์หลายครั้ง เก็บสะสมงานวิจัยเกี่ยวกับ Bone Broth และคอลลาเจน และหนังสือดีที่เกี่ยวกับ Bone Broth ไว้จำนวนมาก เล่มหนึ่งที่ดีมากคือ Nourishing Broth โดย Sally Fallon และ Kaayla T. Daniel ซึ่งพี่ได้เขียนโพสต์สรุปไว้ 3 ตอน เมื่อสัก 2 ปีที่แล้ว ลองเข้าไปหาอ่านในเว็บไซต์ดูนะคะ  🍲 จนพี่ตัดสินใจผลิต Bone Broth แบรนด์ I-Fast ออกมาเป็นทางเลือกสำหรับคนที่ไม่มีเวลาทำ Bone Broth ไว้ดื่มเอง ซึ่งก็ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี จาก Chicken Bone Broth ตอนนี้เพิ่ม Pork Bone Broth ออกมาอีก 1 และกำลังอยู่ในระหว่างพัฒนาอีก 1 รสชาติ    #iFast #BoneBroth #โบนบรอธ2020-11-151h 15FatoutkeyFatoutkeyสรุปหนังสือดี "Breath : The New Science of a Lost Art By James Nestor (ตอนจบ)ไลฟ์ #9 สรุปหนังสือดี Breath : The New Science of a Lost Art (ตอนจบ)   1. วิธีหายใจที่ส่งเสริมสุขภาพ มีลักษณะแบบใด  2. มารู้จักวิธีหายใจแบบ Tummo, Sudarchan Kriya, Pranayama และ Wim Hof  3. มาลองฝึกหายใจแบบ Pranayama กันค่ะ   พี่วางลิงค์ฝึกการหายใจที่ ที่เป็น day to day basic ดีไว้ให้น้องๆได้ฝึกกันนะคะ  1. Basic การหายใจ https://youtu.be/N7znaaaRs4c 2. Guided Breathing Meditation for Sleep and Deep Relaxation https://youtu.be/Bia13GZZfGg2020-10-2757 minFatoutkeyFatoutkeyสรุปหนังสือดี "Breath : The New Science of a Lost Art By James Nestorคลิปย้อนหลัง Live#8 สรุปหนังสือดี "Breath : The New Science of a Lost Art  By James Nestor มาเรียนรู้วิธีการหายใจที่ถูกต้อง เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพที่ดี และการมีอายุยืนยาว2020-10-261h 07FatoutkeyFatoutkeyอาหารประเภทใดบ้างใน 35 ชนิด ที่อาจทำให้คุณเสพติดไลฟ์ #7 สรุปงานวิจัย Which foods may be addictive?  The Roles of Processing, Fat Content, and Glycemic Load  อาหารประเภทใดบ้างใน 35 ชนิด ที่อาจทำให้คุณเสพติด Link  งานวิจัยฉบับเต็ม https://journals.plos.org/plosone/art...Link Yale Food Addiction Scale https://www.centrahealth.com/.../yale......2020-10-2059 minFatoutkeyFatoutkey8 สัญญาณที่บ่งบอกว่าเรากำลังเสพติดอาหาร EP2ฟังย้อนหลัง Happy&Healthy FM102 " 8 สัญญาณที่บ่งบอกว่าเรากำลังเสพติดอาหาร EP2"2020-10-1724 minFatoutkeyFatoutkeyคลิปย้อนหลัง พี่ปุ๋ม Live#6 ดัชนีความอิ่ม ประสิทธิภาพในการช่วยลดน้ำหนักดัชนีความอิ่มคืออะไร เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อการลดน้ำหนักอย่างไร มาฟังกันได้จากไลฟ์ #6 นี้กันค่ะ พี่วางลิงค์เรื่อง Satiety Index ที่เรียกว่า Fullness Factor ไว้ให้น้องๆที่สนใจได้อ่านกันด้วยค่ะ https://nutritiondata.self.com/topics/fullness-factor2020-10-1352 minFatoutkeyFatoutkey8 สัญญาณที่บ่งบอกว่าเรากำลังเสพติดอาหาร EP1พี่ปุ๋มได้ไปพูดคุยเรื่อง 8 สัญญาณการเสพติดอาหารที่รายการ Happy & Healthy ทาง FM 102 MHz ประมาณ 25 นาทีค่ะ ใครที่อยากจะฟังซ้ำอีก 1 รอบ แทนการอ่านบทความ เชิญได้เลยค่ะ2020-10-1023 minFatoutkeyFatoutkey“เทียบแคลอรี่ต่อแคลอรี่กันแล้ว ไดเอ็ทที่จำกัดไขมัน ลดปริมาณไขมันร่างกาย ได้มากกว่าไดเอ็ทที่จำกัดคาร์บ”งานวิจัย “Calorie for calorie, dietary fat restriction results in more body fat loss than carbohydrate restriction in people with obesity” โดย Prof.Kevin Hall และคณะ  งานวิจัยฉบับนี้ นอกจากจะให้ข้อมูลที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อของเราว่า ไดเอ็ทที่มีการจำกัดคาร์บ สามารถลดไขมันได้มากกว่าไดเอ็ทที่มีการจำกัดไขมันแล้ว งานวิจัยฉบับนี้ยังมีคุณลักษณะของงานวิจัยที่มีคุณภาพ 12 ประการ มีอะไรบ้างมาฟังกันค่ะ งานวิจัยฉบับเต็ม https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4603544/2020-10-0546 minFatoutkeyFatoutkeyเรื่องใหญ่ที่สำคัญยิ่ง ซึ่งผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักเกือบทุกคน ทำผิดพลาดเมื่อคิดจะลดน้ำหนัก เราเริ่มต้นทำอะไรกันบ้างคะ...วางแผนเลือกไดเอ็ทจะเป็น Low Carb, Low Fat, Paleo, Keto etc จากนั้นก็ วางแผนออกกำลังกาย จะ aerobic กี่วัน ยกเวทกี่วัน คุ้นๆไหมคะ  ไลฟ์นี้ จะพาพวกเราไปเข้าใจเรื่องสำคัญที่เราควรทำก่อนเรื่องทั้งหมด....คิดไม่ถึงกันเลยค่ะ2020-09-301h 13FatoutkeyFatoutkeyสรุปงานวิจัย “Effect of 4-h and 6-h Time Restricted Feeding on Weight and Cardiometabolic Health”สรุปงานวิจัย  “Effect of 4-h and 6-h Time Restricted Feeding on Weight and Cardiometabolic Health” ตีพิมพ์ในวารสาร Cell Metabolism เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2563  มือใหม่หัดใช้ Streamyard ส่งข้อรัองเรียนเรื่องความไม่เสถียรไปที่ streamyard เขาตอบทางแก้กลับมาทันที พรุ่งนี้พี่ถอยตัวเพิ่มแรง router ทันที 555 ครั้งหน้า ไลฟ์ปังแน่นอนค่ะ คืนนี้ขอโทษด้วยนะ2020-09-1446 minFatoutkeyFatoutkeyKrill Oil ต่างจาก Fish Oil อย่างไรKrill Oil ต่างจาก Fish Oil อย่างไร มาแล้วค่ะ vdo ที่พี่ปุ๋มจะอธิบายให้น้องๆเข้าใจว่า 1. Krill คืออะไร แหล่ง Krill ที่ให้ Krill Oil ที่มีคุณภาพดีที่สุดคือจากที่ไหน 2. ความแตกต่างของ กรดไขมัน Omega-3 ที่ได้จาก Krill Oil แตกต่างจาก Fish Oil อย่างไร 3. วิธีเลือก Krill Oil ที่มีคุณภาพ ขนาดรับประทาน Krill Oil เพื่อรักษาสุขภาพ และเพื่อร่วมรักษาโรค วิธีเก็บรักษา Krill Oil ในลิงค์จากแหล่งข้อมูลที่ 1 พี่อยากให้น้องๆดู vdo แสดงการละลายของ Krill Oil เปรียบเทียบกับ Fish Oil ดูค่ะ จะพบว่า Krill Oil ละลายน้ำได้ดีกว่า Fish Oil มากค่ะ แหล่งข้อมูล 1. https://www.superbakrill.com/what-is-krill-oil?hsCtaTracking=3cdd9c1b-faa2-44c4-a557-1dfa6a9a1be5%7Ca16ddbad-c85d-4c0b-882d-f2dec63a88a9 Reference งานวิจัย 2. Astaxanthin the King of antioxidants Nishida Y, Yamashita E, Miki W, et al. Quenching activities of common hydrophilic and lipophilic antioxidants against singlet oxygen using chemiluminescence detection system. Carotenoid Science. 2007 Jan;11(6):16-20. 3. Choline กับการลดไขมันพอกตับ Corbin KD, Zeisel SH. Choline metabolism provides novel insights into nonalcoholic fatty liver disease and its progression. Curr Opin Gastroenterol. 2012 Mar;28(2):159-65. 4. Mfsd2A transport molecule Nguyen LN, Ma D, Shui G, et al. Mfsd2a is a transporter for the essential omega-3 fatty acid docosahexaenoic acid. Nature. 2014 May 22;509(7501):503-6. 2020-01-2019 minFatoutkeyFatoutkey6 วิธี และ 5 สารสำคัญจากอาหาร ที่กระตุ้นวิถี Nrf2 เพื่อส่งเสริมระบบต้านอนุมูลอิสระสำคัญในร่างกาย (ตอนจบ)ระบบสร้างสารต้านอนุมูลอิสระภายในที่มีประสิทธิภาพ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาเสถียรภาพของร่างกาย (State of homeostasis)  การรับประทานสารต้านอนุมูลอิสระเข้าไป ไม่ดีเท่าการที่ร่างกายสร้างสารต้านอนุมูอิสระภายในได้เองอย่างมีประสิทธิภาพ ในตอนที่ 1 พี่สรุปกับวิถีทางพันธุกรรมที่สำคัญยิ่งชื่อ Nrf2 ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นยีนที่เกี่ยวข้องมากกว่า 600 ชนิดบน DNA ซึ่งควบคุมการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ และเอนไซม์ที่ใช้ทำลายสารพิษ ในโพสต์ตอนจบนี้ เรามาเรียนรู้ 6 วิธี กับ 5 สารสำคัญจากอาหาร ที่สามารถกระตุ้นวิถีทางพันธุกรรมที่ชื่อ Nrf2 ได้ ติดตามอ่านตอนจบ ฟังไฟล์เสียงทั้ง 2 ตอน กันได้เลยค่ะ2019-11-3018 minFatoutkeyFatoutkey6 วิธี และ 5 สารสำคัญจากอาหาร ที่กระตุ้นวิถี Nrf2 เพื่อส่งเสริมระบบต้านอนุมูลอิสระสำคัญในร่างกาย (ตอนที่ 1)ระบบสร้างสารต้านอนุมูลอิสระภายในที่มีประสิทธิภาพ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาเสถียรภาพของร่างกาย (State of homeostasis)  การรับประทานสารต้านอนุมูลอิสระเข้าไป ไม่ดีเท่าการที่ร่างกายสร้างสารต้านอนุมูอิสระภายในได้เองอย่างมีประสิทธิภาพ 2019-11-3027 minFatoutkeyFatoutkeyเมลาโทนิน : ฮอร์โมนแห่งการนอนหลับ หรือ ฮอร์โมนเฉพาะที่แท้จริงสำหรับไมโตคอนเดรียกันแน่ (ตอนจบ)เมลาโทนิน : ฮอร์โมนแห่งการนอนหลับ หรือ ฮอร์โมนเฉพาะที่แท้จริงสำหรับไมโตคอนเดรียกันแน่ (ตอนจบ)2019-11-1823 minFatoutkeyFatoutkeyเมลาโทนิน : ฮอร์โมนแห่งการนอนหลับ หรือ ฮอร์โมนเฉพาะที่แท้จริงสำหรับไมโตคอนเดรียกันแน่ (ตอนที่ 1)เมลาโทนิน : ฮอร์โมนแห่งการนอนหลับ หรือ ฮอร์โมนเฉพาะที่แท้จริงสำหรับไมโตคอนเดรียกันแน่ (ตอนที่ 1)2019-11-1823 minFatoutkeyFatoutkeyFat Turnover ทำไมเมื่ออายุเพิ่มต้องกินน้อยลง (Spotify System Test)📣ขออนุญาติ ลง Podcast ตอนนี้ซ้ำเพื่อเป็นการทดสอบระบบค่ะ เนื่องจาก Podcast ตอนนี้ไม่โชว์ใน Spotify ในการ Publish ครั้งก่อนค่ะ ------- 📣เคยสงสัย หรือหงุดหงิดใจกันไหมคะว่า ทำไมพออายุเพิ่มขึ้น แค่กินเท่าเดิม มีกิจกรรมทางกายเหมือนเดิม แต่ทำไมน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ทุกปี ✅ บทความนี้เฉลยข้อสงสัยให้น้องๆกระจ่างกันค่ะ เมื่อเราอายุมากขึ้น มันตรา “กินให้น้อยลง ออกกำลังกายให้มากขึ้น” อาจจะมีความจำเป็น ถ้าต้องการรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ เพราะมันเกี่ยวข้องกับ “การหมุนเวียนไขมัน” ✅ อยากทราบว่า การหมุนเวียนไขมันคืออะไร แล้วทำไมเมื่ออายุเพิ่มขึ้น เราควร กินให้น้อยลง ออกกำลังกายให้มากขึ้น เชิญอ่านบทความนี้ได้เลยค่ะ 2019-10-2932 minFatoutkeyFatoutkeyFat Turnover ทำไมเมื่ออายุเพิ่มต้องกินน้อยลง📣เคยสงสัย หรือหงุดหงิดใจกันไหมคะว่า ทำไมพออายุเพิ่มขึ้น แค่กินเท่าเดิม มีกิจกรรมทางกายเหมือนเดิม แต่ทำไมน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ทุกปี ✅ บทความนี้เฉลยข้อสงสัยให้น้องๆกระจ่างกันค่ะ เมื่อเราอายุมากขึ้น มันตรา “กินให้น้อยลง ออกกำลังกายให้มากขึ้น” อาจจะมีความจำเป็น ถ้าต้องการรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ เพราะมันเกี่ยวข้องกับ “การหมุนเวียนไขมัน” ✅ อยากทราบว่า การหมุนเวียนไขมันคืออะไร แล้วทำไมเมื่ออายุเพิ่มขึ้น เราควร กินให้น้อยลง ออกกำลังกายให้มากขึ้น เชิญอ่านบทความนี้ได้เลยค่ะ2019-10-2132 minFatoutkeyFatoutkeyมหัศจรรย์ต่อสุขภาพ 21 ประการของ แมกนีเซียม (ตอนจบ)📣 หนังสือ The Magnesium Miracle เขียนโดย Dr.Carolyn Dean M.D., N.D. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นหนังสือที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสำคัญของแมกนีเซียมได้ดีมาก ได้กล่าวไว้ในบทนำของหนังสือว่า " แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญที่สุดในร่างกาย คนส่วนใหญ่ขาดแมกนีเซียม และเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ถูกละเลย ไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว " จนถึงเดือนมิถุนายน 2556 พบว่า มีงานวิจัยที่เกี่ยวกับแมกนีเซียมจำนวนมากถึง 85,971 ฉบับ โดย 28,718 ฉบับ เป็นงานวิจัยในมนุษย์ แต่ละปีมีงานวิจัยใหม่ๆเกี่ยวกับแมกนีเซียมเฉลี่ย 2,000 ฉบับเลยทีเดียว แสดงถึงความสำคัญของแร่ธาตุตัวนี้ต่อร่างกาย 📌 บทบาทสำคัญโดยทั่วไปของแมกนีเซียม มี 5 ประการคือ 1. เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาชีวเคมีเกือบทุกชนิดที่เกิดขึ้นในร่างกาย (Catalyst) 2. สร้างและขนถ่ายพลังงาน (ATP) 3. สังเคราะห์โปรตีน 4. ส่งผ่านสัญญาณประสาท 5. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ 📌 พี่สรุปบทความนี้เป็น 2 ตอนนะคะ เราจะมาสำรวจความมหัศจรรย์ของแร่ธาตุนี้ต่อร่างกาย 21 ประการ อาการข้างเคียง ขนาดรับประทานของแมกนีเซียม และแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียม2019-10-1424 minFatoutkeyFatoutkeyมหัศจรรย์ต่อสุขภาพ 21 ประการของ แมกนีเซียม (ตอนที่ 1)📣 หนังสือ The Magnesium Miracle เขียนโดย Dr.Carolyn Dean M.D., N.D. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นหนังสือที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสำคัญของแมกนีเซียมได้ดีมาก ได้กล่าวไว้ในบทนำของหนังสือว่า " แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญที่สุดในร่างกาย คนส่วนใหญ่ขาดแมกนีเซียม และเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ถูกละเลย ไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว " จนถึงเดือนมิถุนายน 2556 พบว่า มีงานวิจัยที่เกี่ยวกับแมกนีเซียมจำนวนมากถึง 85,971 ฉบับ โดย 28,718 ฉบับ เป็นงานวิจัยในมนุษย์ แต่ละปีมีงานวิจัยใหม่ๆเกี่ยวกับแมกนีเซียมเฉลี่ย 2,000 ฉบับเลยทีเดียว แสดงถึงความสำคัญของแร่ธาตุตัวนี้ต่อร่างกาย 📌 บทบาทสำคัญโดยทั่วไปของแมกนีเซียม มี 5 ประการคือ 1. เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาชีวเคมีเกือบทุกชนิดที่เกิดขึ้นในร่างกาย (Catalyst) 2. สร้างและขนถ่ายพลังงาน (ATP) 3. สังเคราะห์โปรตีน 4. ส่งผ่านสัญญาณประสาท 5. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ 📌 พี่สรุปบทความนี้เป็น 2 ตอนนะคะ เราจะมาสำรวจความมหัศจรรย์ของแร่ธาตุนี้ต่อร่างกาย 21 ประการ อาการข้างเคียง ขนาดรับประทานของแมกนีเซียม และแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียม2019-10-1423 minFatoutkeyFatoutkeyรู้จริงเรื่องคีโต จากงานวิจัย (ตอนจบ)🥑ตอนจบของ “รู้จริงเรื่องคีโต จากงานวิจัย” ในตอนนี้จะเป็นการสรุป 1. ผลกระทบของโภชนาการแบบคีโตต่อร่างกาย (ปัจจัยสุขภาพและค่าชีวเคมี 76 รายการ)  2. อาการข้างเคียงของโภชนาการแบบคีโต 3. ความสามารถในการยึดติดกับโภชนาการแบบคีโต 📌พี่ทำตารางสรุปให้โดยเลือกปัจจัยสุขภาพ 15 จาก 76 รายการ ที่มีความน่าเชื่อถือของงานวิจัยสนับสนุนระดับเกรด 2 และ 3 เท่านั้นนะคะ ส่วนที่เหลือ ผู้ที่สนใจสามารถดูจากแหล่งข้อมูลได้เลยค่ะ2019-10-0128 minFatoutkeyFatoutkeyรู้จริงเรื่องคีโต จากงานวิจัย (ตอนที่ 1)🥑โภชนาการแบบคีโต เป็นคำค้นที่ฮิตที่สุดของ google ในปี 2561 Examine.com จึงตั้งใจรีวิวงานวิจัยเกี่ยวกับโภชนาการแบบคีโต ที่ทำเสร็จสิ้นไปแล้วจำนวน 105 ฉบับ (และมีลิงค์ระบุงานวิจัยกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการอีกมากกว่า 140 เรื่อง) เพื่อสรุปเนื้อหาที่เกี่ยวกับโภชนาการแบบคีโตตั้งแต่ 1. ประวัติความเป็นมาของโภชนาการแบบคีโต 2. สภาวะสุขภาพแบบใดบ้างที่โภชนาการแบบคีโตช่วยได้ 3. โภชนาการแบบคีโตปลอดภัยจริงหรือ มีผลเสียต่อสุขภาพหรือไม่อย่างไร 4. ตารางแสดงผลกระทบของโภชนาการแบบคีโตต่อค่าชีวเคมีในเลือด และองค์ประกอบของร่างกาย 77 ชนิด โดยมีการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของงานวิจัยประกอบ 5. ความปลอดภัย อาการข้างเคียง การปฏิบัติตามได้เป็นระยะเวลานาน 📌 บทความนี้สรุปเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับพี่คือ โภชนาการแบบคีโต ไม่มีข้อได้เปรียบในการลดน้ำหนักดีไปกว่าโภชนาการแบบอื่น จากหลักฐานงานวิจัยแบบ meta-analysis จำนวน 32 ฉบับ ซึ่งหลังจากพี่อ่านข้อมูลมาตลอด 1 ปีกับ 8 เดือน พี่ก็เริ่มมีชุดความเชื่อใหม่ว่า 1. โภชนาการแบบใด ก็ใช้ลดน้ำหนัก (ระยะแรก) ได้พอๆกัน โภชนาการแบบคีโต โลว์คาร์บ มีความเหมาะสมกับคนกลุ่มหนึ่ง 2. สิ่งที่น่าสนใจกว่าสำหรับพี่คือ When to eat และการเข้าใจองค์รวมการทำงานของร่างกายในการรักษาน้ำหนักที่ลดลงแล้วให้คงที่ ซึ่งพี่ได้ข้อมูลดีมากมาแล้วจำนวนหนึ่ง ลองกับตัวเองมา เกือบ 2 ปี ได้ผลดี น้ำหนักคงที่ แบบได้ใช้ชีวิต ไม่ใช่มีกฎเกณฑ์ซะจน ไม่ใช่ชีวิต ก็จะได้มีโอกาสเขียนแบ่งปันกันต่อไปค่ะ 📌 ขอให้พวกเราเปิดใจกว้างในการรับข้อมูล ที่ไม่ได้ตรงกับความเชื่อของเรานะคะ วิทยาศาสตร์การแพทย์เปลี่ยนแปลงทุกๆ 5 ปี เอาแค่เรื่อง LDL-Cholesterol ก็เปลี่ยนมา 3 ครั้งแล้ว (พี่เคยเขียนสรุป lecture ของ Prof.Ken Sikaris ซึ่งอธิบายความเชื่อเรื่องทฤษฎี LDL-C 3 ยุคไว้ได้ดีมาก) 📌 บทความนี้มี 2 ตอน ไฟล์เสียงขอสรุปรวบยอดเมื่อเขียนครบ 2 ตอนเลยทีเดียวนะคะ ขอความมีสุขภาพกายใจที่ดี จงสถิตอยู่กับทุกคน ❤ https://fatoutkey.com/membership/2019-10-0127 minFatoutkeyFatoutkeyแผนภาพเพื่อความเข้าใจ ถึงระยะเวลาในการหยุดกินอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อตัวแปรสุขภาพมาแล้วค่ะแผนภาพที่แสดงระยะเวลาในการหยุดกินอาหารต่อผลตัวแปรสุขภาพต่างๆ  แผนภาพนี้ได้จากเว็บไซต์ของ Dr.Mindy Pelz ซึ่งเธอและทีมงานวิจัยของเธอได้สร้างแผนภาพนี้จากงานวิจัย 3 ฉบับ แผนภาพนี้ จะทำให้น้องๆเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า เกิดอะไรขึ้นบ้างกับตัวแปรสุขภาพ เมื่อเราหยุดกินอาหารที่ระยะเวลาต่างๆ เพื่อที่น้องๆจะได้วางแผนในการหยุดกินอาหาร ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ต่อสุขภาพ Dr.Mindy ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการหยุดกินอาหารเป็นอย่างมาก เธอแนะนำการหยุดกินอาหารที่นาน 3 วันไว้เพียงแค่ปีละ 1-2 ครั้งเท่านั้น และแนะนำว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ทำการหยุดกินอาหาร จะต้องมีเครื่องวัดกลูโคสและคีโตนในเลือดติดตัวไว้เสมอค่ะ สิ่งที่พี่ปุ๋มเขียนบอกพวกเราเสมอคือ อย่าทำอะไรรุนแรงกับร่างกาย โดยที่เราไม่มีความเข้าใจถ่องแท้ ทำตามเพื่อน แข่งขันกันเพราะคิดว่า ยิ่งทำมากยิ่งเก่งกว่า ไม่เข้าใจวัตถุประสงค์สุขภาพที่สอดคล้องกับสภาวะสุขภาพของตัวเองจริงๆ  คนเก่งจริงสำหรับพี่ คือคนที่ศึกษาหาความรู้ เป็นตัวของตัวเอง เลือกสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเองเท่านั้น ไม่ทำตามใคร ขอให้ใช้เวลาในการอ่านข้อมูลที่พี่เขียนสรุปให้ทุกเรื่องอย่างละเอียด ตั้งแต่ต้นจนจบบทความ ไม่ใช่อ่านแค่คำโปรย แล้วลงมือทำเลยนะคะ  “ร่างกายของเรา ควรใส่ใจ ไม่ใช่แข่งขัน”2019-09-1738 minFatoutkeyFatoutkeyหมดสงสัยด้วยงานวิจัย ทำไม Fasting ถึงดีต่อสุขภาพมาแล้วค่ะ สรุปรายงานวิจัยเรื่องการหยุดกินอาหารแบบ Buchinger Therapeutic Fasting ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงสังเกตการณ์ไปข้างหน้าจากเหตุไปผล (Observational Prospective Cohort Study) ที่ใหญ่มากๆ คือ มีผู้เข้ารับการศึกษาถึง 1,422 คน เข้าโปรแกรมหยุดกินอาหารตั้งแต่ 4-21 วัน ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล 1 ปี  เพื่อศึกษาว่ามีความปลอดภัย และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และสุขภาวะ อย่างไร มีไฟล์เสียงให้กับน้องที่เป็นสมาชิกเว็บไซต์ได้ฟังกันเช่นเคย ท่านที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกสมัครตามลิงค์นี้เลยค่ะ https://fatoutkey.com/membership/2019-09-1324 minFatoutkeyFatoutkeyไขความลับ…ทำไมคนคิดบวกถึงสุขภาพดี – ไมโตคอนเดรีย อวัยวะมหัศจรรย์แห่งชีวิต ตอนจบมาแล้วค่ะสำหรับโพสต์ตอนจบของไมโตคอนเดรีย อวัยวะมหัศจรรย์แห่งชีวิต ตอนนี้น่าสนใจมากค่ะ น้องๆจะได้เข้าใจว่า  1. ร่างกายใช้ไมโตคอนเดรีย ในการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบเซลล์อย่างไร  2. คิดดี คิดเป็นกุศล ทำให้ร่างกายแข็งแรงจริงหรือ มีกลไกอย่างไร 3. นอกเหนือจากการออกกำลังกาย มีกิจกรรมอื่นใดอีกบ้าง ที่ช่วยให้ไมโตคอนเดรียมีสุภาพดี2019-09-0437 minFatoutkeyFatoutkeyจิตเป็นนาย กาย - ไมโตคอนเดรียเป็นบ่าว - ไมโตคอนเดรีย อวัยวะมหัศจรรย์แห่งชีวิต ตอนที่ 2สรุป podcast เรื่อง ไมโตคอนเดรีย อวัยวะมหัศจรรย์แห่งชีวิต (ตอนที่ 2) จิตเป็นนาย กาย / ไมโตคอนเดรียเป็นบ่าว มาแล้วค่ะ (The Stress-Mitochondria Link and Why your mitochondrial health is the secret key to energy and longevity) โดย : Dr. Martin Picard นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้าน Mitochondrial Psychobiology สัมภาษณ์โดย Ari Whitten เมื่อวันที่ 24 ส.ค.2562 เนื้อหาในตอนที่ 2 สรุปเรื่อง 4. ปัจจัยสำคัญที่สุด ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพไมโตคอนเดรียคืออะไร 5. ความเครียดเชื่อมโยงกับไมโตคอนเดรียได้อย่างไร ตั้งใจอ่าน/ฟัง ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อสุขภาพไมโตคอนเดรียกันนะคะว่าคืออะไร ปัจจัยนี้ถ้าทำสม่ำเสมอ เพิ่มจำนวนไมโตคอนเดรียในเซลล์ถึง 2 เท่าเลยค่ะ ส่วนความเครียดเชื่อมโยงกับไมโตคอนเดรียได้อย่างไร จะทำให้น้องๆเข้าใจว่า ทำไมโรคทุกโรคที่เกิดขึ้นกับร่างกายเรา เกี่ยวข้องกับสุขภาพไมโตคอนเดรียหมดค่ะ2019-08-3129 minFatoutkeyFatoutkeyไมโตคอนเดรีย อวัยวะมหัศจรรย์แห่งชีวิต ตอนที่ 1มาแล้วค่ะ สรุป podcast เรื่อง ไมโตคอนเดรีย อวัยวะมหัศจรรย์แห่งชีวิต (ตอนที่ 1) (The Stress-Mitochondria Link and Why your mitochondrial health is the secret key to energy and longevity)โดย : Dr. Martin Picard นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้าน Mitochondrial Psychobiology สัมภาษณ์โดย Ari Whitten เมื่อวันที่ 24 ส.ค.2562 เนื้อหาในตอนที่ 1 สรุปเรื่อง 1. สาขา Mitochondria Psychobiology คืออะไร 2. บทบาทของไมโตคอนเดรียในร่างกาย 3. ความสำคัญของไมโตคอนเดรียต่อสุขภาพ2019-08-2927 minFatoutkeyFatoutkeyทำไมหัวใจไม่เป็นมะเร็ง ตอนจบทำไมหัวใจไม่เป็นมะเร็ง (ตอนจบ) 📢 สรุปบทความ “ทำไมหัวใจไม่เป็นมะเร็ง” ตอนจบ โดย Dr.Stephen Hussey มาแล้ว มีทั้งโพสต์สำหรับผู้รักการอ่าน และไฟล์เสียงความยาว 27 นาที (สำหรับสมาชิกเว็บไซต์เท่านั้น) นอกจากนั้น พี่ปุ๋มยังเขียนการประยุกต์ความรู้ที่ได้จากบทความนี้ 4 ข้อ เพิ่มให้ เพื่อน้องๆจะได้นำไปปฏิบัติเพื่อสุขภาพหัวใจที่ดี และเพื่อลดความเสี่ยงที่เซลล์จะกลายสภาพเป็นเซลล์มะเร็งกัน 🎧 ใครที่ยังไม่ได้สมัครเป็นสมาชิกในเว็บไซต์ Fatoutkey.com รีบเข้าไปสมัครนะคะ จะได้ฟังไฟล์เสียงบทความได้ พี่ตุ้นจะวางไฟล์เสียงไว้ในส่วนของสมาชิกในเว็บไซต์ค่ะ สุขสันต์วันอาทิตย์ค่ะ ❤2019-08-2526 minFatoutkeyFatoutkeyทำไมหัวใจไม่เป็นมะเร็ง ตอนที่1ทำไมหัวใจไม่เป็นมะเร็ง 📢 มาแล้วค่ะ โพสต์สรุปบทความ “ทำไมหัวใจไม่เป็นมะเร็ง” (ตอนที่ 1)โดย Dr.Stephen Hussey บทความค่อนข้างยาว พี่ปุ๋มเลยตัดสินใจเขียนเป็น 2 ตอน พร้อมทั้งอัดไฟล์เสียงความยาวประมาณ 15 นาทีในแต่ละตอน เพื่อให้น้องๆที่อาจจะไม่ชอบการอ่าน ได้ฟังการสรุปบทความนี้ในรูปเสียง (เสียงแหบนิดหน่อยค่ะ เพราะใช้เสียงตลอดการสอน 2 วันที่ผ่านมา) 🎧 ใครที่ยังไม่ได้สมัครเป็นสมาชิกในเว็บไซต์ Fatoutkey.com รีบเข้าไปสมัครนะ จะได้ฟังไฟล์เสียงบทความได้ พี่ตุ้นจะวางไฟล์เสียงไว้ในส่วนของสมาชิกในเว็บไซต์ค่ะ เชิญฟังกันได้เลยค่ะ2019-08-2418 minFatoutkeyFatoutkeyUnderstanding Autophagy By Dr Nadir Ali สรุปวีดิโอโดยพี่ปุ๋มมาแล้วค่ะ สรุป vdo เรื่อง Understanding Autophagy : Repair, Renew, Remodel โดย Dr.Nadir Ali ในงาน Ketofest 2019 เมื่อวันที่ 5 ส.ค.2562 ที่ New London, Connecticut, USA2019-08-2143 minFatoutkeyFatoutkeyFor BeginnerPodcast ตอนนี้พี่ปุ๋มอยากให้น้องๆที่สนใจในการเริ่มต้นลดน้ำหนัก เริ่มศึกษาความรู้ที่พี่ปุ๋มจะให้ โดยฟังคลิปนี้ของพี่ปุ๋มก่อนค่ะ2019-08-0524 minFatoutkeyFatoutkeyWelcome and Introduction to fatoutkey.comสวัสดีค่ะน้องๆ Podcast ตอนแรกเป็นการทำความรู้จักและแนะนำตัวของพี่ปุ๋ม และ เวปไซต์ fatoutkey.com สำหรับน้องๆที่เป็น fan page fatout กุญแจไขความรู้ใหม่สู่การขจัดไขมันก็คงรู้จักพี่ปุ๋มดีอยู่แล้ว แต่สำหรับน้องๆใหม่ๆลองฟังกันดูนะคะ แล้วพบกันตอนต่อๆไปค่ะ2019-08-0512 min