podcast
details
.com
Print
Share
Look for any podcast host, guest or anyone
Search
Showing episodes and shows of
ThaiPublica
Shows
ThaiPublica
นันทิช-นวมลลิ์ 2 ตัวแทนจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ เล่าพื้นที่เปลี่ยนโลก พลังคนรุ่นใหม่สร้างโลกยั่งยืน
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘คนรุ่นใหม่’ คือตัวแปรของโลก ไม่ว่าจะเป็นมิติเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน รวมถึงทุกประเด็นที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน และอนาคต เครือเจริญโภคภัณฑ์ จึงให้ความสำคัญกับการสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ ทั้งการพัฒนา โครงการต่างๆ เพื่อยกระดับคนภายในองค์กร และเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมกับพื้นที่ระดับโลกอย่าง ‘One Young World’ ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นเวทีคนรุ่นใหม่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ในปี 2567 "One Young World Summit 2024” เครือซีพีฯ ส่งคนรุ่นใหม่ 20 คนของไทยไปร่วมทำกิจกรรมกับคนรุ่นใหม่จาก 196 ประเทศทั่วโลก ณ เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ในช่วงวันที่ 18 - 21 กันยายน 2567 โดยเป้าหมายการสร้างความร่วมมือผ่านความท้าทายทั้ง 5 ประเด็นซึ่งเป็นแนวคิดหลักของปีได้แก่ 1.Indigenous Voices เสียงของคนพื้นเมือง 2.The Climate and Ecological Crisis การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ 3.Artificial Intelligence ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI 4.Health Equality ความเท่าเทียมทางสุขภาพ 5.Peace สันติภาพของโลก สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า มีโอกาสพูดคุยกับ 2 ตัวแทน ‘ผู้นำแห่งอนาคต' ได้แก่ “นันทิช อัคนิวรรณ” (ปูน) จาก CP LAND และ “นวมลลิ์ เมธาทรงกิจ” (โบว์) จาก CP Axtra (Makro) “คนไม่รู้จักกันที่ภาษาและวัฒนธรรมต่างกันมารวมตัวกัน แต่สามารถพูดคุยกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันได้ มันเป็นสิ่งที่พิเศษมาก ไม่ใช่ว่าจะมีโอกาสแบบนี้ได้ง่ายๆ บางคนอาจสื่อสารไม่เก่ง แต่ก็หาวิธีการให้สื่อสารได้” นันทิช อัคนิวรรณ (ปูน) จาก CP LAND กล่าว “ถ้าเราเป็นคนที่มองเห็นปัญหา และไม่อยากปล่อยปัญหาไปถึงคนรุ่นหลัง หรือทิ้งปัญหาให้เป็นภาระของคนรุ่นถัดไป One Young World คือเป็นโอกาสที่ดีมาก เป็นเน็ตเวิร์คที่หาไม่ได้จากที่ไหน มันคืองานที่รวมตัวคนจากทั่วโลกไว้ในสถานที่เดียว” นวมลลิ์ เมธาทรงกิจ (โบว์) จาก CP Axtra (Makro) กล่าว ‘ปูน’ และ ‘โบว์’ จะฉายภาพให้เห็นว่า หลังจากร่วม One Young World แล้ว คนรุ่นใหม่จะนำตัวเองไปอยู่ในสมการการพัฒนาโลกอย่างไร และนำองค์ความรู้ วิธีการ หรือไอเดียต่างๆ มาเปลี่ยนแปลงโลก ประเทศ หรือยกระดับองค์กรได้อย่างไรบ้าง คุณผู้ฟังสามารถ อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ ‘นันทิช-นวมลลิ์’ 2 ตัวแทนจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ เล่าพื้นที่เปลี่ยนโลก พลังคนรุ่นใหม่สร้างโลกยั่งยืน ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2024/11/one-young-world-cp-group-2024/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook,Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify
2024-11-02
1h 05
ThaiPublica
6 ปี กสศ. กับ “ประสาร ไตรรัตน์วรกุล” อุดความเหลื่อมล้ำผ่าน ‘ทุนเสมอภาค’
ท่ามกลางงบประมาณกว่า 8 แสนล้านบาทของทุกหน่วยงานด้านการศึกษาที่มีจำนวนมากมาย ปฏิเสธไม่ได้ว่า การศึกษาไทยเต็มไปด้วยปัญหานานัปการ โดยเฉพาะมิติความเหลื่อมล้ำของครัวเรือนฐานะยากจน ซึ่งไม่มีหน่วยงานไหนสามารถแก้ปัญหาได้ ด้วยเหตุนี้ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. หน่วยงานด้านการศึกษาจัดตั้งขึ้นในปี 2561 เพื่ออุดช่องโหว่ด้านความเหลื่อมล้ำ โดยมีหัวเรือคือ “ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล” อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ดูแลภาพรวมเศรษฐกิจ-การเงินระดับประเทศ หันมาขับเคลื่อนประเด็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ในฐานะประธานกรรมการบริหารกองทุนฯ ดร.ประสาร ฉายภาพให้เห็นว่า ภารกิจของ กสศ. ประกอบด้วยการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ 3 มิติ คือ (1) ความเหลื่อมล้ำเชิงโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา (2) ความเหลื่อมล้ำเชิงคุณภาพการศึกษา และ (3) ความเหลื่อมล้ำในการจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษา ตลอด 6 ปี ของ กสศ. มีผลงานอะไรที่เป็นรูปธรรม ช่วยลดความเหลื่อมล้ำมากน้อยขนาดไหน ตลอดจนข้อค้นพบจากการทำงาน จนนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายและบทบาทการขับเคลื่อนถึงภาครัฐ อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ 6 ปี กสศ. กับ “ประสาร ไตรรัตน์วรกุล” อุดความเหลื่อมล้ำผ่าน ‘ทุนเสมอภาค’ ต่อลมหายใจด้วย ‘Learn to Earn’ ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2024/04/6-years-of-equitable-education-fund/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook,Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify
2024-06-01
1h 33
ThaiPublica
Thaipublica Podcast จากนักโทษล้นคุก ถึงวิกฤติหลักนิติธรรม
“คุกมีไว้ขังคนจน” ภาพสะท้อนระบบยุติธรรมแบบไทยๆ ที่ได้ยินกันมาช้านาน ลามเป็นปัญหาลูกโซ่ “นักโทษล้นคุก” เพราะคุกไทยเต็มไปด้วยคนจน จากตัวเลขผู้ต้องราชทัณฑ์ เดือนเมษายน 2567 พบว่า คุกไทยมีผู้ต้องขังมากกว่า 280,000 คน อันดับ 8 ของโลก ขณะที่เรือนจำของประเทศไทยทั้งหมด 143 แห่งรองรับผู้ต้องขังได้ประมาณ 150,000 -160,000 คนเท่านั้น ขณะที่คนจน ที่กระทำความผิด มักถูกจับขังโดยไม่มีเงินประกันตัว และเรียกโดยภาษากฎหมายว่า ผู้ต้องขังระหว่าง ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 59,000 คน คิดเป็น 20% ของผู้ต้องขังทั้งหมด เบื้องลึกของปัญหานักโทษล้นคุกเป็นอย่างไร ? “ผศ. ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล” จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชวนวิเคราะห์สาเหตุ สภาพปัญหา ทางออก ข้อเสนอที่เป็นรูปธรรม ตลอดจนการเตือนสติ ‘กรมราชทัณฑ์’ และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบยุติธรรม ให้ยืนอยู่บนหลักการที่ถูกต้อง สามารถอ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ จาก “นักโทษล้นคุก” ถึงวิกฤติหลักนิติธรรม กับ “ปริญญา เทวานฤมิตรกุล” ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2024/04/rule-of-law-crisis/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify
2024-05-21
59 min
ThaiPublica
We Shift World Change กลุ่มปตท. – วรุณาชูเทคโนโลยี AI ลดโลกร้อน บริหารจัดการพื้นที่สีเขียว
เราปรับ โลกเปลี่ยน We Shift, World Change เป็นรายงานพิเศษด้วยความร่วมมือระหว่างสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UN Global Compact Network Thailand-UNGCNT) และไทยพับลิก้า เพื่อนำเสนอ วิสัยทัศน์ นโยบาย และกลยุทธ์ในการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ความยั่งยืน ในบริบทของธุรกิจขององค์กร การมีส่วนร่วมพัฒนาและสนับสนุนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร เช่น คู่ค้า ลูกค้า ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ในการปรับตัว และการมีส่วนร่วมยกระดับชุมชนและสังคม ให้เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน บริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด เป็นหนึ่งใน หน่วยธุรกิจหลักที่ก่อตั้งในปี 2563 ภายใต้บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า เออาร์วี ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. สผ. โดยเป็นผู้บุกเบิกการนําเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) การเรียนรู้ของเครื่องจักรด้วยตนเองผ่านอัลกอริทึ่มต่างๆ การประมวลผลภาพจากอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน การวิเคราะห์ระบบข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมโยงกับค่าพิกัดภูมิศาสตร์ เเละแพลตฟอร์มการให้บริการในด้านต่างๆ มาใช้ในการดำเนินธุรกิจในการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตร และป่าไม้อัจฉริยะอย่างครบวงจร เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยในการแก้ไขปัญหาก๊าซเรือนกระจก ตาม เป้าหมาย SDG ข้อ 13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นายธราณิศ ประเสริฐศรี หัวหน้าทีมพัฒนาเทคโนโลยี บริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด บอกว่า การดำเนินงานของวรุณาเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเพิ่มการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกด้วยการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ส่วนที่สองคือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในภาคการเกษตร สำหรับการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกด้วยการเพิ่มพื้นที่สีเขียวนั้น ได้นำเทคโนโลยีของบริษัทมาใช้ ซึ่งมีส่วนช่วยให้โครงการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกของแต่ละองค์กร แต่ละพื้นที่ สามารถติดตามได้ รวมทั้งแก้ไขสถานการณ์หากมีปัญหาเกิดขึ้น เช่น มีไฟป่า มีการรุกล้ำพื้น ทางด้านการใช้เทคโนโลยีในการช่วยเกษตรกร ได้นำนวัตกรรม แอปพลิเคชันคันนา (KANNA) มาช่วยบริหารจัดการแปลงเกษตรแบบครบวงจร ซึ่งเน้นไปที่การทำนาปลูกข้าวเปียกสลับแห้ง ข้อมูลที่เกษตรกรรายงานและการตรวจเช็คที่เกิดขึ้นใน แอป KANNA จะทำให้วรุณานำมาใช้เป็นเอกสารหลักฐานในการขอขึ้นทะเบียนโครงการคาร์บอนเครดิต นายธราณิศบอกว่า ไทยเป็นประเทศที่มีพื้นที่การเกษตรจำนวนมาก หากใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ก็จะเป็นการยกระดับภาคเกษตร และสามารถช่วยลดอุณหภูมิโลกได้ด้วย อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ กลุ่มปตท. – วรุณาชูเทคโนโลยี AI ลดโลกร้อน บริหารจัดการพื้นที่สีเขียว ขับเคลื่อนเกษตรยั่งยืนได้ ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/12/we-shift-world-change-varuna-drives-sustainable-agriculture-environment-with-ai-technology/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook,Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify #WeShiftWorldChange #UNGCNT #Varuna #PTT
2024-01-18
08 min
ThaiPublica
We Shift World Change ซีเค พาวเวอร์ หนุนการเปลี่ยนผ่านพลังงาน ร่วมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ
เราปรับ โลกเปลี่ยน We Shift, World Change เป็นรายงานพิเศษด้วยความร่วมมือระหว่างสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UN Global Compact Network Thailand)กับไทยพับลิก้า เพื่อนำเสนอ วิสัยทัศน์ นโยบาย และกลยุทธ์ในการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ความยั่งยืน ในบริบทของธุรกิจขององค์กร การมีส่วนร่วมพัฒนาและสนับสนุนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร เช่น คู่ค้า ลูกค้า ในห่วงโซ่อุปทาน ในการปรับตัว และการมีส่วนร่วมยกระดับชุมชนและสังคม ให้เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ใหญ่ที่สุด และมีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ต่ำที่สุดในภูมิภาค และยังเป็นตัวอย่างของการดำเนินธุรกิจที่ก้าวข้ามเปลี่ยนผ่านจากพลังงานดั้งเดิมหรือฟอสซิสไปสู่พลังงานสะอาด โดยให้ความสำคัญกับสังคมและสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่“การพัฒนาที่ยั่งยืน” และก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ คุณ วรพจน์ อุชุไพบูลย์วงศ์ กรรมการบริหาร บริษัทซีเค พาวเวอร์ จำกัด(มหาชน) บอกว่า ซีเค พาวเวอร์ มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความมั่นคงทางพลังงานหมุนเวียนให้กับประเทศ โดยมีการดำเนินธุรกิจตามแนวหลักความยั่งยืนบนพื้นฐานความสมดุลของสังคม สิ่งแวดล้อมและธรรมาภิบาลที่ดี ตัวอย่างของการปฏิบัติที่ชัดเจน คือ “ต้นแบบโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี” ที่เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำประเภทน้ำไหลผ่าน ที่ทันสมัย ปล่อยให้ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าโรงไฟฟ้าเท่ากับปริมาณที่ไหลออกตลอดเวลา อาศัยอัตราการไหลของน้ำในการผลิตไฟฟ้าโดยไม่มีการกักเก็บน้ำ ไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราการไหลของน้ำตามธรรมชาติ อีกทั้งยังใช้นวัตกรรมการออกแบบและก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในภูมิภาค นั่นคือ ระบบทางปลาผ่านแบบผสม ที่เริ่มจากการศึกษาตั้งแต่เริ่มต้นพัฒนาโครงการ เพื่อความเข้าใจเชิงลึกต่อวงจรชีวิตของปลาและพฤติกรรมการอพยพของปลาในแม่น้ำโขง รวมทั้งลักษณะทางกายภาพและชนิดพันธุ์ของปลาที่แตกต่างกัน เพื่อให้ระบบทางปลาผ่านแบบผสมนี้สามารถตอบสนองต่อพฤติกรรมการอพยพของปลาทุกสายพันธุ์ในแม่น้ำโขงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี เป็นโรงไฟฟ้าแรกที่ได้ออกแบบประตูระบายตะกอนให้กดระดับลงไปเท่ากับระดับท้องน้ำ เพื่อให้มั่นใจว่า ตะกอนทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่สามารถไหลผ่านโรงไฟฟ้าไปยังท้ายน้ำได้เหมือนเดิมตามธรรมชาติ และที่สำคัญได้สร้าง “ช่องทางเดินเรือสัญจร เพื่อให้การสัญจรทางเรือของชาวบ้านผ่านโรงไฟฟ้าฯ สามารถสัญจรได้อย่างสะดวกตลอดทั้งปี CKPower สามารถผลิตไฟฟ้าสะอาดส่งให้ประเทศไทยได้ 9,500,000 เมกะวัตต์ หรือ คิดเป็น 5% ของไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศ ช่วยหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 5 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี นับเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างเสถียรภาพให้ประเทศไทย และสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และมุ่งมั่นผลักดันสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ NET ZERO ภายในปี 2065 ตามเป้าที่รัฐบาลกำหนด อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม "ซีเค พาวเวอร์ หนุนการเปลี่ยนผ่านพลังงาน ร่วมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ" ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/12/we-shift-world-change-ck-power-supports-energy-transitioning-to-a-low-carbon-society/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook,Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify #WeShiftWorldChange #UNGCNT #CKPower
2024-01-12
07 min
ThaiPublica
We Shift World Change เครือซีพียกระดับคุณภาพชีวิตด้วย"อมก๋อยโมเดล"
เราปรับ โลกเปลี่ยน We Shift, World Change เป็นรายงานพิเศษด้วยความร่วมมือระหว่างสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UN Global Compact Network Thailand)กับไทยพับลิก้า เพื่อนำเสนอ วิสัยทัศน์ นโยบาย และกลยุทธ์ในการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ความยั่งยืน ในบริบทของธุรกิจขององค์กร การมีส่วนร่วมพัฒนาและสนับสนุนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร เช่น คู่ค้า ลูกค้า ในห่วงโซ่อุปทาน ในการปรับตัว และการมีส่วนร่วมยกระดับชุมชนและสังคม ให้เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน เครือซีพีและมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ซึ่งก่อตั้งมา 30 กว่าปี มีเป้าหมายขับเคลื่อนงานใน 4 เรื่อง ทั้งเรื่องเด็กและเยาวชน พัฒนาอาชีพและเกษตรกร คุณภาพชีวิตและผู้สูงอายุ รวมถึงโครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแผนใหม่ที่เริ่มเมื่อปี 2564 โดยได้เลือกพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นมาดำเนินการภายใต้ "อมก๋อยโมเดล" นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด กรรมการเเละเลขาธิการ มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท บอกกับสำนักข่าวไทยพับลิก้าว่า "อมก๋อยโมเดล" มีเป้าหมายในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ป่าต้นน้ำ และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้คนอยู่กับป่าได้อย่างยั่งยืน ด้วยุทธศาสตร์ที่ได้จากการลงพื้นที่จริงเป็นเวลานาน นายจอมกิตติ เล่าว่า ภาคเหนือเป็นเขตภูเขา ป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร แต่มีปัญหาเรื่องการทำเกษตรบนพื้นที่สูง มีการทำไร่หมุนเวียนจำนวนมาก ทำให้พื้นที่กลายเป็นเขาหัวโล้น และอมก๋อย ปัจจุบันถือเป็นอำเภอที่มีสัดส่วนการคงไว้ของป่าในอัตราที่สูงอันดับต้นของพื้นที่ภาคเหนือ โดยพื้นที่อมก๋อย 1.31 ล้านไร่ อยู่ในเขตภูเขาสูงประมาณ 98% เป็นพื้นที่ราบลุ่มสำหรับตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยและทำนาบางส่วนเพียง 2% มูลนิธิฯ ร่วมกับกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ในเครือซีพี รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม และหลายภาคส่วน เข้าไปดำเนินการในพื้นที่ด้วย 6 แผนงาน ซึ่งส่วนหนึ่งได้แก่ การทำให้ป่าเดิมที่มีอยู่ได้รับการปกป้องรักษา ส่งเสริมการปลูกกาแฟใต้ร่มเงาในป่า และการศึกษาพร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ การบริหารจัดการ เทคโนโลยี สนับสนุนเงินทุน และการตลาด เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในพื้นที่ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน นายจอมกิตติกล่าวว่า เครือซีพีหรือมูลนิธิฯนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นในระบบสังคมในการขับเคลื่อนสังคมไทย ที่เห็นว่าพอมีโอกาส มีทรัพยากร มีศักยภาพตรงไหนที่จะเข้าไปช่วยพัฒนา ที่จะช่วยแก้ไขปัญหา สิ่งนี้เป็นนโยบายของผู้บริหารสูงสุด ขององค์กร อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ เครือซีพี-มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์ฯ ประสานชาวปกาเกอะญอ ร่วมอนุรักษ์-ฟื้นฟูพื้นที่ป่า “อมก๋อย” ยกระดับคุณภาพชีวิต ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/12/we-shift-world-change-cp-group-and-cpfoundationforrural-initiate-omkoi-model/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook,Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify #WeShiftWorldChange #UNGCNT #เครือซีพี
2023-12-01
43 min
ThaiPublica
We Shift World Change เครือซีพีฟื้นฟูทะเลไทยให้ยั่งยืน ตามพันธกิจ SEACOSYSTEM
เราปรับ โลกเปลี่ยน We Shift, World Change เป็นรายงานพิเศษด้วยความร่วมมือระหว่างสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UN Global Compact Network Thailand)กับไทยพับลิก้า เพื่อนำเสนอ วิสัยทัศน์ นโยบาย และกลยุทธ์ในการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ความยั่งยืน ในบริบทของธุรกิจขององค์กร การมีส่วนร่วมพัฒนาและสนับสนุนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร เช่น คู่ค้า ลูกค้า ในห่วงโซ่อุปทาน ในการปรับตัว และการมีส่วนร่วมยกระดับชุมชนและสังคม ให้เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน บนเส้นทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (เครือซีพี) ได้ทำให้บริษัทในเครือก้าวขึ้นสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนระดับโลก ทั้งการได้เป็นสมาชิก Dow Jones Sustainability Indices การเป็นสมาชิกความยั่งยืน FTSE4Good Emerging Index การได้รับการประเมินที่ดีจากสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ World Business Council on Sustainable Development (WBCSD) และการได้ CG 5 ดาวจากโครงการ CGR2560 ของสถาบันกรรมการบริษัทไทย รวมถึงแนวคิด SEACOSYSTEM เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลเชิงบูรณาการ ในฐานะที่เครือซีพี เป็นหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานของระบบเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารที่เกี่ยวข้องกับทะเลไทย ดร.อธิป อัศวานันท์ ผู้บริหารสำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาล เครือซีพี บอกว่า SEACOSYSTEM เป็นหนึ่งในพันธกิจด้านความยั่งยืนของซีพี โดย SEACOSYSTEM ได้ตั้งสัตยาบันกับภาคประชาชนว่า จะแก้ไขปัญหาเรื่องทะเล SEACOSYSTEM จึงมีเป้าหมายคือการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล แต่มีผู้ได้ประโยชน์คือ เกษตรกร ชาวประมงที่ได้ประโยชน์ จากการอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลเชิงบูรณาการสำคัญ 5 ด้าน ดร.อธิปบอกว่า โครงการต่าง ๆ ที่เข้าไปทำกับชาวบ้านนั้น เกิดจากความต้องการของชาวบ้านเอง เป็นโครงการที่ตอบโจทย์ชาวบ้านได้ แต่เครือซีพีช่วยเสริมด้วยเทคโนโลยีและความรู้ ดร.อธิปบอกอีกว่า SEACOSYSTEM เป็นโครงการที่มีผู้ติดต่อขอขอดูงานจำนวนมาก และได้รับรางวัล ทั้งรางวัลพระราชทานและรางวัลในต่างประเทศ รวมทั้ง เป็นโครงการที่ไม่ได้ตอบโจทย์เฉพาะในประเทศไทย แต่ตอบโจทย์ในประเทศที่มีปู อย่างมาเลเซียที่เข้ามาดูงานที่จังหวัดปัตตานีและขอไปนำใช้ ดร.อธิปบอกย้ำว่า เครือซีพีจะผลักดัน SEACOSYSTEM อย่างต่อเนื่อง แม้เครือซีพีจะไม่ได้ทำธุรกิจประมง แต่ ซัพพลายเชนหรือห่วงโซ่อุปทานของเครือ เกี่ยวข้องกับทะเล วัตถุดิบบางส่วนมาจากทะเล และใช้ทะเลในบางส่วน เพราะฉะนั้น ก็เป็นหน้าที่ของเครือซีพีในฐานะบริษัทไทยที่จะต้องฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล เพราะเป็นสมบัติของคนในชาติ ทะเลเป็นของทุกคน อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ เครือซีพีผนึกกำลังทุกภาคส่วนพัฒนา ฟื้นฟู ทะเลไทยให้ยั่งยืน ตามพันธกิจ SEACOSYSTEM ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/11/we-shift-world-change-cp-seacosystem/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook,Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify #WeShiftWorldChange #UNGCNT #CPG #เครือซีพี
2023-11-24
36 min
ThaiPublica
We Shift World Change NRF เดินหน้าสู่ Carbon Negative ด้วยโครงการ Decarbonization
เราปรับ โลกเปลี่ยน We Shift, World Change เป็นรายงานพิเศษด้วยความร่วมมือระหว่างสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UN Global Compact Network Thailand:UNGCNT)กับไทยพับลิก้า เพื่อนำเสนอ วิสัยทัศน์ นโยบาย และกลยุทธ์ในการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ความยั่งยืน ในบริบทของธุรกิจขององค์กร การมีส่วนร่วมพัฒนาและสนับสนุนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร เช่น คู่ค้า ลูกค้า ในห่วงโซ่อุปทาน ในการปรับตัว และการมีส่วนร่วมยกระดับชุมชนและสังคม ให้เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ NRF สมาชิกที่โดดเด่นของ สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ได้ตั้งเป้าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี 2030 และก้าวสู่การเป็น บริษัทแห่งแรกที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นลบหรือ Carbon Negative Company บริษัทยั่งยืนแห่งศตวรรษที่ 22 นายแดน ปฐมวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร NRF บอกกับไทยพับลิก้าถึงแนวทางที่บริษัทจะบรรลุถึงเป้าหมายว่า มี 2 องค์ประกอบด้วยกัน องค์ประกอบแรก คือ นำเทคโนโลยีมาใช้ องค์ประกอบที่สองร่วมมือกับพันธมิตร ได้แก่ เกษตรกร ซึ่งจะทำให้เข้าสู่ Net zero อย่างแท้จริง NRF เริ่มโครงการนำร่องกับเกษตรกร 20 ราย ด้วยการจ้างเกษตรกรเก็บรวบรวมซังข้าวโพดหลังเก็บเกี่ยว แทนที่จะเผาโดยตรง ซึ่งมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมา เมื่อได้ซังข้าวโพดจากเกษตรกรแล้ว ก็แล้วนำมาเผาในเตาพิเศษที่บริษัทผลิตโดยใช้เทคโนโลยีของยุโรป ที่ออกแบบให้เป็นเตาเผาที่เผาแล้วไม่ปล่อยมลพิษและก๊าซเรือน กระจก เป็นการเผาในระบบสุญญากาศ เผาออกมาแล้วจะได้วัสดุเหมือนถ่าน เป็น Bio Char (ไบโอชาร์) ซึ่งเรียกว่าไบโอคาร์บอน ที่ดักจับและกักเก็บคาร์บอน ไบโอชาร์ที่ได้จะนำไปฝังในไร่ อยู่ในดินถาวร ซึ่งสามารถเป็นวัตถุดิบชั้นดีในการฟื้นฟูหน้าดินให้มีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ดินสามารถกักเก็บและอุ้มน้ำได้ดียิ่งขึ้น จึงกลายเป็นแทนที่จะปล่อยคาร์บอน กลับเป็นได้ เครดิตคาร์บอน คืนมา อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ NRF เดินหน้าสู่ Carbon Negative ด้วยโครงการ Decarbonization ใช้เทคโนโลยีดักจับคาร์บอน ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/11/we-shift-world-change-nrf-decarbonization/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook,Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify #WeShiftWorldChange #UNGCNT #Decarbonization #NRF
2023-11-17
22 min
ThaiPublica
Sustainability ‘เครือเจริญโภคภัณฑ์’ กับเป้าหมายท้าทาย “ด้านความยั่งยืน” ที่ต้องเดินต่อ
เครือซีพีอยู่คู่ประเทศไทยมาแล้วกว่า 1 ศตวรรษ นับตั้งแต่ก่อตั้ง ร้านจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ผักชื่อ ‘เจียไต้จึง’ ขึ้นในปี 2464 และต่อยอดธุรกิจมา เป็นโรงงานอาหารสัตว์ แปลงทดสอบสายพันธุ์ผัก โรงเรือนเลี้ยงไก่ จนกลายเป็นโรงงานอาหารสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2516 แล้วจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ในปี 2519 ปัจจุบันเครือซีพีมีธุรกิจที่หลากหลายครอบคลุม 8 สายธุรกิจหลักใน 21 ประเทศและเขตเศรษฐกิจพิเศษ และได้ประกาศยุทธศาสตร์ความยั่งยืนเครือเจริญโภคภัณฑ์ครอบคลุมทั้ง 3 มิติของความยั่งยืน ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมออกรายงานความยั่งยืนฉบับแรกเมื่อปี 2559 จากนั้นได้มีการพัฒนาเป้าหมายและจัดทำรายงานความยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเครือซีพีได้จัดทำรายงานความยั่งยืนไปแล้ว 7 ฉบับ สมเจตนา ภาสกานนท์ ผู้อำนวยการด้านพัฒนาความยั่งยืน สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาลและสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ให้สัมภาษณ์ ‘ไทยพับลิก้า’ ว่า เครือซีพีเร่งเดินหน้าขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนสู่ปี 2573 รวมทั้งสิ้น 15 หัวข้อ ครอบคลุมทุกมิติของความยั่งยืน ทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN SDGs) ในยุทธศาสตร์ความยั่งยืนเครือฯ สู่ปี 2573 นั้นเครือซีพีได้มีการปรับเพิ่มหัวข้อ เข้ามาตามประเด็นปัญหาของโลกที่เปลี่ยนไป ได้แก่ ความปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องข้อมูล ความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) และเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) นอกจากนี้เครือฯ จะส่งเสริมและสนับสนุนคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ ให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 25% ภายในปี 2573 ในโลกปัจจุบันฯ ที่เต็มไปด้วยปัจจัยความผันผวน และปัญหา เครือซีพีได้ปรับตัวและยึดมั่นในหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อรับมือกับปัญหาวิกฤติต่างๆ รวมถึงการเตรียมความพร้อม เพื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 2 ของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนต่อไป อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ ‘เครือเจริญโภคภัณฑ์’ กับเป้าหมายท้าทาย “ด้านความยั่งยืน” ที่ต้องเดินต่อ ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/11/cp-group-and-challenging-goals-sustainability/
2023-11-07
56 min
ThaiPublica
เป็นหนี้ต้องมีวันจบ EP 20 สตางค์ STORY เรื่องการเงินสำหรับทุกคน
ซีรีส์ “เป็นหนี้ต้องมีวันจบ” นำเสนอแนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งประสบการณ์ตรงของลูกหนี้ที่แก้ไขปัญหาหนี้สำเร็จและไม่สำเร็จ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีภาระหนี้มีช่องทาง วิธีการแก้หนี้ มองเห็นทางออก มีความหวัง เพื่อเป็นพลังให้ต่อสู้ชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต ซีรีส์นี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ภาคประชาชนครบวงจร ในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีการตั้งฝ่ายคุ้มครองและส่งเสริมผู้ใช้บริการทางการเงิน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและหาแนวทางในการดูแลและให้การศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านการเงินที่เหมาะสมให้แก่ผู้บริโภคในทุกระดับ โดยพบว่า ปัญหาที่สำคัญของผู้ที่มีปัญหาหนี้สิน คือ ขาดความรู้เรื่องดอกเบี้ย ทั้งในเรื่องอัตราดอกเบี้ย วิธีการคำนวณ ไปจนถึงการเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยระหว่างผู้กู้แต่ละราย นอกจากนี้ ยังพบว่าไม่มีการออมในกรณีที่ฉุกเฉิน ไม่มีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย จนนำไปสู่การใช้จ่ายที่มากกว่ารายได้ จุฬาลักษณ์ พิบูลชล ผู้ช่วยผู้อำนวยการ(ควบ) ฝ่ายคุ้มครองและส่งเสริมผู้ใช้บริการทางการเงิน กล่าวว่า งานให้ความรู้ทางการเงิน ถือว่าเป็นการฉีดวัคซีนในเชิงป้องกัน และจะเน้นฝั่งลูกค้า ฝั่งผู้บริโภค สิ่งที่แบงก์ชาติพยายามทำมาและจะทำต่อไป คือ การกระตุ้นที่มีหลักการ 4 ข้อที่เป็นเรื่องของเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม คือ 1.ทำเรื่องให้ง่าย 2.สนุกสนาน น่าดึงดูด 3.ใครก็ทำกัน 4.ทำถูกเวลา ซึ่ง 4 ข้อนี้เรียกว่า EAST คือ Easy Attractive Social และ Timely ที่จะต้องนำมาประยุกต์ใช้ อย่างไรก็ตาม มีปัญหาหรือข้อสังเกตที่พบในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คือ การขาดความรู้เรื่องอัตราดอกเบี้ย และพฤติกรรมที่ไม่ได้มีการเปรียบเทียบก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้สินเชื่อ ปัญหาเรื่องดอกเบี้ยที่พบ มี 3 เรื่อง เรื่องแรก ผู้ที่ใช้สินเชื่อในปัจจุบันไม่รู้ว่า สินเชื่อที่ใช้มีอัตราดอกเบี้ยเท่าไหร่ หน่วยเป็นเท่าไหร่ และเมื่อหมดหนี้แล้ว จะเสียดอกเบี้ยทั้งหมดเท่าไหร่ เรื่องที่สอง คือ ไม่รู้วิธีการคำนวณ เรื่องที่สาม มักจะไม่รู้ หรืออะไรบ้างที่มีผลทำให้ต้องเสียดอกเบี้ยจำนวนมาก จุฬาลักษณ์ กล่าวว่า ธปท.มีการให้ความรู้เรื่องการคำนวณดอกเบี้ยอยู่ในเว็บไซต์อยู่แล้ว ในส่วน “สตางค์ STORY” ในเว็บไซต์ https://www.bot.or.th/th/satang-story.html โดยจะมีสูตรการคำนวณ เพื่อทำความเข้าใจ ถ้าเข้าใจเรื่องดอกเบี้ยได้ ก็จะเสียเงินน้อยลง อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ เป็นหนี้ต้องมีวันจบ (20) สตางค์ STORY เรื่องการเงินสำหรับทุกคน ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/09/how-to-get-out-of-debt-19/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #เป็นหนี้ต้องมีวันจบ #ธปท #responsibleborrower #responsiblelending
2023-09-25
34 min
ThaiPublica
เป็นหนี้ต้องมีวันจบ EP 19 แบงก์ชาติเตือน อย่าหลงกลหนี้นอกระบบ
ซีรีส์ “เป็นหนี้ต้องมีวันจบ” นำเสนอแนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งประสบการณ์ตรงของลูกหนี้ที่แก้ไขปัญหาหนี้สำเร็จและไม่สำเร็จ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีภาระหนี้มีช่องทาง วิธีการแก้หนี้ มองเห็นทางออก มีความหวัง เพื่อเป็นพลังให้ต่อสู้ชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต ซีรีส์นี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ภาคประชาชนครบวงจร โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหลายแหล่ง รวมถึงเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ โดยหมอหนี้พร้อมรับฟัง ให้คำแนะนำ และมีความตั้งใจจริงที่จะช่วยเหลือลูกหนี้อย่างเต็มความสามารถ ปัจจุบันมีทีมหมอหนี้รวม 200 คน และนี่คือหนึ่งในทีมงานหมอหนี้ ที่มาเล่าประสบการณ์ลูกหนี้ที่มีปัญหาจากการกู้นอกระบบ รวมถึงปัญหาความไม่รู้กระบวนการทางกฎหมาย หลงเชื่อคำแนะนำผิดๆ ปล่อยให้มีการบังคับคดี ยึดทรัพย์ ที่ส่งผลกระทบมากกว่าที่คิด พรชัย เจริญใจ ผู้ทรงคุณวุฒิหมอหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เล่าให้ฟังว่า ปัญหาการกู้หนี้นอกระบบที่พบบ่อย คือ ลูกหนี้ถูกหลอกให้ทำสัญญากู้เงิน โดยหลังจากลูกหนี้กู้นอกระบบมาระยะหนึ่ง แล้วต้องการกู้เพิ่ม ก็จะพยายามให้ลูกหนี้มาทำสัญญาเพื่อบวกดอกเบี้ยเข้าไปในเงินต้น เป็นดอกเบี้ยที่เจ้าหนี้นอกระบบคิดเอง และผิดกฎหมายที่กำหนดให้ไม่เกิน 15% ต่อปี และเอาดอกเบี้ยที่ค้างอยู่ไปทบเป็นเงินต้น แล้วให้ทำสัญญาให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อใช้เอกสารนี้ในการฟ้องร้อง บังคับคดี ยึดทรัพย์ลูกหนี้ ซึ่งลูกหนี้อาจรู้ไม่เท่าทันเจ้าหนี้นอกระบบ ก็ยอมเซ็นสัญญาไป เพราะต้องการจะขอกู้เงินเพิ่มอีกก้อนหนึ่งจากเจ้าหนี้ แต่หารู้ไม่ว่า สิ่งที่ลงนามไปจะมีผลย้อนกลับมาที่ตัวเอง “อยากจะฝากเตือนลูกหนี้ที่กู้นอกระบบ อย่าไปหลงกลเจ้าหนี้นอกระบบที่จะหลอกให้เราทำสัญญากู้ในลักษณะเช่นนี้” พรชัย กล่าวว่า ในฐานะหมอหนี้ ยังต้องทำความเข้าใจที่ถูกต้องให้ผู้ที่เข้ามารับคำปรึกษาด้วย และพยายามเตือนว่าอย่ากู้นอกระบบเลย หรือถ้ามีหนทางใดที่จะปิดหนี้นอกระบบได้ให้รีบปิด เพราะการกู้ในระบบอัตราดอกเบี้ยถูกกว่ามาก และยังพอคุยกันได้ ขณะที่หนี้นอกระบบส่วนมากคุยยาก อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ เป็นหนี้ต้องมีวันจบ (19) แบงก์ชาติเตือน อย่าหลงกลหนี้นอกระบบ ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/09/how-to-get-out-of-debt-18/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #เป็นหนี้ต้องมีวันจบ #ธปท #responsibleborrower #responsiblelending
2023-09-22
26 min
ThaiPublica
เป็นหนี้ต้องมีวันจบ EP 18 ธปท.ย้ำจุดยืนที่ไม่เอนเอียง ประสานลูกหนี้กับสถาบันการเงิน
ซีรีส์ “เป็นหนี้ต้องมีวันจบ” นำเสนอแนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งประสบการณ์ตรงของลูกหนี้ที่แก้ไขปัญหาหนี้สำเร็จและไม่สำเร็จ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีภาระหนี้มีช่องทาง วิธีการแก้หนี้ มองเห็นทางออก มีความหวัง เพื่อเป็นพลังให้ต่อสู้ชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต ซีรีส์นี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ภาคประชาชนครบวงจร การทำงานของเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการให้คำแนะนำปรึกษาลูกหนี้ โดยเฉพาะลูกหนี้รายย่อยที่ประสบปัญหา ทั้งที่ผ่านคลินิแก้หนี้ หมอหนี้เพื่อประชาชน หรือทางด่วนแก้หนี้ นอกจากจะต้องพูดคุยกับลูกหนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนเพียงพอต่อการให้คำปรึกษาแล้ว เจ้าหน้าที่ธปท.ยังมีความตระหนักถึงจุดยืนในการให้ความช่วยเหลือ ไม่เอนเอียงไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพื่อจะได้ให้คำแนะนำลูกหนี้ได้อย่างดีที่สุด พันธ์ทิพย์ จันทร์แจ่มแสง ผู้ตรวจสอบอาวุโส (ควบ) ฝ่ายคุ้มครองและส่งเสริมความรู้ผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากประสบการณ์การให้คำปรึกษามีบางกรณีที่ยาก แต่ธปท.ต้องวางตำแหน่งให้ถูกว่า มีหน้าที่ประสานสถาบันการเงินกับลูกหนี้ ถ้าไปคล้อยตามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก็จะแก้ไม่จบ ต้องยืนในจุด ในหน้าที่เก็บข้อเท็จจริง เก็บข้อมูลให้มากที่สุด เพื่อจะได้แนะนำลูกหนี้ได้ดีที่สุด โดยเนื้องานที่ทำ คือ แก้หนี้บุคคลธรรมดา และหนี้ธุรกิจเอสเอ็มอี ที่มีมูลหนี้ 250 ล้านบาทขึ้นไป หรือเป็นพันล้านบาท จากประสบการณ์พบว่า กรณีที่แก้ยากมากที่สุด คือกรณีลูกหนี้ไม่มีรายได้ ไม่มีสภาพคล่อง หรือเงินเพียงพอที่จะชำระหนี้ ทำให้ไม่สามารถเจรจากับเจ้าหนี้ให้บรรลุผลได้เลย เพราะว่า ไม่มีอะไรจะมาชำระเพื่อปิดจบให้หนี้ก้อนนี้หายไปได้ กับอีกกรณีหนึ่ง คือหนี้ที่ถูกหลอกให้ถอนเงินจากบัญชี สิ่งสำคัญที่สุด ที่อยากจะย้ำคือ ลูกหนี้ต้องขอเจรจาขอแก้ไขกับเจ้าหนี้เท่านั้น เพราะเจ้าหนี้คือผู้ให้ ลูกหนี้คือผู้ชำระ ธปท.ทำได้เพียงแค่ตัวกลาง ประสานให้เขาเข้าหากัน และธปท.ยินดีจะให้คำปรึกษาและแนะนำทุกรายที่ติดต่อมา ลูกหนี้สามารถติดต่อได้เลย หรือโทร 1213 ก่อนก็ได้ ก็จะสามารถเลือกแก้หนี้ หรือหาหมอหนี้ หรือแก้หนี้รายใหญ่ อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ เป็นหนี้ต้องมีวันจบ (18) ธปท.ย้ำจุดยืนที่ไม่เอนเอียง ประสานลูกหนี้กับสถาบันการเงิน ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/09/how-to-get-out-of-debt-17/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #เป็นหนี้ต้องมีวันจบ #ธปท #responsibleborrower #responsiblelending
2023-09-17
30 min
ThaiPublica
เป็นหนี้ต้องมีวันจบ EP 17 ความเข้าใจผิดเรื่องการแก้ไขหนี้
ซีรีส์ “เป็นหนี้ต้องมีวันจบ” นำเสนอแนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งประสบการณ์ตรงของลูกหนี้ที่แก้ไขปัญหาหนี้สำเร็จและไม่สำเร็จ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีภาระหนี้มีช่องทาง วิธีการแก้หนี้ มองเห็นทางออก มีความหวัง เพื่อเป็นพลังให้ต่อสู้ชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต ซีรีส์นี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ภาคประชาชนครบวงจร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ จัดทำโครงการ ‘หมอหนี้เพื่อประชาชน’ ขึ้นเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ ทั้งการให้ข้อมูลและคำแนะนำแก่ลูกหนี้ เกี่ยวกับการบริหารหนี้ และการจัดการด้านการเงินเบื้องต้น รวมถึงคำแนะนำเกี่ยวกับมาตรการและช่องทางในการติดต่อกับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ แต่บรรดาหมอหนี้ก็ต้องเผชิญกับความคาดหวังและความเข้าใจผิดหลายด้าน ที่ต้องสื่อสารและทำความเข้าใจให้ชัดเจน จรัสวิชญ์ สายธารทอง ผู้ตรวจสอบอาวุโส(ควบ) ฝ่ายคุ้มครองและส่งเสริมความรู้ทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เล่าประสบการณ์ การเป็นหมอหนี้ ว่า เวลาลูกหนี้มีปัญหา แล้วคีย์มาที่ https://app.bot.or.th/doctordebt/ มักจะมีความคาดหวังผิด ๆ ใน 2 เรื่อง คือ 1. ยืมเงินแบงก์ชาติไปปิดหนี้ นี่คือความไม่ถูกต้อง 2. เวลาลูกหนี้จะกรอกข้อมูลเข้ามา มักจะคิดว่าจะได้ตามที่ลูกหนี้ต้องการ นอกจากความคาดหวังผิด ๆ แล้ว ผู้ที่เข้ามาปรึกษาแบงก์ชาติยังมีเข้าใจผิดบางอย่างด้วย อันดับหนึ่ง คือ คำว่ารวมหนี้ ซึ่งเข้าใจว่า การรวมหนี้หมายถึง การหาเงินแหล่งเงินอีกแห่งหนึ่งเพื่อมารวมหนี้ที่มีกับอีกหลายๆแหล่งแล้วจ่ายที่เดียว อันดับสอง คือ ให้แบงก์ชาติไปดำเนินการ อันดับสาม คือ เมื่อลูกหนี้จ่ายไม่ได้ แล้วได้รับการทวงหนี้ที่บอกว่า ถ้าไม่จ่ายก็ฟ้อง ไปคุยกันที่ศาล ลูกหนี้ก็คิดว่า จะไปขอความเมตตาจากศาล จรัสวิชญ์ กล่าวว่า หน้าที่ของหมอหนี้ ของแบงก์ชาติ คือ การให้คำปรึก ให้ความรู้ บอกทุกอย่างที่เป็นไปได้ แต่จะทำหรือไม่ขึ้นกับลูกหนี้ และถ้าทำตามคำแนะนำ อาจไม่ได้อย่างที่คิด แต่เบาลงแน่นอน ภาระลดลง อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ เป็นหนี้ต้องมีวันจบ (17) 3 ความเข้าใจผิดเรื่องการแก้ไขหนี้ ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/09/how-to-get-out-of-debt-16/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #เป็นหนี้ต้องมีวันจบ #ธปท #responsibleborrower #responsiblelending
2023-09-12
41 min
ThaiPublica
เป็นหนี้ต้องมีวันจบ EP 16 แบงก์ชาติยึดแนวทางแก้หนี้ที่ win-win ทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้
ซีรีส์ “เป็นหนี้ต้องมีวันจบ” นำเสนอแนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งประสบการณ์ตรงของลูกหนี้ที่แก้ไขปัญหาหนี้สำเร็จและไม่สำเร็จ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีภาระหนี้มีช่องทาง วิธีการแก้หนี้ มองเห็นทางออก มีความหวัง เพื่อเป็นพลังให้ต่อสู้ชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต ซีรีส์นี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ภาคประชาชนครบวงจร หลายคนที่มีปัญหาหนี้ที่แก้ไม่ตก อาจจะเพราะพฤติกรรมการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย หรือจากความจำเป็นในชีวิต เช่น ครอบครัวเจ็บป่วย ต้องใช้เงินในการรักษาพยาบาล จนต้องกดเงินสดจากบัตรเครดิต หรือใช้สินเชื่อส่วนบุคคล มาปะทะปะทังปัญหาที่มีอยู่ โดยไม่คาดคิดว่า ปัญหาจะพัวพันกลายเป็นหนี้ก้อนโตแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงเปิดโครงการหมอหนี้เพื่อประชาชนขึ้น เพื่อเป็นช่องทางในการขอรับคำปรึกษาและแนะนำการแก้ปัญหาหนี้ ทั้งหนี้ประชาชนรายย่อยและธุรกิจเอสเอ็มอี บุญเที่ยง ภูมี ผู้ทรงคุณวุฒิให้คำปรึกษาด้านหมอหนี้ เล่าวว่า ในการให้คำแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้นั้น ยึดประโยชน์ของสองฝ่ายที่จะพอรับกันได้ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ หรือ win-win ทั้งคู่ คือ ไม่ได้ต่อรองเอาเยอะเกินไป หรือได้เยอะเกินไป และต้องเปิดเผยข้อมูลด้วยความจริงใจทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ได้แนะนำให้ลูกหนี้ที่มาขอรับคำปรึกษา แก้ไขหนี้ที่มีก่อนอยู่ ไม่ควรก่อภาระหนี้เพิ่ม และไม่แนะนำให้กู้นอกระบบดอกเบี้ยอัตราสูงมาแก้หนี้ที่มีอยู่ เจรจาแก้หนี้ก้อนนี้พอ ไม่ต้องสร้างภาระอย่างอื่น ไม่ต้องไปหากู้เงิน เอาญาติพี่น้องไปค้ำประกัน เอาทรัพย์สินพี่น้องไปค้ำประกัน “ที่ผ่านมา จะแก้หนี้ด้วยวิธีที่ผิด คือก่อหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ วันสุดท้ายก็ไปถึงทางตัน การแก้หนี้ควรเจรจากับเจ้าหนี้ตามกำลัง และส่วนหนึ่งก็ต้องให้มีเงินเหลือพอที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ ครอบครัวอยู่ได้ คือต้องเห็นแสงที่ปลายอุโมงค์" บุญเที่ยง กล่าวว่า หน้าที่ของหมอหนี้ ไม่ได้จัดการให้ แต่จะบอกแนว แล้วลูกหนี้จะไปคุยกับสถาบันการเงินเจ้าหนี้เอง ปัจจุบันผู้เข้ามารับคำปรึกษายังมีจำนวนมากอยู่ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่า ลูกหนี้ก็พยายามจะหาทาง แนวทางการแก้ไข ขณะที่หมอหนี้ มีช่องทางที่สะดวก ทำให้ลูกหนี้อยากเข้ามาปรึกษาจำนวนมากขึ้น สำหรับช่องทางการรับคำแนะนำโครงการหมอหนี้นั้น ธปท.ได้เปิดเว็บไซต์ https://app.bot.or.th/doctordebt/ให้ลงทะเบียน หลังจากลงทะเบียนเสร็จ เจ้าหน้าที่จะโทรศัพท์ไปหา ไม่ต้องมาพบกัน โดยจะมีการแนะนำเพื่อให้รู้ทักษะต่าง ๆ รวมถึงมาตรการต่าง ๆ ของทางการ อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ เป็นหนี้ต้องมีวันจบ (16) แบงก์ชาติยึดแนวทางแก้หนี้ที่ win-win ทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ https://thaipublica.org/2023/09/how-to-get-out-of-debt-15/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #เป็นหนี้ต้องมีวันจบ #ธปท #responsibleborrower #responsiblelending
2023-09-08
20 min
ThaiPublica
เป็นหนี้ต้องมีวันจบ EP 15 สกัดหนี้ก่อนเป็น NPL ปรึกษาหมอหนี้เพื่อประชาชน
ซีรีส์ “เป็นหนี้ต้องมีวันจบ” นำเสนอแนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งประสบการณ์ตรงของลูกหนี้ที่แก้ไขปัญหาหนี้สำเร็จและไม่สำเร็จ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีภาระหนี้มีช่องทาง วิธีการแก้หนี้ มองเห็นทางออก มีความหวัง เพื่อเป็นพลังให้ต่อสู้ชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต ซีรีส์นี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ภาคประชาชนครบวงจร ทรงพล เป็นตัวอย่างหนึ่งของผู้เป็นหนี้บัตรเครดิตหลายใบ แต่เมื่อรายได้ลดลงจากปัญหาการระบาดของโรคโควิด ทำให้เขาเริ่มประเมินตัวเอง และพบว่าอีกไม่นานจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ และกลายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ซึ่งเขาไม่ต้องการให้ไปถึงจุดนั้น ประกอบกับได้พบโครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน ของธนาคารแห่งประเทศไทย จึงเข้าขอรับคำปรึกษา เพราะอยากจะจบหนี้ที่มีอยู่ให้ได้ ทรงพล กล่าวว่า สาเหตุที่ปรึกษาโครงการหมอหนี้ของแบงก์ชาติ เพราะเห็นโฆษณา เลยแอดไลน์ไป และสอบถาม เจ้าหน้าที่ก็ติดต่อมา เลยคุยให้ฟังว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร จึงเข้าโครงการปรับโครงสร้างหนี้ แต่ก่อนหน้าที่จะเจอกับหมอหนี้ ทางธนาคารไม่ได้ติดต่อกลับมาเลย หลังจากได้รับคำแนะนำจากหมอหนี้แล้ว ก็เริ่มติดต่อธนาคาร ที่ได้รับการติดต่อกลับมาแล้วจากบางธนาคาร ทรงพลบอกว่า "โครงการหมอหนี้มีประโยชน์ ให้คำปรึกษา บางทีเราถึงทางตันก็ให้คำปรึกษาได้ บางคนเขารู้ไม่จริง เกิดให้คำแนะนำจากดำเป็นขาว จากขาวเป็นเทา แล้วเราดันไปเชื่อในสิ่งที่ผิด ๆ ปัญหาจะตามมาเยอะมากอยากเชื่อในสิ่งที่ถูกที่สุดดีกว่า" อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ เป็นหนี้ต้องมีวันจบ (15) สกัดหนี้ก่อนเป็น NPL ปรึกษาหมอหนี้เพื่อประชาชน ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/09/how-to-get-out-of-debt-14/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #เป็นหนี้ต้องมีวันจบ #ธปท #responsibleborrower #responsiblelending
2023-09-05
16 min
ThaiPublica
เป็นหนี้ต้องมีวันจบ EP 14 4 โปรแกรมแก้หนี้จากแบงก์ชาติดูแลตลอดเส้นทาง
ซีรีส์ “เป็นหนี้ต้องมีวันจบ” นำเสนอแนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งประสบการณ์ตรงของลูกหนี้ที่แก้ไขปัญหาหนี้สำเร็จและไม่สำเร็จ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีภาระหนี้มีช่องทาง วิธีการแก้หนี้ มองเห็นทางออก มีความหวัง เพื่อเป็นพลังให้ต่อสู้ชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต ซีรีส์นี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ภาคประชาชนครบวงจร ชวนันท์ ชื่นสุข รองผู้อำนวยการฝ่ายคุ้มครองและส่งเสริมความรู้ผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้ดูแลการแก้ไขหนี้ประชาชนรายย่อยและเอสเอ็มอี รวมถึงการอบรมให้ความรู้กับกลุ่มครู กล่าวว่า หนี้ครัวเรือนมีมานานแล้ว แบงก์ชาติพยายามสร้างช่องทาง สร้างโครงสร้างพื้นฐานขึ้นมา เพราะแต่ละกลุ่มจะมีหลักการในการแก้ปัญหาแตกต่างกัน พร้อมข้อเสนอเพื่อให้เป็นทางเลือกในการให้ลูกหนี้เลือกที่นำไปเจรจากับเจ้าหนี้ตามความเหมาะสม อย่างไรก็ตาม การจะปรับโครงสร้างหนี้หรือไม่ ทุกคนต้องสำรวจตัวเองว่า เวลานี้ในกระเป๋ามีเงินอยู่เท่าไหร่ มีภาระอะไรบ้าง ที่สำคัญต้องอย่าสร้างภาระเพิ่ม เพราะถ้าสร้างภาระเพิ่ม สุดท้ายอย่างไรก็ไม่พอ ทั้งนี้ แบงก์ชาติมีโปรแกรมรองรับการแก้ไขหนี้ของประชาชนได้แก่ หมอหนี้เพื่อประชาชน ทางด่วนแก้หนี้ รับเรื่องร้องเรียน คลินิกแก้หนี้ เป็นการดูแลตลอดเส้นทาง และขอให้บอกถึงหนี้ที่มีอยู่ให้หมด จะได้แก้ไขได้ เพราะถ้าบอกไม่ตรงจุด อาจให้คำแนะนำได้ไม่หมด มีหนี้เหลือ ที่ให้คำแนะนำไปก็อาจจะไปต่อไม่ได้ อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ เป็นหนี้ต้องมีวันจบ (14) หมอหนี้เพื่อประชาชน ทางด่วนแก้หนี้ รับเรื่องร้องเรียน คลินิกแก้หนี้ 4 โปรแกรมแก้หนี้จากแบงก์ชาติดูแลตลอดเส้นทาง ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/08/how-to-get-out-of-debt-13/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #เป็นหนี้ต้องมีวันจบ #ธปท #responsibleborrower #responsiblelending
2023-08-30
29 min
ThaiPublica
เป็นหนี้ต้องมีวันจบ EP 13 กู้ในระบบ-นอกระบบ ถ้าบอกครบ(หมอหนี้)ช่วยจบหนี้ได้
ซีรีส์ “เป็นหนี้ต้องมีวันจบ” นำเสนอแนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งประสบการณ์ตรงของลูกหนี้ที่แก้ไขปัญหาหนี้สำเร็จและไม่สำเร็จ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีภาระหนี้มีช่องทาง วิธีการแก้หนี้ มองเห็นทางออก มีความหวัง เพื่อเป็นพลังให้ต่อสู้ชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต ซีรีส์นี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ภาคประชาชนครบวงจร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เริ่มแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนมาตั้งแต่ปี 2560 ผ่านโครงการ “คลินิกแก้หนี้” ที่ให้คำแนะนำปรึกษาทั่วราชอาณาจักร กับลูกหนี้รายย่อย ทั้งหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล ที่กลายเป็นหนี้เสีย หรือไม่ได้ชำระหนี้เกิน 120 วัน ขณะเดียวกัน ลูกหนี้ที่ยังไม่เป็นหนี้เสีย แต่มีปัญหาผ่อนจ่ายไม่ไหว รายได้ลดลง ธปท. ก็ได้เปิดโครงการ หมอหนี้เพื่อประชาชน ในการให้คำปรึกษา และเสนอทางเลือกในการเจรจากับเจ้าหนี้ เป็นทางออกอีกทางในการแก้ปัญหาหนี้ที่ประสบอยู่ ฉัตรบดินทร์ สร้อยแก้ว ผู้ตรวจสอบอาวุโส ฝ่ายคุ้มครองและส่งเสริมความรู้ผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผู้มีประสบการณ์ในโครงการ หมอหนี้เพื่อประชาชน เล่าว่า โครงการหมอหนี้จะดูหนี้ทั้งหมด ทั้งหนี้ในระบบ หรือหนี้นอกระบบด้วย การแก้หนี้ต้องดูในภาพรวมทั้งหมด การเลือกดูตัวใดตัวหนึ่งอาจจะกระทบในภาพรวมได้ โดยต้องให้ได้ข้อมูลลูกหนี้ครบถ้วน การได้ข้อมูลเพียงบางส่วน จะแก้ไขหนี้ไมได้ ลูกหนี้บางรายมีทั้งหนี้ในระบบและนอกระบบ แต่ให้ข้อมูลแค่หนี้ในระบบ ตรงนี้ทำให้แก้ไขได้ยาก หนี้นอกระบบถ้าจำนวนไม่มาก ก็มีช่องทางช่วย อาจจะขอคุยกับเจ้าหนี้ จ่ายดอกเบี้ยมาเยอะแล้ว ต่อไปจ่ายแต่เงินต้นได้มั้ย เจรจากันได้ หรือบางทีมีสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ ไมโครไฟแนนซ์ ที่ภาครัฐออกมา ก็กู้ตรงนี้มาโปะหนี้นอกระบบได้ ฉัตรบดินทร์ ฝากไว้สำหรับคนที่เป็นหนี้และมีปัญหาว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหลายช่องทางในการให้ความช่วยเหลือ โดยการเสิร์ชใน google คำว่า หมอหนี้เพื่อประชาชน หรือจะเข้า เว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย https://www.bot.or.th แล้วคลิกที่หมวดร้องเรียน แล้วคลิกหมอหนี้เพื่อประชาชน นอกจากนี้ยังมีโครงการอื่น ๆ เช่น คลินิกแก้หนี้ในกรณีที่เป็นหนี้เสีย ไม่ได้ชำระเกิน 120 วัน ไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคลล สามารถเข้าโครงการนี้ได้ ปรึกษาในเว็บไซต์คลินิกแก้หนี้ได้ แล้วก็มีทางด่วนแก้หนี้ เป็นช่องทางที่เชื่อมให้ลูกหนี้ได้คุยกับเจ้าหนี้ได้โดยตรง อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ เป็นหนี้ต้องมีวันจบ (13) กู้ในระบบ-นอกระบบ ถ้าบอกครบ(หมอหนี้)ช่วยจบหนี้ได้ ได้ที่เว็บไซต์ไทบพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/08/how-to-get-out-of-debt-12/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #เป็นหนี้ต้องมีวันจบ #ธปท #responsibleborrower #responsiblelending
2023-08-24
31 min
ThaiPublica
เป็นหนี้ต้องมีวันจบ EP12 ‘ไกล่เกลี่ยหนี้’ ทางออกปัญหาหนี้สิน ที่ไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการศาล
ซีรีส์ “เป็นหนี้ต้องมีวันจบ” นำเสนอแนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งประสบการณ์ตรงของลูกหนี้ที่แก้ไขปัญหาหนี้สำเร็จและไม่สำเร็จ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีภาระหนี้มีช่องทาง วิธีการแก้หนี้ มองเห็นทางออก มีความหวัง เพื่อเป็นพลังให้ต่อสู้ชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต ซีรีส์นี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ภาคประชาชนครบวงจร การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่มุ่งแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน โดยกลุ่มหนึ่งที่ได้รับการดูแลคือกลุ่มที่มีปัญหาหนี้เสีย หรือไม่สามารถชำระหนี้ได้เกิน 3 เดือน ที่ได้รับการสนับสนุน ผลักดันให้มีการเจรจาหารือกับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ผ่านกระบวนการต่าง ๆ รวมถึงกระบวนการไกล่เกลี่ยหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้สามารถหลุดพ้นจากวงจรการเป็นหนี้ได้ จิตเกษม พรประพันธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายคุ้มครองและส่งเสริมความรู้ผู้ใช้บริการทางการเงิน ธปท. กล่าวว่า กระบวนการไกล่เกลี่ยหนี้ เป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ภายใต้ข้อเท็จจริง 8 ประการ เช่น คนไทยเป็นหนี้เยอะ เป็นหนี้เร็ว เป็นหนี้นาน รวมถึงเป็นหนี้เสีย โดยแนวทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนจะมี 3 หลักการ คือ ทำครบวงจร ทำให้ตรงจุด และทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน ทำครบวงจร คือ วงจรของหนี้ ตั้งแต่ก่อนเป็นหนี้ ขณะเป็นหนี้ และเป็นหนี้เสียแล้ว ธปท.ได้มีการลงนามความร่วมมือกับ 3 เสาหลักด้านกระบวนการยุติธรรม คือ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด และศาลยุติธรรม โดยกระทรวงยุติธรรม จะมีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพที่คอยสนับสนุนให้เกิดการไกล่เกลี่ยตามพ.ร.บ.การไกล่เกลี่ยภาคประชาชน พ.ศ.2562 เป็นการไกล่เกลี่ยคดีอาญา และคดีแพ่ง ทั้งที่กำลังจะขึ้นสู่ศาล หรือขึ้นสู่ศาลแล้ว หรืออาจจะตัดสินแล้ว ลูกหนี้จะมีบทบาทในกระบวนการเจรจามากขึ้น เมื่อลูกหนี้และเจ้าหนี้สามารถเจรจาตกลงแก้ไขปัญหาหนี้กันได้ ลูกหนี้จะไม่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายสู้คดี สามารถประกอบธุรกิจหรือทำงานต่อไปได้ ในขณะที่เจ้าหนี้จะได้รับประโยชน์จากการได้รับชำระหนี้คืน อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ เป็นหนี้ต้องมีวันจบ (12): ‘ไกล่เกลี่ยหนี้’ ทางออกปัญหาหนี้สิน ที่ไม่ต้องเข้าไปสู่กระบวนการศาล ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/08/how-to-get-out-of-debt-11/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook,Youtube,Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify #เป็นหนี้ต้องมีวันจบ #ธปท #responsibleborrower #responsiblelending
2023-08-20
25 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP 56 ซูเปอร์เอลนีโญ เราจะรอดอย่างไร เมื่อฝนแล้งในหน้าฝน
รับมือซุปเปอร์เอลนีโญ กับ “อรรถเศรษฐ์ เพชรมีศรี” ผู้เชี่ยวชาญการจัดการน้ำ ที่ปรึกษา นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร เมื่อไม่นานมานี้ ศูนย์พยากรณ์สภาพอากาศ แห่งองค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ได้ออกรายงานเตือนภัยเอลนีโญ ซึ่งสอดคล้องกับการพยากรณ์ด้วยแบบจำลองสภาพภูมิอากาศของหลายสำนักอุตุนิยมวิทยาทั่วโลก ที่เตือนว่า…. โลกอาจเผชิญกับปรากฏการณ์’ซูเปอร์เอลนีโญ’ในปลายปีนี้ ในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้น อากาศจะร้อนขึ้น คลื่นความร้อนจะรุนแรงขึ้น ฤดูร้อนยาวนานขึ้น และพายุที่รุนแรงขึ้น ประเทศไทยจะรับมืออย่างไร โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ไทยพับลิก้า พูดคุยกับ “อรรถเศรษฐ์ เพชรมีศรี” ผู้เชี่ยวชาญการจัดการน้ำ ที่ปรึกษา นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ซึ่งบอกว่า ประเทศไทยเข้าสู่ปรากฎการณ์เอลนีโญเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปสัมพันธ์โดยตรงกับปรากฏการณ์เอลนีโญที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ และสถานการณ์ในครั้งนี้อาจจะรุนแรงกว่าทุกครั้งที่เคยเกิดขึ้น กรุงเทพมหานครได้ติดตามการบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทานมาโดยตลอดและพบว่า ปริมาณน้ำ 4 เขื่อนใหญ่ในพื้นที่ภาคกลาง เพื่อใช้น้ำในพื้นที่เกษตรมีความน่าเป็นห่วง และพบว่า เขื่อนภูมิพลยังมีปริมาณน้ำใช้ได้ประมาณ 23 % เปรียบเทียบกับปีที่แล้ว 28 % เขื่อนสิริกิตติ์มีปริมาณน้ำ 12 % เทียบกับปีที่แล้วมีปริมาณน้ำประมาณ 14 % เขื่อนแควน้อยบำรุงแดนขณะนี้เหลือปริมาณฯ 13 % ปีที่แล้ว 28 % โดยเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีปริมาณน้ำน้อยที่สุดคือ 11 % เทียบกับปีที่แล้ว 21 % ปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ที่เหลืออยู่ หากไม่มีฝนมาเติมน้ำต้นทุนอาจจะส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรในพื้นที่ลุ่มภาคกลางตั้งแต่สระบุรีลงมาถึงกทม. สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ ประชาชน ภาคอุสาหกรรมต้องหันมาประหยัดน้ำ เพื่อรับมือกับซุปเปอร์เอลนีโญ อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ ซูเปอร์เอลนีโญ เราจะรอดอย่างไร (3) : กทม.เตือนประหยัดน้ำ รับมือ “เอลนีโญ”แล้งรุนแรง ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/08/super-el-nino-how-will-we-survive03/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook,Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify #ซูเปอร์เอลนีโญ #ฝนแล้งหน้าฝน
2023-08-15
1h 06
ThaiPublica
เป็นหนี้ต้องมีวันจบ EP 11 โครงการ 'หมอหนี้เพื่อประชาชน' อีกหนึ่งทางออกปลดภาระหนี้และเป็นไท
ซีรีส์ “เป็นหนี้ต้องมีวันจบ” นำเสนอแนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งประสบการณ์ตรงของลูกหนี้ที่แก้ไขปัญหาหนี้สำเร็จและไม่สำเร็จ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีภาระหนี้มีช่องทาง วิธีการแก้หนี้ มองเห็นทางออก มีความหวัง เพื่อเป็นพลังให้ต่อสู้ชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต ซีรีส์นี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ภาคประชาชนครบวงจร เป็นหนี้ต้องมีวันจบตอนนี้ เป็นเรื่องราวของคุณต๊อบ อดีตนักกีฬาทีมชาติ ที่ตั้งใจทำธุรกิจการค้าทุกอย่างเพื่อเลี้ยงชีพ มีหนี้แต่ไม่ใช่เพราะใช้จ่ายฟุ่มเฟือย แต่เพื่อซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ ที่เจ้าตัวบอกว่า อาจจะเกินตัวไปบ้าง ประกอบกับความไม่รู้ ทำให้เมื่อประสบปัญหารายได้ ไม่สามารถชำระหนี้ได้ เจอหมายศาล ก็เลยคิดจะหนี ไม่จ่าย แต่หลังจากได้รับคำแนะนำจากผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย และเข้าโครงการ “หมอหนี้เพื่อประชาชน” ทำให้มีทางออก สามารถปลดภาระหนี้ เป็นไทกับตัวเอง และยังมีการวางแผนการใช้จ่ายอย่างมีวินัยอีกด้วย คุณต๊อบ เล่าว่า มีหนี้บ้าน หนี้รถ หนี้บัตรเครดิต ร่วม 8-9 ล้านบาท แม้มีการปรับโครงสร้างหนี้ ลดค่าใช้จ่าย และเข้ามาตรการช่วยเหลือของรัฐช่วงโควิด แต่รายได้ไม่ครอบคลุมยอดการชำระหนี้ สุดท้ายเมื่อชำระหนี้ไม่ไหวจริง ๆ ก็ได้รับหมายศาล แต่หลังจากเข้าโครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน ธนาคารเจ้าหนี้ก็ได้ติดต่อและให้แนวทางการแก้ปัญหา โดยเสนอให้คืนทรัพย์ใช้หนี้ พอทำกระบวนการทุกอย่างเสร็จ ทำให้เป็นไทเดือนมกราคม 2566 ที่ผ่านมา อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ป็นหนี้ต้องมีวันจบ (11): โครงการ 'หมอหนี้เพื่อประชาชน' อีกหนึ่งทางออกปลดภาระหนี้และเป็นไท https://thaipublica.org/2023/08/how-to-get-out-of-debt-10/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #เป็นหนี้ต้องมีวันจบ #ธปท #responsibleborrower #responsiblelending
2023-08-11
29 min
ThaiPublica
เป็นหนี้ต้องมีวันจบ EP 10 จากมีหนี้บัตรเครดิต มาเป็น Fin. Trainer ด้วยโครงการ Fin. ดี Happy Life
ซีรีส์ “เป็นหนี้ต้องมีวันจบ” นำเสนอแนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งประสบการณ์ตรงของลูกหนี้ที่แก้ไขปัญหาหนี้สำเร็จและไม่สำเร็จ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีภาระหนี้มีช่องทาง วิธีการแก้หนี้ มองเห็นทางออก มีความหวัง เพื่อเป็นพลังให้ต่อสู้ชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต ซีรีส์นี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ภาคประชาชนครบวงจร คุณเปิ้ล ก็เหมือนคนรุ่น Gen X ทั่วไปที่พอเริ่มทำงาน ก็มีบัตรเครดิต หลายใบด้วย รวมทั้งกู้เพื่อซื้อรถยนต์ คือเป็นมนุษย์เงินเดือนที่คิดว่าพอสิ้นเดือนก็จ่ายหนี้ กระทั่งบริษัทส่งไปอบรมคอร์ส Fin. Trainer ที่ใช้เวลา 2 วัน มีกิจกรรมต่าง ๆ ให้ทำ ตั้งแต่การตรวจสุขภาพทางการเงิน กิจกรรมเงินหายไปไหน การวางเป้าหมาย และได้มีโอกาสตรวจสุขภาพทางการเงิน ซึ่งผลออกมาแย่มาก มีหนี้เกินกว่า 70% หนักมาก จนต้องมานั่งมองว่า เกิดอะไรขึ้น เงินหายไปไหน คุณเปิ้ล บอกว่า ด้วยวิธีการที่ได้รับการฝึกอบรมมา ทำรายรับรายจ่าย แล้วตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกแล้ว ทำให้ปลดหนี้ที่มีอยู่ได้ภายใน 1 ปี รวมถึงหนี้ผ่อนรถ ปัจจุบันแม้จะมีบัตรเครดิต 2 ใบ แต่จะจ่ายเต็มจำนวน เพราะจะรู้ลิมิตของตัวเอง คือใช้เงินเป็น และตั้งใจจะไม่เป็นหนี้อีก หลังจากเข้าคอร์ส Fin. Trainer แล้ว คุณเปิ้ล ก็ได้นำความรู้ที่ได้มาเป็นเทรนเนอร์ให้กับคนในองค์กรที่มีพนักงานไม่มาก โดยสอนจากกิจกรรมที่ไปอบรมมา ทำให้เขาเข้าใจเรื่องระบบการเงินมากขึ้น โครงการ Fin. ดี Happy Life!!! เป็นโครงการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ริเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับพฤติกรรมและสร้างทักษะทางการเงินให้แก่กลุ่มคนวัยทำงาน ซึ่งมีการจัดฝึกอบรมให้กับตัวแทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ตัวแทนเหล่านั้นกลับไปเป็นวิทยากรทางการเงินประจำหน่วยงาน หรือที่ Fin. Trainer ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้ด้านการวางแผนการเงินและการบริหารจัดการหนี้ รวมถึงการจัดกิจกรรมกระตุ้นพฤติกรรมและติดตามผลของเพื่อนพนักงานในหน่วยงานของตน อันเป็นส่วนหนึ่งในการให้ความรู้ทางการเงิน และสร้างวินัยทางการเงินแก่กลุ่มคนต่างๆ อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม เป็นหนี้ต้องมีวันจบ (10): จากมีหนี้บัตรเครดิต มาเป็น Fin. Trainer ด้วยโครงการ Fin. ดี Happy Life ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/08/how-to-get-out-of-debt-09/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #เป็นหนี้ต้องมีวันจบ #ธปท #responsibleborrower #responsiblelending
2023-08-05
21 min
ThaiPublica
เป็นหนี้ต้องมีวันจบ EP9 เป็นหนี้เรื้อรังจนเกษียณ เพราะไม่มีความรู้ทางการเงิน
ซีรีส์ “เป็นหนี้ต้องมีวันจบ” นำเสนอแนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งประสบการณ์ตรงของลูกหนี้ที่แก้ไขปัญหาหนี้สำเร็จและไม่สำเร็จ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีภาระหนี้มีช่องทาง วิธีการแก้หนี้ มองเห็นทางออก มีความหวัง เพื่อเป็นพลังให้ต่อสู้ชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต ซีรีส์นี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ภาคประชาชนครบวงจร เรื่องราวของ คุณครู ศิริเลิศ ชูชาติ ข้าราชการบำนาญ จังหวัดมหาสารคาม อายุ 70 กว่าปี ที่กู้เงินตั้งแต่เริ่มรับราชการ เพื่อสร้างบ้านสำหรับอยู่อาศัย และคิดว่าตนเองมีการชำระหนี้ตรงตามเวลาทุกงวด แต่จนเกษียณอายุมาได้ 10 กว่าปีแล้วเงินต้นแทบไม่ลดลง ซึ่ง จิตเกษม พรประพันธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายส่งเสริมความรู้ทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้ว่า กรณีนี้ถือเป็นหนี้เรื้อรัง ที่เกิดจากการไม่มีความรู้ทางการเงิน เพราะที่ครูคิดว่า จ่ายตรงเวลานั้น เป็นการจ่ายเฉพาะหนี้ขั้นต่ำ ซึ่งไปตัดเฉพาะดอกเบี้ย แต่ไม่ตัดเงินต้น ทำให้ยอดหนี้คงค้างปัจจุบันสูงถึง 3.8 ล้านบาท ครูศิริเลิศ บอกว่า เงินกู้ทั้งหมดไม่ได้นำมาใช้จ่ายฟุ่มเฟือย แต่เป็นการกู้มาซื้อบ้านและที่ดิน กู้มาเพื่อส่งบุตรเรียนหนังสือ เพราะความที่เป็นข้าราชการครูมีเงินเดือนน้อย ก่อนเกษียณได้รับเงินเดือน 38,000 บาท และไม่มีอาชีพเสริมอย่างอื่น ค่าเล่าเรียนบุตรต้องกู้สวัสดิการทุกอย่างที่มี รวมถึงกู้ให้ตัวเองได้เรียนหนังสือเพื่อพัฒนาตัวเองด้วย และไม่เคยซื้อรถยนต์ มีแต่มอเตอร์ไซค์เท่านั้น จิตเกษม กล่าวว่า เมื่อดูจากภาระหนี้คงค้างแล้ว เหมือนครูศิริเลิศ แต่ละงวดจะชำระเฉพาะขั้นต่ำ ทำให้เงินที่ผ่อนชำระไม่ตัดเงินต้น หรือเงินต้นลดน้อยลงมาก ทำให้เงินกู้ธนาคารออมสิน เหลือเงินต้นพอสมควร 9.7 แสนบาท การชำระขั้นต่ำตลอดเวลาจะทำให้เงินต้นลดลงไม่มาก ภาระหนี้จึงยังเหลืออยู่ กรณีนี้ถือว่าเป็นหนี้เรื้อรัง ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวของชีวิตครูในชนบทคนหนึ่ง ที่เป็นหนี้เรื้อรังจนเกษียณมา 10 กว่าปีแล้วยังไม่สามารถปิดหนี้ได้ เป็นปัญหาของครูเกือบทั้งประเทศต้องแก้ไขอย่างเป็นระบบ ทั้งเรื่องเงินเดือน ภาระทางสังคม รวมถึงความรู้ทางการเงิน เกี่ยวกับการออม การหารายได้เพิ่ม ไปจนถึงการชำระหนี้ด้วย อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ป็นหนี้ต้องมีวันจบ (9):เป็นหนี้เรื้อรังจนเกษียณ เพราะไม่มีความรู้ทางการเงิน ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/07/how-to-get-out-of-debt-08/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #เป็นหนี้ต้องมีวันจบ #ธปท #responsibleborrower #responsiblelending
2023-07-31
37 min
ThaiPublica
เป็นหนี้ต้องมีวันจบ EP8 ลูกหนี้ที่ “ติดกับดักหนี้” แต่พบแสงสว่างเมื่อรู้จัก "คลินิกแก้หนี้"
ซีรีส์ “เป็นหนี้ต้องมีวันจบ” นำเสนอแนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งประสบการณ์ตรงของลูกหนี้ที่แก้ไขปัญหาหนี้สำเร็จและไม่สำเร็จ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีภาระหนี้มีช่องทาง วิธีการแก้หนี้ มองเห็นทางออก มีความหวัง เพื่อเป็นพลังให้ต่อสู้ชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต ซีรีส์นี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ภาคประชาชนครบวงจร ThaiPublica Podcast เป็นหนี้ต้องมีวันจบ ตอนนี้นำเสนอประสบการณ์ ลูกค้าคลินิกแก้หนี้รายหนึ่งซึ่งเล่าว่า ก่อนเข้าโครงการ ปัญหาคือ เป็นหนี้บัตรเครดิต จากการขาดวินัยในการใช้บัตร จริงๆ แล้ว บัตรเครดิตมีประโยชน์ในเรื่องอำนวยความสะดวก และเพิ่มสภาพคล่อง แต่ใช้จ่ายเกินตัว แม้วงเงินที่ธนาคารให้มาจำนวนมากพอสมควร คือ 3 แสนบาท ช่วงที่มีรายได้ดี ก็ใช้จ่ายมากเป็นเงาตามตัว ก็เอามาใช้จ่ายเต็มวงเงิน การเป็นหนี้ 3 แสนบาทถือว่าแสนสาหัส สำหรับคนที่เคยมีรายได้จำนวนมาก แต่พอเข้ามาติดกับดักนี้ ก็ถือว่าประสบชะตากรรม ต้องผิดนัดชำระหนี้กับสถาบันการเงิน ถูกสถาบันการเงินทวงหนี้ ทวงจากเบาไปหาหนัก จนท้ายที่สุดก็กลายเป็นหนี้เสีย คือขาดส่ง 90 วัน ก็เข้าสู่กระบวนการเร่งรัดให้ชำระหนี้ เพราะพอถึงทางตัน ไม่รู้ว่าทางออกเป็นอย่างไร ก็เลยต้องผิดนัดไป บังเอิญได้เห็นเพจของคลินิกแก้หนี้ ก็เข้าไปศึกษาดู พบว่าตัวเองเข้าเงื่อนไข พอมีคลินิกแก้หนี้ ก็มีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์เกิดขึ้น เป็นหนทางที่ทำให้มีทางรอดได้ และสามารถประคับประคองครอบครัวให้เดินต่อไปได้ อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม เป็นหนี้ต้องมีวันจบ (8) :ลูกหนี้บัตรเครดิตที่ “ติดกับดักหนี้” แต่พบแสงสว่างเมื่อรู้จัก "คลินิกแก้หนี้" ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/07/how-to-get-out-of-debt-07/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #เป็นหนี้ต้องมีวันจบ #ธปท #responsibleborrower #responsiblelending
2023-07-27
25 min
ThaiPublica
เป็นหนี้ต้องมีวันจบ EP 7 แก้หนี้พอกพูนไม่ง่าย แบงก์มีวิธีปรับโครงสร้างหนี้ต่างกัน
ซีรีส์ “เป็นหนี้ต้องมีวันจบ” นำเสนอแนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งประสบการณ์ตรงของลูกหนี้ที่แก้ไขปัญหาหนี้สำเร็จและไม่สำเร็จ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีภาระหนี้มีช่องทาง วิธีการแก้หนี้ มองเห็นทางออก มีความหวัง เพื่อเป็นพลังให้ต่อสู้ชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต ซีรีส์นี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ภาคประชาชนครบวงจร คุณเอ เป็นลูกหนี้อีกรายที่พัวพันกับหนี้สินจากบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล ด้วยพฤติกรรมการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย และไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ จนหนี้สินพอกพูนกลายเป็น 1 ล้านกว่าบาท แม้จะพยายามหาวิธีมาปิดบัญชีหนี้สิน ไม่ว่าจะเป็นการหยิบยืมจากคนรอบตัว ไปจนถึงการหารายได้พิเศษ แต่เมื่อเกิดโรคระบาดโควิด-19 ทำให้รายได้พิเศษหายวับไป ทำให้ต้องวิ่งเจรจากับเจ้าหนี้สถาบันการเงินไปทั่ว ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเมื่อเจ้าหนี้สถาบันการเงินมีวิธีการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ที่ไม่เหมือนกัน คุณเอ เล่าว่า ตอนนี้เป็นหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรกดเงินสด รวม ๆ แล้วประมาณ 1 ล้านกว่าบาท กับเจ้าหนี้สถาบันการเงิน 4 แห่งสาเหตุจากความฟุ่มเฟือย มีการใช้เงินเกินตัว ซึ่งอยากให้ทุกคนยอมรับในจุดนี้ ไม่ว่าจะเอาภาระที่บ้าน ลูก หรือค่าใช้จ่ายฉุกเฉินมาอ้าง แต่สุดท้ายมันเกิดจากการใช้เงินเกินกำลัง คุณเอ บอกว่า มีความตั้งใจที่จะชำระหนี้ ซึ่งสูตรสำเร็จ คือลดค่าใช้จ่าย หารายได้เพิ่ม ซึ่งก็พยายามลดรายจ่ายอยู่ โดยได้ติดต่อแบงก์ชาติ ผ่านคอลล์เซ็นเตอร์ เพราะต้องการเข้าโครงการคลินิกแก้หนี้ พอเข้าคลินิกแก้หนี้ไม่ได้ เพราะยังไม่เป็นหนี้เสีย จึงได้พยายามเจรจากับเจ้าหนี้ ซึ่งไม่ง่ายเจ้าหนี้สถาบันการเงินมีวิธีปรับโครงสร้างนี้ที่ต่างกัน อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม เป็นหนี้ต้องมีวันจบ (7) :ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินรายได้จนหนี้พอกพูน แก้หนี้ไม่ง่ายแบงก์มีวิธีปรับโครงสร้างหนี้ต่างกัน ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/07/how-to-get-out-of-debt-06/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #เป็นหนี้ต้องมีวันจบ #ธปท #responsibleborrower #responsiblelending
2023-07-24
32 min
ThaiPublica
เป็นหนี้ต้องมีวันจบ EP6 คลินิกแก้หนี้ ช่วยคนเป็นหนี้เสียบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคลกลับมายืนได้
ซีรีส์ “เป็นหนี้ต้องมีวันจบ” นำเสนอแนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งประสบการณ์ตรงของลูกหนี้ที่แก้ไขปัญหาหนี้สำเร็จและไม่สำเร็จ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีภาระหนี้มีช่องทาง วิธีการแก้หนี้ มองเห็นทางออก มีความหวัง เพื่อเป็นพลังให้ต่อสู้ชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต ซีรีส์นี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ภาคประชาชนครบวงจร โครงการคลินิกแก้หนี้ เป็นความร่วมมือของธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้ให้บริการทางการเงินทั้งที่เป็นสถาบันการเงินและไม่ใช่สถาบันการเงิน เพื่อแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน เริ่มดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 2560 โดยมุ่งเน้นการแก้ปัญหาหนี้รายย่อยในส่วนที่เป็นหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน (clean loan) โดยบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท หรือ SAM ได้ร่วมเป็นหนึ่งในความร่วมมือของโครงการคลินิกแก้หนี้ และยังดำเนินการอยู่จนถึงปัจจุบัน อุดม พลสมบัตินันท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่ม Clean Loan และคลินิกแก้หนี้ บริษัทบริหารสินทรัพย์ สุขุมวิท หรือ SAM กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของโครงการคลินิกแก้หนี้ว่า โครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2560 เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ มีความกังวลใจในเรื่องหนี้ครัวเรือน เพราะสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (GDP) เริ่มสูงขึ้น สิ่งแรกที่ทำคือ จะให้ความช่วยเหลืออย่างไรกับกลุ่มที่เป็นหนี้รายย่อยที่มีอยู่หลากหลาย โดยเริ่มจากหนี้ ที่เป็นสินเชื่อเพื่อการบริโภคก่อน พวกบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน จะทำกลุ่มนี้ก่อน โครงการคลินิกแก้หนี้ เป็นการร่วมกันแก้หนี้ของธนาคาร ผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน โดย SAM เป็นตัวกลาง ทำให้ครอบครัวดูแลตัวเองได้มากขึ้น ดีกว่าต่างคนต่างแก้หนี้กันไป ลูกค้าแต่ละคนก็มีรายได้จำกัด เจ้าหนี้แต่ละรายก็ต้องการได้หนี้ในส่วนของตนคืนก่อน แต่ถ้ามีการวางกติกาช่วยเหลือกัน จะทำให้เขาตั้งหลักได้ ชำระหนี้คืนได้ อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม เป็นหนี้ต้องมีวันจบ (6) : คลินิกแก้หนี้ ช่วยคนเป็นหนี้เสียบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคลกลับมายืนได้ ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/07/how-to-get-out-of-debt-05/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #เป็นหนี้ต้องมีวันจบ #ธปท #responsibleborrower #responsiblelending
2023-07-20
26 min
ThaiPublica
เป็นหนี้ต้องมีวันจบ EP5 ครูสู้ชีวิตกับหนี้ 8 ล้าน ตั้งใจปลดหนี้เพื่อความเป็นอยู่ดีขึ้น
ซีรีส์ “เป็นหนี้ต้องมีวันจบ”นำเสนอแนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งประสบการณ์ตรงของลูกหนี้ที่แก้ไขปัญหาหนี้สำเร็จและไม่สำเร็จ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีภาระหนี้มีช่องทาง วิธีการแก้หนี้ มองเห็นทางออก มีความหวัง เพื่อเป็นพลังให้ต่อสู้ชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต ซีรีส์นี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ภาคประชาชนครบวงจร เป็นหนี้ต้องมีวันจบตอนนี้ เป็นเรื่องราวของคุณครูอีกราย ที่สำนวนสมัยนี้ใช้คำว่า สู้ชีวิต แต่ถูกชีวิตสู้กลับจนแทบล้มคว่ำ เป็นหนี้ก้อนโตถึง 7-8 ล้านบาท เพราะใช้จ่ายไปกับการรักษาและดูแลลูกคนโตที่ตกชิงช้า แขนหัก ขาหัก ต้องเข้าโรงพยาบาลเป็นปี ระหว่างนั้นสามีก็ตกงาน ยังมีลูกคนเล็กอายุได้ไม่ถึงขวบ ทำให้ชีวิตต้องวนเวียนอยู่กับการกู้เงินจนกลายเป็นหนี้จำนวนมหาศาล ครูจึงเข้าขอคำแนะนำจากโครงการแก้หนี้ เพราะตั้งใจจะปลดหนี้ที่มีอยู่ เพื่อให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ครูบอกว่า ค่าใช้จ่ายตอนรักษาลูก เมื่อคำนวณย้อนกลับไปสูงมาก ทำให้ต้องกู้หมดทุกทาง จนล้ม แชร์ก็ล้ม ทั้งแชร์ที่เล่นกับคนอื่นไว้ หรือที่ตั้งเอง พอล้ม เพื่อนที่กู้เงินไว้มีสัญญาด้วย เขาก็ฟ้องยึดทรัพย์ ยึดบ้าน ตอนนี้ไม่มีบ้านแล้ว กลายเป็นแบล็คลิสต์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารออมสิน ชีวิตเกือบตาย ต้องหลบหน้าหลบตาผู้คน อยู่ไม่ได้ แต่ยังไปสอนหนังสือปกติ ทำงานปกติ แต่พยายามไม่เจอผู้คน "แต่โชคดีที่มีคนดูแลเรา คือพ่อแม่ น้อง เพื่อนอีก 5-6 คนที่ไม่ทิ้งกัน รวมทั้งผู้ใหญ่โรงเรียนก็เดินเรื่องช่วยให้ปิดยอดหนี้บางส่วน ถือว่ายืนขึ้นมาได้เพราะกำลังใจจากคนข้าง ๆ จนแม่ เพื่อน บอกให้ลุกขึ้น" ครูกลับมาขายขนมปังปิ้ง ลูกชิ้นปิ้ง ขายน้ำ จนมีรายได้ส่วนหนึ่งไปชำระหนี้ พอมีโครงการแก้หนี้ ก็เข้าไปขอคำปรึกษา ซึ่งพอได้รับคำแนะนำ ก็วางแผนว่าจะเคลียร์หนี้ให้หมดภายใน 5 ปี โดยเริ่มเคลียร์หนี้ในระบบให้หมดก่อน และจะไม่ก่อหนี้ใหม่ ไม่กู้เงินสหกรณ์ด้วย อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม เป็นหนี้ต้องมีวันจบ (5) : ครูสู้ชีวิตตั้งใจปลดหนี้หนี้ 8 ล้าน ขอคืนความสุขครอบครัว ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/07/how-to-get-out-of-debt-04/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #เป็นหนี้ต้องมีวันจบ #ธปท #responsibleborrower #responsiblelending
2023-07-16
44 min
ThaiPublica
เป็นหนี้ต้องมีวันจบ EP4 พฤติกรรมชอบดื่มของคนในครอบครัว นำไปสู่หนี้จำนำทองที่ยังใช้คืนไม่หมด
ซีรีส์ “เป็นหนี้ต้องมีวันจบ”นำเสนอแนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งประสบการณ์ตรงของลูกหนี้ที่แก้ไขปัญหาหนี้สำเร็จและไม่สำเร็จ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีภาระหนี้มีช่องทาง วิธีการแก้หนี้ มองเห็นทางออก มีความหวัง เพื่อเป็นพลังให้ต่อสู้ชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต ซีรีส์นี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ภาคประชาชนครบวงจร เป็นหนี้ต้องมีวันจบตอนนี้ แชร์ประสบการณ์ลูกหนี้ ซึ่งเป็นคุณครูในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ที่ครอบครัวมีรายได้เดือนละ 45,000 บาท แต่สุดท้ายกลับเป็นหนี้ เพราะสามีมีพฤติกรรมติดเหล้า ติดเบียร์ ทำให้รายได้ของสามีแทบไม่เหลือ เมื่อรวมกับหนี้อื่น ๆ และค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันแล้ว ครอบครัวนี้จึงชักหน้าไม่ถึงหลัง และต้องกู้เงินด้วยการเอาทองที่มีอยู่ 2 บาทไปจำนำกับร้านทอง เสียดอกเบี้ยถึงเดือนละ 600 บาท เมื่อมีโครงการแก้หนี้ ครูจึงตัดสินใจไปขอรับคำปรึกษาเพื่อหาทางแก้หนี้ที่มี เพราะมีความตั้งใจจะจ่ายหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยให้หมด ครูบอกว่า สิ่งที่อยากฝากไว้คือ เป็นหนี้แล้วควรต้องคืน สำหรับครูคิดว่าสามารถเคลียร์หนี้ก้อนนี้ได้ แม้จะไม่รู้ว่าจะจ่ายหนี้จบได้เมื่อไหร่ แต่จะพยายามจ่ายให้จบเร็วที่สุด อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม เป็นหนี้ต้องมีวันจบ (4) พฤติกรรมชอบดื่มของคนในครอบครัว นำไปสู่หนี้จำนำทองที่ยังใช้คืนไม่หมด ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/07/how-to-get-out-of-debt-03/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #เป็นหนี้ต้องมีวันจบ #ธปท #responsibleborrower #responsiblelending
2023-07-12
19 min
ThaiPublica
เป็นหนี้ต้องมีวันจบ EP3 ธปท.คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินให้ได้รับบริการที่เป็นธรรม
ซีรีส์ “เป็นหนี้ต้องมีวันจบ”นำเสนอแนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งประสบการณ์ตรงของลูกหนี้ที่แก้ไขปัญหาหนี้สำเร็จและไม่สำเร็จ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีภาระหนี้มีช่องทาง วิธีการแก้หนี้ มองเห็นทางออก มีความหวัง เพื่อเป็นพลังให้ต่อสู้ชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต ซีรีส์นี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ภาคประชาชนครบวงจร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ดำเนินการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนมาตั้งแต่ก่อนเกิดปัญหาโรคระบาดโควิด-19 จนถึงปัจจุบัน โดยมีการปรับปรุงเปลี่ยน แปลงแนวทางการแก้ไขปัญหามาเป็นระยะ พร้อมทั้งตั้งฝ่ายคุ้มครองและส่งเสริมความรู้ผู้ใช้บริการทางการเงินขึ้นมารองรับ เพื่อให้ผู้ให้บริการทางการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับของ ธปท. ให้บริการลูกค้าอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม อรมนต์ จันทพันธ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายคุ้มครองและส่งเสริมความรู้ผู้ใช้บริการทางการเงิน ธปท. กล่าวว่า ในการให้ผู้ใช้บริการทางการเงินทุกคนได้รับบริการที่เป็นธรรมได้ มีบทบาท 2-3 อย่างที่เกี่ยวข้องกันอยู่ และต้องทำให้สำเร็จไปพร้อมกัน เรื่องแรก คือการกำกับดูแล โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำที่ผู้ให้บริการจะต้องทำสัญญา และกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ กับผู้ใช้บริการ ว่าต้องอยู่ในระดับไหนถึงจะเรียกว่าเป็นธรรม ซึ่งคำหลักที่ใช้เวลานี้ คือ 4 ไม่ ต้องไม่ยอม ไม่บังคับ ไม่รบกวน และไม่เอาเปรียบ เรื่องที่สอง คือ ในมุมผู้ใช้บริการอาจมีปัญหา และควรเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการในการแก้ไขปัญหา ถ้าผู้ให้บริการแก้ไขแล้วไม่ได้มาตรฐาน ก็มีช่องทางให้ผู้ใช้บริการร้องเรียนได้ผ่านหมายเลข 1213 นอกจากคุ้มครองแล้ว ก็ต้องส่งเสริมความรู้ด้วยสำหรับผู้ใช้บริการ จะได้เป็นเหมือนวัคซีนป้องกันตัวเองจากความผิดพลาดต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ เเป็นหนี้ต้องมีวันจบ (3) ธปท. คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินให้ได้รับบริการที่เป็นธรรม ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/06/how-to-get-out-of-debt-02/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #เป็นหนี้ต้องมีวันจบ #ธปท #responsibleborrower #responsiblelending
2023-07-05
25 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP 55 กัณวีร์ สืบแสง พรรคเป็นธรรม ชูสันติภาพกินได้
เปิดใจคุย ปรากฎการณ์การเมืองใหม่ กับ "กัณวีร์ สืบแสง" เลขาธิการพรรคเป็นธรรม ในฐานะ ส.ส.บัญชีรายชื่อเพียงคนเดียวของพรรคฯ กะเทาะรากเหง้าปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ ทำไม 19 ปี ทุ่มงบ 5 แสนล้าน แก้ปัญหาไม่ได้ เสนอ ยกเลิกกฎอัยการศึก ,ยุบกอรมน., ศอ.บต. พาทหารกลับบ้าน ทำความสะอาดถนน ยกเลิกด่านความมั่นคง 1,800 ด่าน ให้จังหวัดจัดการตัวเอง ไม่ใช่แบ่งแยกดินแดน ย้อนเส้นทางการเมืองพรรคเป็นธรรม ไม่ใช่พรรคใหม่ที่พึ่งเปิดตัวในการเลือกตั้งปี2566 แต่ได้เริ่มทำงานการเมืองมาแล้วในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ในนาม พรรคกลาง โดยลงเลือกตั้งในปี 2562 และ เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ดร.ปิติพงศ์ เต็มเจริญ หัวหน้าพรรคเป็นธรรม ต้องการสร้างการเมืองใหม่ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “พรรคเป็นธรรม”เพื่อลงสนามเลือกตั้งในปี 2566 โดยชูนโยบายการสร้างสันติภาพในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ พาทหารกลับ ด้วยนโยบายสิทธิมนุษยชนนำการเมืองทำให้ได้รับคะแนนโหวต 181,226 คะแนน และได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อ 1 คน ส่วนเส้นทางการเมืองของ "กัณวีร์ " ส.ส. บัญชีรายชื่อคนเดียวของพรรคฯ เริ่มทำงานการเมืองเมื่อ 2 ปีก่อนหน้านั้น เคยร่วมงานกับ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พรรคไทยสร้างไทย โดยถูกวางตัวให้เป็นผู้สมัคร ส.ส. เขตสวนหลวง กทม. แต่ด้วยความสนใจงานด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ 3จังหวัดชายแดนใต้ จึงตัดสินใจยุติงานการเมือง มาตั้ง “มูลนิธิสิทธิเพื่อสันติภาพ Peace Rights Foudation” เพื่อทำงานด้านสิทธิมนุษยชน และการสร้างสันติภาพในพื้นที่ชายแดนใต้ จนเข้ามาทำงานการเมือง โดยยึดหลักสิทธิมนุษยชน และ สร้างสันติภาพนำการเมือง อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ “กัณวีร์ สืบแสง" พรรคเป็นธรรม ชูสันติภาพกินได้ กระจายอำนาจ 3 จว.ชายแดนใต้ “จัดการตนเอง”ไม่ใช่แบ่งแยกดินแดน ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/06/responsible-election48-2566-16-06-2566/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook,Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify #เลือกตั้งอย่างรับผิดชอบ2566 #ปรากฎการณ์การเมืองใหม่
2023-06-29
1h 04
ThaiPublica
เป็นหนี้ต้องมีวันจบ EP2 คนไทยเป็นหนี้เร็ว เป็นหนี้เยอะ เป็นหนี้นาน และเป็นหนี้เสีย
ซีรีส์ “เป็นหนี้ต้องมีวันจบ”นำเสนอแนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งประสบการณ์ตรงของลูกหนี้ที่แก้ไขปัญหาหนี้สำเร็จและไม่สำเร็จ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีภาระหนี้มีช่องทาง วิธีการแก้หนี้ มองเห็นทางออก มีความหวัง เพื่อเป็นพลังให้ต่อสู้ชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต ซีรีส์นี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ภาคประชาชนครบวงจร ในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน โดยเฉพาะหลังเกิดสถานการณ์โรคระบาดโควิด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีการออกมาตรการหลายมาตรการ ไปพร้อมกับการจัดเก็บข้อมูล รวมถึงการแยกแยะและวิเคราะห์ข้อมูลหนี้ครัวเรือน เพื่อให้การแก้ไขเป็นไปอย่างเป็นระบบและมีความยั่งยืน จิตเกษม พรประพันธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายคุ้มครองและส่งเสริมความรู้ผู้ใช้บริการทางการเงิน ธปท. กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ปัญหาหนี้ พบว่าคนไทยเป็นหนี้เร็ว เป็นหนี้เยอะ เป็นหนี้นาน และเป็นหนี้เสีย เป็นหนี้เร็ว หมายความว่า เป็นหนี้ตั้งแต่อายุน้อย คนรุ่น Gen Z คือวัยเริ่มทำงาน อายุ 25-29 ปี กลุ่มนี้มีประมาณ 4.8 ล้านคน และเกือบ 58% ของคนกลุ่มนี้เริ่มกู้ เป็นหนี้ตั้งแต่อายุน้อย และใน 58% นี้ได้กลายเป็นหนี้เสียแล้ว 1 ใน 4 อีกด้วย เป็นหนี้เยอะ คือ บางคนมีบัตรหลายใบรูดเพื่อใช้จ่าย ใช้จ่ายเสร็จก็กู้ซํ้า กู้บัตรนี้ไปจ่ายบัตรนั้น หมุนเวียนไป แล้วมีหลายบัญชี ปรากฏว่า คนเหล่านี้กู้ถึง 10-25 เท่าของรายได้ ถ้าเป็นประเทศอื่นจะราว ๆ 5-12 เท่า เป็นหนี้นาน โดยพบว่าอายุมากกว่า 60 ปีแล้วยังเป็นหนี้อยู่เฉลี่ยรายละประมาณ 4 แสนกว่าบาท พออายุมาก เกษียณอายุแล้ว รายได้ไม่เหมือนเดิม ความสามารถในการชำระหนี้ก็ย่อหย่อนลงไป สุดท้าย เป็นหนี้เสีย ช่วงเกิดโรคระบาดโควิด เกิดหนี้เสียจำนวนมาก จากข้อมูลเครดิตบูโร พบว่าเงินกู้ 82 ล้านบัญชี เป็นหนี้เสีย 10 ล้านบัญชี ในจำนวนนี้มี 4.5 ล้านบัญชีที่เป็นหนี้เสียช่วงเกิดโควิด โดย 4.5 ล้านบัญชีเป็นหนี้ที่อยู่ในสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 70% จิตเกษม กล่าวว่า ถ้าไม่ทำอะไรเลยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนจะอยู่ที่ระดับ 84% ของผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (จีดีพี) สิ่งเหล่านี้ต้องช่วยกันทำ และต้องใช้เวลา อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ เป็นหนี้ต้องมีวันจบ (2) คนไทยเป็นหนี้เร็ว เป็นหนี้เยอะ เป็นหนี้นาน และเป็นหนี้เสีย ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/06/how-to-get-out-of-debt-01/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #เป็นหนี้ต้องมีวันจบ #ธปท #responsibleborrower #responsiblelending
2023-06-27
27 min
ThaiPublica
เป็นหนี้ต้องมีวันจบ EP1 ธปท. แก้หนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน เน้นคุณภาพชีวิตลูกหนี้
ซีรีส์ “เป็นหนี้ต้องมีวันจบ”นำเสนอแนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งประสบการณ์ตรงของลูกหนี้ที่แก้ไขปัญหาหนี้สำเร็จและไม่สำเร็จ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีภาระหนี้มีช่องทาง วิธีการแก้หนี้ มองเห็นทางออก มีความหวัง เพื่อเป็นพลังให้ต่อสู้ชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต ซีรีส์นี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ภาคประชาชนครบวงจร ปัญหาหนี้ครัวเรือนส่งผลกระทบต่อสังคมไทยและเศรษฐกิจไทยมาเป็นเวลานาน ยิ่งเจอสถานการณ์โรคระบาดโควิด ยิ่งทำให้ปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงร่วมมือกับหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน วางแนวทางในแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน โดยสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เป้าหมายการแก้หนี้ครัวเรือน ไม่ได้คำนึงแต่เพียงตัวเลขหนี้ที่ลดลงเท่านั้น แต่ที่สำคัญคือ การคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของลูกหนี้ที่ไม่แย่ลง มีความสุขขึ้นด้วย ธปท. ร่วมกับหลายหน่วยงานในการเข้ามาแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนให้ได้อย่างยั่งยืนตั้งแต่ปี 2563 ทั้งกระทรวงการคลัง ภาครัฐอื่นๆ เจ้าหนี้สถาบันการเงิน เจ้าหนี้ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน หรือนอนแบงก์ สุวรรณีกล่าวว่า เป้าหมายของการแก้หนี้ คือ ให้ลูกหนี้กลับมาเป็นหนี้มีคุณภาพ คือ เป็นหนี้เมื่อจำเป็น หรือเป็นหนี้ที่สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ ไม่เป็นหนี้เรื้อรัง และย้ำว่า “สิ่งที่ ธปท. และทางการต้องการมากกว่า คือคุณภาพชีวิตของลูกหนี้ ถ้าเขาเป็นหนี้เสีย เขาก็จะไม่มีความสุขในชีวิต” อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ เป็นหนี้ต้องมีวันจบ (1) : ธปท. จับมือหลายภาคส่วน วางแนวทางแก้หนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน เน้นคุณภาพชีวิตลูกหนี้ ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/06/how-to-get-out-of-debt/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #เป็นหนี้ต้องมีวันจบ #ธปท #responsibleborrower #responsiblelending
2023-06-26
29 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP 54 อลงกรณ์ พลบุตร สะท้อนบทเรียน พรรคประชาธิปัตย์ กับ wave of change การเมืองไทย
มองปรากฎการณ์การเมืองใหม่หลังเลือกตั้ง 2566 จาก “อลงกรณ์ พลบุตร” รักษาการ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อลงกรณ์ พลบุตร สะท้อนบทเรียน ความพ่ายแพ้ ของ พรรคประชาธิปัตย์ ผ่านชัยชนะพรรคก้าวไกล กับ ปรากฎการณ์การเมืองใหม่ wave of change การเลือกตั้งสุจริต ไม่ซื้อเสียง ความกล้าหาญ และตรงไปตรงมา ถึงเวลาปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์ กลับมายืนให้ถูกที่ถูกเวลา บนหลักการประชาธิปไตย ที่ผ่านมาในปี 2556 “ อลงกรณ์ “เคยเสนอให้มีการปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์ และหลังการเลือกตั้งในปี 2566 ที่ผ่านมา ก็ได้เสนอให้มีการปฏิรูปพรรคอีกครั้ง หลังชัยชนะของพรรคก้าวไกล ได้สร้างปรากฎการณ์ใหม่ ที่การเลือกตั้งแบบไม่ซื้อเสียง และความตรงไปตรงมาของนโยบายทำให้นำมาสู่ชัยชนะ คือบทเรียน สะท้อนไปยัง “พรรคประชาธิปัตย์” พรรคการเมืองเก่าแก่ ที่มีความเป็นสถาบันทางการเมือง และเคยเป็นพรรคใหญ่ แต่ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ทำให้พรรคประชาธิปัตย์กลายเป็นพรรคขนาดกลางและขนาดเล็กที่มี ส.ส.เพียง 24 ที่นั่งเท่านั้น อะไรคือจุดอ่อน ?ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ไม่ถูกเลือกในการเลือกตั้งครั้งนี้ “อลงกรณ์ พลบุตร” ได้วิเคราะห์ จุดเปลี่ยนการเมืองไทย พร้อมเสนอให้ปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์เพื่อให้ทันกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หลังเกิดจากการ disruptive politics เรียกได้ว่าเป็น ปรากฎการณ์การเมืองใหม่ อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ ถึงเวลาต้องปฏิรูป บทเรียน “พรรคประชาธิปัตย์” ผ่านเลือกตั้ง 2566 กับปรากฏการณ์ wave of change การเมืองไทย ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/06/responsible-election2566-16-06-2566/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook,Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify #เลือกตั้งอย่างรับผิดชอบ2566 #พรรคประชาธิปัตย์ #ปรากฏการณ์waveofchange #การเมืองไทย
2023-06-17
53 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP 53 เลือกตั้งอย่างรับผิดชอบ วราวุธ ศิลปอาชา เปลี่ยนชาติไทยพัฒนา
ในการเลือกตั้ง2566 พรรคชาติไทยพัฒนา เปิดแคมเปญหาเสียง WOW Thailand “ว้าว ไทยแลนด์” ที่มาจาก “Wealth Opportunity and Welfare For All” หรือ “การสร้างความมั่งคั่ง สร้างโอกาส และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีเพื่อประชาชน” “วราวุธ ศิลปอาชา “ หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า พรรคชาติไทยพัฒนาก็เปลี่ยนสถานะจากเดิมที่มีฐานคะแนนจากตลาดล่างขึ้นมาเป็นพรรคการเมืองที่เจาะฐานคะแนนเสียงในตลาดบน และโดยเฉพาะนโยบายที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงเมกะเทรนด์ของโลก ทำให้ประเทศไทยเดินไปสู่ประเทศที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Country for all Gens 4 ปีของการทำหน้าที่ รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทำให้ “วราวุธ” มั่นใจว่า การทำงานทุกอย่างสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ หากหัว หรือ รัฐมนตรีขยัน และ ใส่ใจทุกอย่างจะขับเคลื่อนได้ ซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นโชคดีที่ได้ทำงานที่กระทรวงทรัพยากรฯและเรื่องปัญหาโลกร้อนเป็นเมกะเทรนด์โลกที่กำลังมาพอดี การประกาศนโยบายที่เน้นการสร้างความยั่งยืนมากกว่าการแจกแบบประชานิยมแบบเดิมตามเป้าหมาย SDGs 17 เป้าหมายของสหประชาชาติ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศและกับโลกจึงเป็นเรื่อง ว้าว ที่แตกต่างจากพรรคการเมือง อื่นๆประกาศ ลดแหลก แจก ซึ่ง วราวุธ บอกว่า อาจจะไม่ใช่ แต่ในระยะยาว และไม่สามารถ สร้างความยั่งยืนต่อไปให้ลูกหลานได้ วราวุธ ไม่อยากให้มีการแจกทุกครั้งในการเลือกตั้งต้องเดินไปข้างหน้า และประเทศไทย ถ้าไม่เปลี่ยนวิธีคิด ไม่เปลี่ยนวิธีทำการเลือกตั้ง 14 พ.ค.2566 ก็จะเหมือนเดิม อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ ““วราวุธ ศิลปอาชา” เปลี่ยน”ชาติไทยพัฒนา”พรรคคนรุ่นใหม่ที่อยู่ตรงกลาง ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/05/responsible-election2566-30/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebok, Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify #เลือกตั้งอย่างรับผิดชอบ2566 #นโยบายประชานิยม
2023-05-13
1h 08
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP 52 เลือกตั้งอย่างรับผิดชอบ 2566 พรรคก้าวไกล กับนโยบาย 15 เรื่อง
ในการเลือกตั้ง2566 พรรคก้าวไกล เปิดตัวสู้ศึกเลือกครั้งนี้ด้วยนโยบายที่จะสร้างประเทศไทยที่ไม่เหมือนเดิม ด้วย นโยบาย 15 เรื่อง “การเมืองดี ปากท้องดี มีอนาคต” ด้วยนโยบายรวม 15 เรื่อง “ศิริกัญญา ตันสกุล” รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล และหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ พรรคก้าวไกล อธิบายว่า นโยบายทั้งหมดมาจากแนวคิด สิ่งที่อยากเห็นประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง มีเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า เป็นธรรม สังคมที่ทุกคนมีคุณภาพที่ได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม เป็นแนวคิดที่เรียบง่าย ตอบโจทย์สิ่งที่เห็นในทุกวันนี้ ตั้งแต่ระบบการเมืองที่ยังตอบไม่ได้เต็มปากว่า นี่คือประเทศที่เป็นประชาธิปไตย การที่ระบอบการเมืองไม่ดี ก็กลายเป็นอุปสรรคที่ทำให้ชีวิตคนดีขึ้นไม่ได้ จึงเป็นโจทย์ต้องแก้ ให้การเมืองดี ปากท้องดี มีอนาคต ที่ประกอบด้วย 15 นโยบาย ที่เป็นสวัสดิการตั้งแต่เกิด จนตาย อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ “พรรคก้าวไกล .. นโยบาย 15 เรื่อง การเมืองดี ปากท้องดี อนาคตดี" ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/04/responsible-election2566-19/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook,Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify #เลือกตั้งอย่างรับผิดชอบ2566 #นโยบายประชานิยม
2023-04-29
2h 13
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP 51 เลือกตั้งอย่างรับผิดชอบ 2566 พรรคชาติพัฒนากล้า ชู"งานดี มีเงิน ของไม่แพง "
“กรณ์ จาติกวณิช” เป็นที่รู้จักในฐานะอดีตผู้บริหารและเจ้าของบริษัทหลักทรัพย์ นักวาณิชธนกิจ นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อเว้นวรรคการทำงานการเมือง เขาผันตัวไปเป็น “ชาวนาเฉพาะกิจ” ไปจนถึงการจับมือกับสตาร์ตอัปลงทุนด้านฟินเทค และก้าวสู่การเมืองอีกครั้งในฐานะหัวหน้าพรรคกล้า ในปี 2563 ล่าสุดก้าวขึ้นสู่หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า จากประสบการณ์ที่หลากหลาย ผ่านทั้งสนามธุรกิจและสนามการเมือง ล่าสุด ในฐานะหัวหน้าพรรค ได้เปิดตัวข้อเสนอหรือ “คำมั่นสัญญาว่าจะให้” ในการลงสนามเลือกตั้งที่กำลังจะถึงนี้ ด้วยสโลแกน “งานดี มีเงิน ของไม่แพง” “กรณ์” เล่าที่มาว่า จุดเริ่มต้นคือเรื่องปากท้อง ที่เป็นปัญหาอันดับหนึ่งของประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องที่ทางพรรคเชี่ยวชาญ ทำให้สรุปเป้าหมายของทุกนโยบายที่ออกมา เป็นสโลแกน “งานดี มีเงิน ของไม่แพง” ทั้ง 3 เรื่อง ตอบโจทย์ประชาชนทุกระดับ ปัญหาของแพง ปัญหาโอกาสทำมาหากิน ปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินแหล่งทอง รวมทุกอย่างอยู่ใน 3 ประโยคนี้ที่เป็นเป้าหมายของพรรค กรณ์”บอกว่า “นโยบายเหล่านี้ได้มาจากการเก็บข้อมูลเกือบ 3 ปี แต่มาตกผลึกตอนรวมพรรคเป็นชาติพัฒนากล้า โดยมีนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นั่งหัวโต๊ะ แล้วคุย ถกเถียง แลกเปลี่ยนกันเกือบ 3 เดือนเต็ม ตั้งแต่ที่มา ตรรกะ จนออกมาเป็นนโยบาย อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ กรณ์ จาติกวณิช ชาติพัฒนากล้า ชู"งานดี มีเงิน ของไม่แพง " ด้วยยุทธศาสตร์ 7 เฉดสี ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/04/responsible-election2566-16-korn-chatikavanij/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook,Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify #เลือกตั้งอย่างรับผิดชอบ2566 #นโยบายประชานิยม
2023-04-26
1h 21
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP 50 เลือกตั้งอย่างรับผิดชอบ 2566 ปชป.ชู 16 นโยบายฟื้นประเทศ มุ่งเกษตรกร
พรรคประชาธิปัตย์ เสนอ 16 นโยบายในการหาเสียงเลือกตั้ง 2566 ส่วนใหญ่เน้นที่ไปการช่วยเหลือเกษตร ทั้งมาตรการประกันรายได้ 5 พืชเศรษฐกิจ และการเติมเงินให้ชาวนา 3 หมื่นบาท สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า ได้พูดคุยกับ นายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้อำนวยการเลือกตั้งพรรคฯถึงเบื้องหลังวิธีคิดก่อนจะมาเป็น 16 นโยบาย นายนิพนธ์ บอกว่า การวางนโยบายพรรคทั้ง 16 นโยบายมาจาก ยุทธศาสตร์ 3 สร้าง คือ สร้างเงิน สร้างคน สร้างชาติ โดยในเรื่องของ“การสร้างเงิน” จะเน้นไปที่ภาคเกษตร เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่อยู่ที่ภาคเกษตรเพราะฉะนั้นนโยบายแรก คือ การอัดฉีดเงินลงไปในภาคเกษตรกรเกือบ 40 ล้านคนมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่วนนโยบายสร้างคนยังรวมถึง การให้เรียนฟรีถึงปริญญาตรี แต่เป็นสาขาที่ตลาดต้องการหรือสาขาขาดแคลน ขณะที่การสร้างชาติ พรรคประชาธิปัตย์เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ เปิดให้มีการกระจายอำนาจมากขึ้น นายนิพนธ์ยังบอกอีกว่า ฝันของพรรคประชาธิปัตย์ คือ อยากเห็นการพัฒนาประเทศ แล้วคนในประเทศมีความสุขมีคุณภาพชีวิตที่ดี อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ “ปชป.ชู 16 นโยบายฟื้นประเทศ เดินหน้าประกันรายได้ เกษตร "สร้างเงิน สร้างคน สร้างชาติ" ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/04/responsible-election2566-10-democrat-party/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast, Spotify #เลือกตั้งอย่างรับผิดชอบ2566 #นโยบายประชานิยม
2023-04-22
54 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP 49 เลือกตั้งอย่างรับผิดชอบ 2566 พรรคประชาธิปัตย์ แจงอัดฉีด 1 ล้านล้าน ไม่ก่อหนี้ใหม่
ในการเลือกตั้ง 2566 พรรคประชาธิปัตย์ ประกาศใช้เงินอัดฉีดเศรษฐกิจ 1 ล้านล้านบาท ขับเคลื่อน 16 นโยบายเพื่อพลิกฟื้นประเทศ แล้วจะนำเงินมาจากไหน ? ด้วยวิธีการอะไร สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า” ได้พูดคุยกับ ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม ประธานคณะกรรมการนโยบาย พรรคประชาธิปัตย์ ถึงที่มาของเงิน 1 ล้านล้านบาท ในการกระตุ้นเศรษฐกิจว่า ทำไมถึงกล้าประกาศว่าจะไม่ก่อหนี้เพิ่ม แล้วจะดำเนินการอย่างไร ดร.พิสิฐ บอกว่า งบประมาณในการกระตุ้นเศรษฐกิจออกเป็น 4 ก้อน ก้อนแรกจะกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับมหาภาค โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ด้วยการตั้งกองทุนเอสเอ็มอี 3 แสนล้านบาท ก้อนที่สองประมาณ 2 แสนล้านบาท เพื่อกระตุ้นในระดับรากหญ้าในหมู่บ้านและชุมชน ก้อนที่สามคือ การปลดล็อค กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้นำเงินมาซื้อบ้าน และงบประมาณก้อนสุดท้าย ประมาณ 220,000 ล้านบาทสำหรับ 9 นโยบายที่เน้นช่วยเหลือภาคเกษตรซึ่งถือว่าเป็นส่วนใหญ่ของประเทศ อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ อัดฉีด 1 ล้านล้าน กระตุ้นเศรษฐกิจ"ประชาธิปัตย์"ใช้เงินจากไหน ? ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/04/responsible-election2566-09-democrat-party/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook,Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify #เลือกตั้งอย่างรับผิดชอบ2566 #นโยบายประชานิยม
2023-04-19
59 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP 48 เลือกตั้งอย่างรับผิดชอบ 2566 พรรคเพื่อไทย ชู 18 นโยบาย “ประชานิยมแบบสร้างมูลค่าเพิ่ม”
หลายพรรคการเมืองได้ประกาศนโยบายหาเสียงเพื่อดึงดูดคะแนนสียงเลือกตั้ง ในศึกเลือกตั้งทั่วไป 14 พฤษภาคม 2566 ที่กำลังจะมาถึง ส่วนใหญ่เป็นการสัญญาหลายด้านว่าจะ "ให้" เน้นอัดฉีดเงินให้ประชาชน แก้ไขปัญหาปากท้อง และกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก “สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า” ได้เปิดการพูดคุยกับ “สุทิน คลังแสง” รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ที่เสนอ 18 นโยบายกระตุ้น GDP โต 5 % เพิ่มรายได้ให้เกษตรมากขึ้น 3 เท่า เพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำเป็น 600 บาท และเงินเดือนปริญญาตรี 25,000 บาท ว่า นโยบายที่ “เป็นประชานิยม” และเน้นอัดฉีดเงินให้ประชาชนนั้นจะส่งผลเสียต่อวินัยการเงินการคลังหรือไม่ สุทินบอกถึงที่มาที่ของกรอบนโยบายพรรคเพื่อไทยทั้ง 18 นโยบายว่า มาจากปัญหาเศรษฐกิจ ที่ตกต่ำ จึงมุ่งแก้ไขปากท้อง และปัญหาเศรษฐกิจ เป็นประเด็นหลัก โดยกรอบใหญ่ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ หัวใจอยู่ที่การเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ขยายโอกาส ให้ประชาชนและประเทศ สุทินย้ำว่า นโยบายดังกล่าวแม้จะเป็นประชานิยม แต่ไม่ใช่แบบเดิมอีกต่อไป เป็น “ประชานิยมแบบใหม่” ที่เพิ่ม productivity อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ “พรรคเพื่อไทยชู 18 นโยบายกระตุ้น ศก.รากหญ้า ดันจีดีพี 5% แบบป่าเลี้ยงบ้าน บ้านเลี้ยงเมือง เมืองเลี้ยงนคร” ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/04/responsible-election2566-07-pheu-thai-party/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook, Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast, Spotify #เลือกตั้งอย่างรับผิดชอบ2566 #นโยบายประชานิยม
2023-04-17
55 min
ThaiPublica
BCG in Action EP1 "สุวิทย์ เมษินทรีย์” ชี้ต้องทำให้เป็น “people power”
ในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders’Meeting : AELM) ปี 2022 ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพ ได้ร่วมกับสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจ มีฉันทามติในการขับเคลื่อน Bangkok Goals on BCG Model หรือเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-circular-Green Economy : BCG) ประเทศไทยในฐานะผู้ผลักดันโมเดลเศรษฐกิจ BCG จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมียุทธศาสตร์เพื่อให้ปฏิญญากรุงเทพฯครั้งนี้ขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมและสื่อสารทำความเข้าใจ เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายของสัญญาประชาคมโลกครั้งนี้อย่างที่แท้จริง ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เล่าถึงที่มาที่ไปของแนวคิด BCG ว่า ประเทศไทยได้พูดถึงการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจมาโดยตลอด และมีการชู 10 อุตสาหกรรมดาวเด่น หรือ 10 S-Curve ซึ่ง 5 S-Curve ที่ใน 10 S-Curve นั้น เป็น BCG นอกจากนี้ BCG เป็น โมเดลเศรษฐกิจใหม่ ตอบโจทย์ความยั่งยืน-เท่าเทียม BCG และไม่ได้ตอบโจทย์ประเทศไทยเท่านั้น เป็นการตอบโจทย์โลกในเวลาเดียวกันด้วย ได้ประโยชน์กันทุกฝ่าย win-win ทุกประเทศทำได้ ดร.สุวิทย์มองว่า ถ้าเราทำเรื่องนี้ดี จะกลายเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทย เป็นจุดขายของประเทศไทยในเวทีโลก ที่ไม่ควรเป็นจุดขายที่แค่ทำมาหากิน แต่ต้องเป็นจุดขายที่ยั่งยืน ดร.สุวิทย์ ยังบอกอีกว่า BCG ยังเป็นโมเดลทางเศรษฐกิจมีความกระจายตัว มากกว่ากระจุกตัว เพราะรายใหญ่ก็เล่นได้ รายกลางก็เล่นได้ กลุ่มฐานราก ชุมชน ก็เล่นได้ รวมทั้งเอสเอ็มอี สตาร์ทอัพ วิสาหกิจชุมชน ไม่ผูกขาด BCG จึงเป็นโมเดลสร้างการกระจายอำนาจ นำไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ “สุวิทย์ เมษินทรีย์” เปิดแนวคิด “BCG in action ” ต้องทำให้เป็น “people power” ตอบโจทย์ความมั่งคั่ง-ยั่งยืน-เท่าเทียม” ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/11/suvit-maesincee-bcg-in-action อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #BCG #BCGinAction
2023-02-18
1h 12
ThaiPublica
Building ESG Driven Society "ชัยธวัฒน์ เจริญพุทธิพร" ชี้ผู้ลงทุนเกาะกระแส ESG ได้หากมีความรู้
ชัยธวัฒน์ เจริญพุทธิพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซุปเปอร์เทรดเดอร์ อินฟินิต จำกัด ที่รู้จักกันในนาม “ก้อง” ในค่าย ซุปเปอร์เทรดเดอร์ ชัยธวัฒน์ เจริญพุทธิพร เป็นนักลงทุนอิสระ ที่ให้ความสำคัญกับความรู้ เพราะโลกการลงทุนปัจจุบันมีให้ลงทุนที่หลากหลายในแง่ ผลิตภัณฑ์การลงทุน ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ฟิวเจอร์ส คริปโต และตลาดที่จะเข้าไปลงทุน ส่วนเรื่องการลงทุนใน ESG “ก้อง” มองว่าเป็นกระแสหนึ่งที่อาจจะเป็นกระแสของอนาคต ที่นักลงทุนสามารถเกาะกระแสไปได้ หากมีความรู้ที่มากพอ ไม่ว่าความรู้ด้านปัจจัยพื้นฐาน หรือ ด้านเทคนิค อ่านฉบับเต็มบทสัมภาษณ์ ‘ชัยธวัฒน์ เจริญพุทธิพร’ นักลงทุนอิสระ ชี้ผู้ลงทุนเกาะกระแส ESG ได้หากมีความรู้มากพอ ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/12/building-esg-driven-societ-59/ เพื่อไม่ให้พลาดช่องทางการติดต่อ อย่าลืมเข้าไปกดติดตามที่ช่องทางไทยพับลิก้า Youtube,Soundcloud,Apple Podcast,Google Podcast,Spotify #SETESGAcademy #THSI #corporatesustainbility
2022-12-29
23 min
ThaiPublica
Building ESG Driven Society ธนธร กาญจนิศากร เพจ NamFinance บอก ESG ควรเป็นพื้นฐานที่ทุกคนต้องมี
น้ำ ธนธร กาญจนิศากร เจ้าของเพจ NamFinance นักเรียนทุนเอกการเงินการลงทุนจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาการเงินส่วนบุคคล ,พิธีกรรายการการเงิน ,วิทยากร ,เจ้าของเพจการเงิน Nam.finance และตัวการ์ตูนน้องเหรียญ แนวคิดและมุมมองต่อการลงทุนด้วย ESG จาก ธนธร กาญจนิศากร เจ้าของเพจ NamFinance ที่มีความตั้งใจที่อยากให้เรื่องเงินเป็นเรื่องง่าย และ “อยากเห็นคนไทยวางแผนการเงิน น้ำ บอกว่า ESG สร้างเครดิตให้กับบริษัทที่ดำเนินธุรกิจบนหลัก ESG เพราะไม่ใช่แค่บริษัทบอกว่าทำ ESG แล้วจบ แต่ต้องถูกตรวจสอบด้วย กว่าจะทำรายงานได้ ผ่านการวิเคราะห์ ผ่านการคัดเลือก เท่ากับถูกสกรีนมาระดับหนึ่ง นอกจากนี้ “ESG ควรเป็น standard เพราะไม่ใช่เรื่องรักโลกอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม สังคม การดำเนินธุรกิจด้วยธรรมาภิบาล และ ESG ควรเป็น Standard หรือมาตรฐานที่ทุกคนต้องมี" ที่สำคัญทุกภาคส่วนต้องร่วมกับให้ความรู้เรื่อง ESG กระจายออกไปในกลุ่มประชาชนทั่วไป และนักลงทุน อ่านฉบับเต็มบทสัมภาษณ์ ‘คนรุ่นใหม่’ ธนธร กาญจนิศากร เพจ NamFinance บอก ESG ควรเป็นพื้นฐานที่ทุกคนต้องมี ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/12/building-esg-driven-society-55/ เพื่อไม่ให้พลาดช่องทางการติดต่อ อย่าลืมเข้าไปกดติดตามที่ช่องทางไทยพับลิก้า Youtube,Soundcloud,Apple Podcast,Google Podcast,Spotify #SETESGAcademy #THSI #corporatesustainbility
2022-12-03
58 min
ThaiPublica
Sustainability EP 15 UN-GCNT รวมพลังภาคเอกชน เร่งหาทางฟื้นฟูระบบนิเวศ
เป็นประจำทุกปี สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT : Global Compact Network Thailand) จะร่วมกับสหประชาชาติในประเทศไทย จัดงานประชุมผู้นำความยั่งยืนประจำปี GCNT Forum ในปีนี้ งานประชุมผู้นำความยั่งยืนประจำปี หรือ GCNT Forum 2022 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 ภายใต้แนวคิด Accelerating Business Solutions to Tackle Climate & Biodiversity Challenges ธันยพร กริชติทายาวุธ ผู้อำนวยการ GCNT ให้สัมภาษณ์ “บุญลาภ ภูสุวรรณ” บรรณาธิการบริหารไทยพับลิก้าว่า การประชุมประจำปี GCNT Forum เพื่อรวมพลังสมาชิก ภาคธุรกิจ รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งไทยและต่างประเทศเร่งเพิ่มมาตรการรับมือกับวิกฤติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งขณะนี้ถือเป็นหนึ่งในวิกฤติที่สำคัญของโลก และเป็นความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งเตรียมประกาศเจตนารมณ์ความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม วัดผล และขยายผลได้เพื่อนำไปสู่ทางออกระดับประเทศและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเป้าหมายของประเทศไทยในเรื่องนี้ อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มในหัวข้อ UN-GCNT จัดประชุมผู้นำความยั่งยืน เร่งหาทางฟื้นฟูระบบนิเวศ ต่อยอดธุรกิจ ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/11/un-gcnt-gcnt-forum-2022-01/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook,Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify #GCNT #GCNTForum2022
2022-11-12
50 min
ThaiPublica
Building ESG Driven Society “ธนัฐ ศิริวรางกูร”เจ้าของเพจคลินิกกองทุน บอก’ESG’ แฮปปี้ที่จะลงทุน
ธนัฐ ศิริวรางกูร หรือ หมอนัท เป็นที่รู้จักกันดีในวงการกองทุน เพราะเขาคือเจ้าของเพจด้านการลงทุน "คลินิกกองทุน" แห่ง Aommoney หมอนัท ผันตัวเองจากการเป็นสัตวแพทยศาสตร์เข้าสู่วงการการเงิน ด้วยตำแหน่งนักวิเคราะห์กองทุนเพียงไม่กี่คนของเมืองไทย ผ่านหลักสูตร วางแผนการเงิน, อสังหาฯ และ หลักสูตรการเงินมากมาย แถมยังเป็นผู้เขียนหนังสือ รวยด้วยกองทุน..ใคร ๆ ก็ทำได้ ในโลกการลงทุนปัจจุบันที่แนวคิดการลงทุนที่คำนึงถึงการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม Environment สังคม Social และบรรษัทภิบาล Governance กำลังกลายเป็นกระแสหลักไปทั่วโลก เพราะนอกจากสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าในระยะยาวเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนรูปแบบอื่นๆ แล้วยังส่งเสริมบริษัทจดทะเบียนให้ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาลแล้ว ยังช่วยช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาตลาดทุนและประเทศไทยให้ยั่งยืน “หมอนัท” ซึ่งมีประสบการณ์การลงทุนผ่านช่วงวิกฤติซับไพร์มมาแล้ว มีความเห็นอย่างไรต่อการลงทุน ESG หรือ ESG Investing อย่างไร อ่านฉบับเต็มบทสัมภาษณ์ “ธนัฐ ศิริวรางกูร”เจ้าของเพจคลินิกกองทุน บอก’ESG’ เป้าหมายที่ต้องพุ่งชน-แฮปปี้ที่จะลงทุน ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/10/building-esg-driven-society-47/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #SETESGAcademy #THSI #corporatesustainbility
2022-10-27
40 min
ThaiPublica
Sustainability EP14 'เอไอเอส'หล่อหลอมวัฒนธรรม “FIT FUN FAIR” สร้าง ESG
บทบาทที่แท้จริงของโทรคมนาคมที่มีต่อ ESG คือ ‘ทำอย่างไรให้โทรคมนาคมมีส่วนช่วยให้อุตสาหกรรมอื่นลดการปล่อยได้ 10 เท่าตัว’ เพราะโทรคมนาคมคือเทคโนโลยีและการเชื่อมต่อ ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนและธุรกิจ จึงสามารถใช้เทคโนโลยีช่วยเหลือในด้านต่างๆ ได้ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส แม้เป็นผู้นำตลาดที่มีจำนวนลูกค้ามากที่สุดในประเทศไทยแต่เรื่อง ESG ที่บริษัททำในปัจจุบันยังคงเป็น journey บนเส้นทางนี้ เนื่องจากความท้าทายหลักคือการพัฒนาคนและวัฒนธรรมองค์กรให้เข้าถึงการเป็น ESG มากที่สุด นัฐิยา พัวพงศกร หัวหน้าฝ่ายงานนักลงทุนสัมพันธ์และกำกับดูแลการปฏิบัติงาน เอไอเอส ให้สัมภาษณ์ “บุญลาภ ภูสุวรรณ” บรรณาธิการบริหารไทยพับลิก้าว่า การสร้างพนักงานคือ วัฒนธรรมองค์กร “FIT FUN FAIR” ที่ช่วยสร้าง ESG เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว FIT การมีสุขภาพที่ดี พร้อมรับมือทุกสถานการณ์ ส่งมอบงานเหนือความคาดหมาย FUN ทุกความท้าทายความคือสนุก มีความสุข คิดบวก FAIR มีความเท่าเทียม ยอมรับและเปิดใจ และมอบรางวัลให้กับงานที่มีคุณภาพ อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ “เอไอเอส” ฉายภาพเศรษฐกิจดิจิทัล เชื่อม “ESG” บทบาทโทรคมนาคมต่อสังคม-สิ่งแวดล้อม ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/05/building-esg-driven-society23/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook,Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify
2022-10-15
55 min
ThaiPublica
Sustainability EP13 ธัชไท กีรติพงค์ไพบูลย์ รัฐต้องสร้าง Active Partner
วันที่ 8 สิงหาคม 2565 สำนักข่าวไทยพับลิก้าร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดงานสัมมนา ThaiPublica Forum 2022 : “ก้าวร่วมกัน…สู่ก้าวที่ยั่งยืน” ณ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ชั้น 7 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในวาระครบรอบก้าวสู่ปีที่ 12 ของสำนักข่าวไทยพับลิก้า ที่มุ่งเน้นการเป็นองค์กรสื่อเพื่อความโปร่งใสและความยั่งยืน ThaiPublica Forum 2022 หรือเวทีปัญญาสาธารณะครั้งนี้ จัดขึ้น เพื่อระดมความคิดเห็นต่อยอดมุมมอง เสนอวิธีการแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง และสร้างโอกาสให้กับประเทศไทยไปสู่ความยั่งยืน โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ โรคระบาด ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการเมืองโลก ยากมากที่เราจะรับมือได้เพียงลำพัง เราจึงต้องก้าวร่วมกัน โจทย์สำคัญ คือจะทำอย่างไรให้เราก้าวร่วมกันได้ และเป็นก้าวที่ยั่งยืน ทำให้ประเทศไทย บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ Sustainable Development Goals หรือ SDGs ในปี 2030 ของสหประชาชาติร่วมกันและบทบาทภาครัฐที่จะมีส่วนในการขับเคลื่อนให้ก้าวร่วมกันและก้าวต่อไปอย่างยั่งยืนมั่นคง จะเป็นอย่างไร ดร.ธัชไท กีรติพงค์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เฉลย ในเวทีปัญญาสาธารณะครั้งนี้ อ่านบทความฉบับเต็ม “ธัชไท กีรติพงค์ไพบูลย์” รัฐต้องสร้าง “โมเดลดอกเห็ด” Active Partner – เลิกติดกับดักตัวชี้วัด ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/08/thaipublica-forum-2022-move-together-for-sustainable-move-thuttai/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook,Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify #ThaiPublicaForum2022 #SDGs #ก้าวร่วมกันสู่ก้าวที่ยั่งยืน
2022-10-10
17 min
ThaiPublica
Sustainability EP12 เกรียงไกร เธียรนุกูล ชู BCG ยกระดับอุตสาหกรรม
วันที่ 8 สิงหาคม 2565 สำนักข่าวไทยพับลิก้าร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดงานสัมมนา ThaiPublica Forum 2022 : “ก้าวร่วมกัน…สู่ก้าวที่ยั่งยืน” ณ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ชั้น 7 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในวาระครบรอบก้าวสู่ปีที่ 12 ของสำนักข่าวไทยพับลิก้า ที่มุ่งเน้นการเป็นองค์กรสื่อเพื่อความโปร่งใสและความยั่งยืน ThaiPublica Forum 2022 หรือเวทีปัญญาสาธารณะครั้งนี้ จัดขึ้น เพื่อระดมความคิดเห็นต่อยอดมุมมอง เสนอวิธีการแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง และสร้างโอกาสให้กับประเทศไทยไปสู่ความยั่งยืน เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) พูดถึงบทบาทของภาคอุตสาหกรรมที่กำลังเผชิญกับโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน หรือที่เรียกว่า “VUCA” และมีความเหลื่อมล้ำระหว่าง SMEs กับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ในการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งนโยบายในเรื่องความยั่งยืนของ ส.อ.ท. ในเวทีปัญญาสาธารณะครั้งนี้ อ่านบทความฉบับเต็ม ในหัวข้อ ก้าวร่วมกัน…สู่ก้าวที่ยั่งยืน: “เกรียงไกร เธียรนุกุล” ชู BCG ยกระดับอุตสาหกรรม ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/08/thaipublica-forum-2022-move-together-for-sustainable-move-kriengkrai/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook,Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify #ThaiPublicaForum2022 #SDGs #ก้าวร่วมกันสู่ก้าวที่ยั่งยืน
2022-10-05
37 min
ThaiPublica
Building ESG Driven Society “อะนะ แพร่พิพัฒน์มงคล” บลจ.พรินซิเพิล ชี้นักลงทุนสถาบันปลุกกระแส ‘ESG’
ผู้คนมักจะเชื่อมโยงการลงทุนสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลกับการเลือกหุ้น ซึ่งเป็นวิธีคัดเลือกบริษัทที่จะเข้าลงทุนตามแนวทาง ESG ที่ย่อมาจาก Environment สิ่งแวดล้อม Social สังคมและ Governance บรรษัทภิบาล แต่ไม่ใช่ว่านักลงทุนทุกคนจะสามารถสั่งให้บริษัทที่เข้าเป็นถือหุ้นนั้นทำอย่างที่ต้องการได้ กองทุนรวม ซึ่งเป็นนักลงทุนสถาบันรายใหญ่ ที่บริหารจัดการเงินระดับหลายหมื่นล้านบาทนั้น เป็นเจ้าของบริษัททุกด้านในทางปฏิบัติและมีอิทธิพลต่อบริษัท หากนักลงทุนสถาบันหลีกเลี่ยงไม่เข้าลงทุนในบริษัทที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจบนหลัก ในไม่ช้า ESG ก็อาจจะไม่มีที่ให้ลงทุน ขณะเดียวกันบริษัทที่ไม่มีแนวปฏิบัติด้าน ESG ก็อาจจะไม่ได้รับการจัดสรรเงินทุน ดังนั้นนักลงทุนสถาบันอาจจะมีบทบาทมากกว่าผู้ลงทุนรายย่อยทั่วไป ในการผลักดัน สนับสนุนแนวปฏิบัติ ESG ของบริษัท ฟังแนวคิดและมุมมอง จากอะนะ แพร่พิพัฒน์มงคล Head of Investment Strategy บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด นักลงทุนสถาบันที่ให้ความสำคัญกับ ESG บลจ.พรินซิเพิล บริหารกองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล อิควิตี้ ESG หรือชื่อย่อ PRINCIPAL GESG อ่านฉบับเต็มบทสัมภาษณ์ “อะนะ แพร่พิพัฒน์มงคล” บลจ.พรินซิเพิล ชี้นักลงทุนสถาบันปลุกกระแส ‘ESG’ แรงผลักให้ปรับตัวในทุกมิติ ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/09/building-esg-driven-society-41/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube,Soundcloud,Apple Podcast,Google Podcast และ Spotify #SETESGAcademy #THSI #corporatesustainbility
2022-09-23
54 min
ThaiPublica
Sustainability EP11 วิทัย รัตนากร ออมสิน ใส่ Social Mission ทุกกระบวนการทำงาน
วันที่ 8 สิงหาคม 2565 สำนักข่าวไทยพับลิก้าร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดงานสัมมนา ThaiPublica Forum 2022 : “ก้าวร่วมกัน…สู่ก้าวที่ยั่งยืน” ณ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ชั้น 7 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในวาระครบรอบก้าวสู่ปีที่ 12 ของสำนักข่าวไทยพับลิก้า ที่มุ่งเน้นการเป็นองค์กรสื่อเพื่อความโปร่งใสและความยั่งยืน ThaiPublica Forum 2022 หรือเวทีปัญญาสาธารณะครั้งนี้ จัดขึ้น เพื่อระดมความคิดเห็นต่อยอดมุมมอง เสนอวิธีการแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง และสร้างโอกาสให้กับประเทศไทยไปสู่ความยั่งยืน โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ โรคระบาด ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการเมืองโลก ยากมากที่เราจะรับมือได้เพียงลำพัง เราจึงต้องก้าวร่วมกัน โจทย์สำคัญ คือจะทำอย่างไรให้เราก้าวร่วมกันได้ และเป็นก้าวที่ยั่งยืน ทำให้ประเทศไทย บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ Sustainable Development Goals หรือ SDGs ในปี 2030 ของสหประชาชาติร่วมกัน คุณวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ซึ่งประกาศตัวเป็นธนาคารเพื่อสังคม หรือ social bank ใน 2 ปีที่ผ่านมา ได้เล่าถึงภารกิจของออมสินเพื่อก้าวสู่ความยั่งยืน ที่มุ่งใน 2 เป้าหมายตาม เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGS)คือ เป้าหมายที่ 1 การขจัดความยากจน และเป้าหมายที่ 2 การลดความเหลื่อมล้ำทางการเงิน ในเวทีปัญญาสาธารณะครั้งนี้ ที่เป็นปัญหาหลักในเชิงโครงสร้าง 2 เรื่องหลักของประเทศไทย https://thaipublica.org/2022/08/thaipublica-forum-2022-move-together-for-sustainable-vitai-ratanakorn/ อย่าลืม กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify #ThaiPublicaForum2022 #SDGs #ก้าวร่วมกันสู่ก้าวที่ยั่งยืน
2022-09-20
25 min
ThaiPublica
Sustainability EP10 'จิราพร ขาวสวัสดิ์' เขย่าวิธีคิดธุรกิจ
วันที่ 8 สิงหาคม 2565 สำนักข่าวไทยพับลิก้าร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดงานสัมมนา ThaiPublica Forum 2022 : “ก้าวร่วมกัน…สู่ก้าวที่ยั่งยืน” ณ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ชั้น 7 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในวาระครบรอบก้าวสู่ปีที่ 12 ของสำนักข่าวไทยพับลิก้า ที่มุ่งเน้นการเป็นองค์กรสื่อเพื่อความโปร่งใสและความยั่งยืน ThaiPublica Forum 2022 หรือเวทีปัญญาสาธารณะครั้งนี้ จัดขึ้น เพื่อระดมความคิดเห็นต่อยอดมุมมอง เสนอวิธีการแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง และสร้างโอกาสให้กับประเทศไทยไปสู่ความยั่งยืน โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ โรคระบาด ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการเมืองโลก ยากมากที่เราจะรับมือได้เพียงลำพัง เราจึงต้องก้าวร่วมกัน โจทย์สำคัญ คือจะทำอย่างไรให้เราก้าวร่วมกันได้ และเป็นก้าวที่ยั่งยืน คุณจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR วิทยากรสตรีหนึ่งเดียวในเวทีปัญญาสาธารณะครั้งนี้ OR พลิกโฉมจากธุรกิจที่ทุกคนคุ้นเคยสู่การเป็น Inclusive Growth Platform ที่รองรับการเติบโต กับพันธมิตรในธุรกิจทุกขนาด ทุกรูปแบบเพื่อความยั่งยืนอย่างไร คุณจิราพรได้เล่าให้ฟังในเวทีปัญญาสาธารณะครั้งนี้ อ่านบทความฉบับเต็ม ก้าวร่วมกัน…สู่ก้าวที่ยั่งยืน: “จิราพร ขาวสวัสดิ์” เขย่าวิธีคิดธุรกิจ ต้องเปลี่ยน me เป็น we แคร์สังคม สิ่งแวดล้อม ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/08/thaipublica-forum-2022-move-together-for-sustainable-move-jiraphon/ อย่าลืม กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify #ThaiPublicaForum2022 #SDGs #ก้าวร่วมกันสู่ก้าวที่ยั่งยืน
2022-09-17
36 min
ThaiPublica
Sustainability EP9 ‘เลี่ยว ฮอร์น พัธโนทัย’ ถาม ‘ถ้าไม่ใช่เราแล้วใคร ถ้าไม่ใช่ตอนนี้แล้วเมื่อไหร่’
วันที่ 8 สิงหาคม 2565 สำนักข่าวไทยพับลิก้าร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดงานสัมมนา ThaiPublica Forum 2022 : “ก้าวร่วมกัน…สู่ก้าวที่ยั่งยืน” ณ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ชั้น 7 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในวาระครบรอบก้าวสู่ปีที่ 12 ของสำนักข่าวไทยพับลิก้า ที่มุ่งเน้นการเป็นองค์กรสื่อเพื่อความโปร่งใสและความยั่งยืน ThaiPublica Forum 2022 หรือเวทีปัญญาสาธารณะครั้งนี้ จัดขึ้น เพื่อระดมความคิดเห็นต่อยอดมุมมอง เสนอวิธีการแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง และสร้างโอกาสให้กับประเทศไทยไปสู่ความยั่งยืน โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ โรคระบาด ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการเมืองโลก ยากมากที่เราจะรับมือได้เพียงลำพัง เราจึงต้องก้าวร่วมกัน โจทย์สำคัญ คือจะทำอย่างไรให้เราก้าวร่วมกันได้ และเป็นก้าวที่ยั่งยืน และภาพรวมการขับเคลื่อนไปสู่ความยั่งยืนในระดับโลกเป็นอย่างไร คุณเลี่ยว ฮอร์น พัธโนทัย วิทยากรหนึ่งเดียวจากประเทศอังกฤษที่จะมาแชร์มุมมองจากการขับเคลื่อนความยั่งยืนในระดับโลก คุณ เลี่ยว ฮอร์น พัธโนทัย เกิดในครอบครัวที่เกี่ยวพันกับการเมืองระหว่างประเทศอย่างลึกซึ้ง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คุณเลี่ยวสืบสานความภาคภูมิใจในการทำงานด้าน บริการสาธารณะและการทูตที่ไม่เป็นทางการเพื่อส่งเสริมความเข้าใจ และความร่วมมือ ระหว่างประเทศ กว่าสองทศวรรษใน ตำแหน่งผู้นำซึ่งครอบคลุมทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร คุณเลี่ยวได้ ทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุคำมั่นสัญญาที่จะขจัดความยากจน ความหิวโหยในโลก เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและทั่วถึง โดยไม่กระทบต่อธรรมชาติ ปัจุบัน คุณเลี่ยว ดำรงตำแหน่ง Head of WRI’s UK Office and Director for Strategy and Partnerships at WRI Ross Center for Sustainable Cities WRI เป็นองค์กรวิจัยอิสระที่ทำงานร่วมกับรัฐบาล ผู้นำทางธุรกิจ และเมืองต่างๆ ทั่วโลก ในการคิดค้นและดำเนินการแก้ไขเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ช่วยสร้างเศรษฐกิจที่เท่าเทียม ยืดหยุ่น และยั่งยืนมากขึ้นในอนาคต คุณเลี่ยวใช้ภาษาไทยไม่คล่องนักจึงขอใช้ภาษาอังกฤษในการเสวนาในเวทีปัญญาสาธารณะครั้งนี้ อ่านบทความฉบับเต็ม ในหัวข้อ ก้าวร่วมกัน…สู่ก้าวที่ยั่งยืน : ‘เลี่ยว ฮอร์น พัธโนทัย’ ถามดังๆ ‘ถ้าไม่ใช่เราแล้วใคร ถ้าไม่ใช่ตอนนี้แล้วเมื่อไหร่’ ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/08/thaipublica-forum-2022-move-together-for-sustainable-move-leo/ อย่าลืม กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify #ThaiPublicaForum2022 #SDGs #ก้าวร่วมกันสู่ก้าวที่ยั่งยืน
2022-09-14
31 min
ThaiPublica
Sustainability EP8 “วิรไท สันติประภพ” ชี้ sustainability ไม่ใช่แค่ติ๊กถูก
วันที่ 8 สิงหาคม 2565 สำนักข่าวไทยพับลิก้าร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดงานสัมมนา ThaiPublica Forum 2022 : “ก้าวร่วมกัน…สู่ก้าวที่ยั่งยืน” ณ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ชั้น 7 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในวาระครบรอบก้าวสู่ปีที่ 12 ของสำนักข่าวไทยพับลิก้า ที่มุ่งเน้นการเป็นองค์กรสื่อเพื่อความโปร่งใสและความยั่งยืน ThaiPublica Forum 2022 หรือเวทีปัญญาสาธารณะครั้งนี้ จัดขึ้น เพื่อระดมความคิดเห็นต่อยอดมุมมอง เสนอวิธีการแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง และสร้างโอกาสให้กับประเทศไทยไปสู่ความยั่งยืน โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ โรคระบาด ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการเมืองโลก ยากมากที่เราจะรับมือได้เพียงลำพัง เราจึงต้องก้าวร่วมกัน ประเทศไทยได้ดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการ มาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 6 ปี บางเป้าหมายยังห่างไกลความสำเร็จ โจทย์สำคัญ คือจะทำอย่างไรให้เราก้าวร่วมกันได้ และเป็นก้าวที่ยั่งยืน ทำให้ประเทศไทย บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ Sustainable Development Goals หรือ SDGs ในปี 2030 ของสหประชาชาติร่วมกัน พบคำตอบจาก“ดร.วิรไท สันติประภพ” ประธานกรรมการบริหารและเลขาธิการ “มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์” และ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนที่ 20 ที่กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในเวทีปัญญาสาธารณะครั้งนี้ อ่านบทความฉบับเต็ม ก้าวร่วมกัน…สู่ก้าวที่ยั่งยืน : “วิรไท สันติประภพ” ชี้สิ่งที่ต้องทำคือ ‘sustainability in substance’ ไม่ใช่แค่ติ๊กถูก ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/08/thaipublica-forum-2022-move-together-for-sustainable-move-veerathai/ #ThaiPublicaForum2022 #SDGs #ก้าวร่วมกันสู่ก้าวที่ยั่งยืน
2022-09-11
45 min
ThaiPublica
Building ESG Driven Society “ปุณยวีร์ จันทรขจร”มอง ESG เป็น “Choice-Gimmick” ที่ยังมีคำถาม!!!
ทุกยุคทุกสมัยมักจะมีนักลงทุนแถวหน้าถือกำเนิดขึ้นผ่านกลยุทธ์และปรัชญาการลงทุนในรูปแบบที่แตกต่างกัน จนกลายเป็นสไตล์การลงทุนของตนเองที่มีนักลงทุนรายอื่นๆตามรอย “ปุณยวีร์ จันทรขจร” หรือ "โค้ชเป๊ก" วิทยากรด้านการลงทุนชื่อดัง จัดเป็นนักลงทุนแถวหน้าในตลาดหุ้นไทย ที่สร้างความสำเร็จให้กับตัวเองด้วยกลยุทธ์การลงทุนแบบ โมเมนตั้ม ที่เห็นผลได้จริง ในโลกการลงทุนปัจจุบันมีแนวคิด รูปแบบการลงทุนใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย โดยหนึ่งในแนวคิดการลงทุนนั้นคือ การลงทุนที่คำนึงถึงการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม Environment สังคม Social และบรรษัทภิบาล Governance ด้วยเชื่อกันว่า การลงทุนยั่งยืนจะนำมาซึ่งผลตอบแทนที่ดีกว่าในระยะยาวเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนรูปแบบอื่นๆ “ปุณยวีร์ จันทรขจร” มีความเห็นอย่างไรต่อการลงทุน ESG หรือ ESG Investing รายการ สร้างสังคมฉุกคิดด้วย “ESG” จะพาคุณผู้ฟัง ไปติดตามมุมมอง แนวคิด ต่อการลงทุนด้วยหลัก ESG ของ “ปุณยวีร์ จันทรขจร” "โค้ชเป๊ก" ที่มีประสบการณ์การลงทุนมากว่า 10 ปี ปัจจุบันเป็น CEO & Co-Founder( แห่ง Data-Driven ให้บริการซอฟต์แวร์ในการช่วยหาหุ้นและเก็งกำไร ที่ตอบโจทย์นักลงทุนรายย่อยโดยตรงและยังคงเป็นนักลงทุนที่ active ในตลาดหุ้นไทย อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม “ปุณยวีร์ จันทรขจร” นักลงทุนแถวหน้ามอง ESG เป็น “Choice-Gimmick” ที่ยังมีคำถาม!!! ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/08/building-esg-driven-society-36/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube,Soundcloud,Apple Podcast,Google Podcast และ Spotify
2022-08-30
55 min
ThaiPublica
Sustainability EP7 “ซีพีเอ็น” กับการปลูก ESG ให้อยู่ในชีวิตประจำวัน
ภายใต้ “กลุ่มเซ็นทรัล” ซึ่งประกอบธุรกิจต่างๆ มากมาย หนึ่งในนั้นคือธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในนาม “บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)” หรือ CPN ปัจจุบันบริษัทมีโครงการอสังหาริมทรัพย์กว่า 60 แห่งทั่วประเทศ ทั้งศูนย์การค้า ศูนย์บันเทิง อาคารสำนักงาน และบ้านจัดสรร “นภารัตน์ ศรีวรรณวิทย์” Chief Finance, Accounting and Risk management Officer บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอ็น กล่าวว่า ธุรกิจการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะศูนย์การค้าต้องมองระยะยาวอย่างน้อย 30 ปี ดังนั้น ในการพัฒนาแต่ละโครงการจะมีองค์ประกอบ “ความยั่งยืน” เป็นกลยุทธ์หลัก ประกอบด้วย People(พีเพิล) Planet(แพลนเน็ต) People คือ เติบโต ช่วยเหลือและแชร์องค์ความรู้กับ “คน” ทุกระดับ Planet คือ มุ่งสู่พลังงานสะอาดและจัดการของเสีย “นภารัตน์” บอกว่า ธุรกิจที่ยังไม่ได้เริ่มทำเกี่ยวกับความยั่งยืนว่า ควรเริ่มจากภายในองค์กรและระดับผู้บริหารเป็นลำดับแรก และเมื่อมีความเชื่อเดียวกันแล้วจะกระจายสู่วงกว้าง ต่อมาให้ลงมือ แต่ถ้าคิดว่ายังไม่เข้าใจมากพอก็ให้หาพันธมิตรที่ช่วยแชร์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และวางกรอบแนวทางร่วมกัน อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม “ซีพีเอ็น” ก้าวความยั่งยืนจาก “ข้างใน” กับการปลูก ESG ให้อยู่ในชีวิตประจำวัน ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/06/building-esg-driven-society24/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify
2022-08-25
1h 18
ThaiPublica
Sustainability EP6 เงินติดล้อ เชื่อมข้อต่อให้ “ชีวิตหมุนต่อได้” สินเชื่อ=โอกาส
ESG เป็นอีกหนึ่งกระบวนการพัฒนาไปสู่เป้าความยั่งยืน เป็นเครื่องมือของนักลงทุนที่มักจะใช้เป็นกรอบเพื่อการตัดสินใจเลือกบริษัทเพื่อการลงทุน จึงเป็นการผลักดันให้องค์กรภาคธุรกิจให้ความสำคัญกับเรื่องมากยิ่งขึ้น ใครที่ทำอยู่แล้วก็เร่งทำให้ดียิ่งขึ้น ใครทำยังไม่ทำเริ่มให้ความสนใจและลงมืออย่างจริงจัง หากไม่ทำวันนี้ก็อาจจะตกกระบวน ESG เป็นเรื่องความยั่งยืนและเป็นเรื่องระยะยาวที่กว่าจะเห็นผล ซึ่ง “คุณปิยะศักดิ์ อุกฤษฎ์นุกูล” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.เงินติดล้อ ให้ความเห็นว่า ESG คล้ายๆ ไมโครไฟแนนซ์ตรงที่ไม่มีทางแก้ปัญหาที่จะเห็นผลในระยะสั้นๆ เพราะเป็นสิ่งที่ต้องร่วมกันทำเงินติดล้อเป็นไมโครไฟแนนซ์ที่ช่วยให้คนเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้ เพราะมีความเชื่อว่า ‘เครดิตหรือสินเชื่อเท่ากับโอกาส’ ยิ่งเพิ่มให้คนเข้ามาในระบบที่ถูกต้องได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้สังคมแข็งแรงมากขึ้นเท่านั้น มาติดตาม ภารกิจการให้สินเชื่อเพื่อสร้างโอกาสให้ชีวิตหมุนต่อได้ ของบมจ.เงินติดล้อ กับการให้สัมภาษณ์ของ คุณปิยะศักดิ์ อุกฤษฎ์นุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ โดย “บุญลาภ ภูสุวรรณ” บรรณาธิการบริหารไทยพับลิก้า อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม เงินติดล้อ เชื่อมข้อต่อให้ “ชีวิตหมุนต่อได้” กับหมุดหมาย ESG ที่เป็นธรรม… สินเชื่อ=โอกาส ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/05/building-esg-driven-society22/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast, Spotify
2022-08-12
43 min
ThaiPublica
Building ESG Driven Society วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ:‘SRI’ สร้างบรรทัดฐาน ยกระดับสังคม-โลก
SRI สร้างบรรทัดฐานการลงทุน นำไปสู่ ESG ยกระดับสังคม SRI หรือ Socially Responsible Investment แนวทางการลงทุนอย่างรับผิดชอบต่อสังคม ของผู้ลงทุนสามารถสร้าง บรรทัดฐาน จนกลายเป็นเรื่องปกติ และจะยกระดับทั้งโลกทั้งสังคมได้ “พลังของสังคมสามารถช่วยกันสร้างสังคมให้ดีขึ้นได้” มุมมองของ ‘วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ’ กูรูการเงินการลงทุนแถวหน้าในแวดวงการเงินเมืองไทย ผู้มากประสบการณ์การเงินการลงทุนทั้งในด้าน supply จากการเป็นผู้บริหารสถาบันการเงิน และด้าน demand จากการเป็นนักลงทุนส่วนบุคคล การส่งเสริม SRI มีผลต่อการลงทุนในกรอบ ESG ด้วย เพราะผู้ลงทุน SRI สามารถขับเคลื่อน/ผลักดันให้บริษัททำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ “แนวโน้มผู้ลงทุนจะเคลื่อนไหวมากขึ้นเพื่อให้บริษัทมีแนวปฏิบัติเรื่อง ESG ฉะนั้นบริษัทที่ต้องการให้คนมาลงทุน ต้องการเงินจากตลาด ก็ต้องทำในทิศทางเดียวกัน โลกค่อยๆเปลี่ยนไป สังคมกำลังขับเคลื่อนให้คนทำไม่ดีอยู่ไม่ได้” อ่านบทความเต็ม วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ:การลงทุนอย่างรับผิดชอบ ‘SRI’ สร้างบรรทัดฐาน ยกระดับสังคม-โลก ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/08/building-esg-driven-society35/ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูล ก่อนตัดสินใจลงทุน อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube,Soundcloud,Apple Podcast,Google Podcast และ Spotify #SETESGAcademy #THSI #corporatesustainbility
2022-08-02
54 min
ThaiPublica
Sustainability EP5 “บีจีซี” ชี้ความยั่งยืนเป็นทั้ง ‘ความท้าทายและโอกาส’
กระแสความยั่งยืน ที่มาพร้อมกับมาตรการ กลไก ที่ต้องปฏิบัติเพื่อตอบโจทย์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน เป็นความท้าทายอย่างมากของธุรกิจในโลกที่มีความผันผวนสูง และมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์แก้ว อย่างบริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน) หรือ “BGC” ก็ต้องรับมือกระแสความยั่งยืนเช่นเดียวกัน คุณวิศาล ลออเสถียรกุล ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ-ห่วงโซ่อุปทานบรรจุภัณฑ์แก้ว บริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน) บีซีจี ให้สัมภาษณ์บุญลาภ ภูสุวรรณ” บรรณาธิการบริหารไทยพับลิก้าว่า “BGC มองความยั่งยืนเป็นทั้งความท้าทายและโอกาสทางธุรกิจ บริษัทขับเคลื่อนและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยนวัตกรรม การขับเคลื่อนความยั่งยืนที่มาพร้อมกลไกและกฎเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตาม บางครั้งอาจจะมองว่าเป็นการกีดกันทางการค้ารูปแบบ แต่หากเตรียมความพร้อมในเรื่องความยั่งยืนตั้งแต่วันนี้ ถ้ามีกฎเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติ หากวันนั้นมาถึง ก็จะเป็นโอกาสของธุรกิจ แต่คนที่ไม่เตรียมความพร้อม ก็จะเป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจ อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม “บีจีซี” ชี้ความยั่งยืนเป็นทั้ง ‘ความท้าทายและโอกาส’ แนะต้องขับเคลื่อนด้วย ‘นวัตกรรม’ ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/06/building-esg-driven-society28/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast, Spotify
2022-07-28
52 min
ThaiPublica
Sustainability EP4 กสิกรไทยกับเส้นทาง ESG … Do Good, Do Well, Do Together
ธนาคารกสิกรไทย ประกาศนโยบายการดําเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาตั้งแต่ปี 2557 โดยในปี 2564 ตั้งเป้าการปลอยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2573 หรืออีก 8 ปีข้างหน้า ล่าสุดมีการเปิดตัวโครงการ GO GREEN TOGETHER ด้วยการปล่อยสินเชื่อ GREEN ZERO สำหรับผู้ต้องการซื้อบ้านที่ติดแผงโซลาร์เซลล์ หรือซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในอีกหนึ่งเป้าหมายของธนาคาร ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในพอร์ตโฟลิโออีกด้วย และเป็นคำมั่นสัญญาในการเดินหน้า ESG อย่างต่อเนื่อง คุณกฤษณ์ จิตต์แจ้ง กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย หรือเคแบงก์ กล่าวว่า เรื่อง ESG ทั้ง Environment, Social, และ Governance ธนาคารจะไม่แยกกันทำเหมือนกิจกรรมเพื่อสังคมก่อนหน้านี้ แต่นำแนวคิดนี้มาเชื่อมกับการจัดการธุรกิจของธนาคาร เพราะเชื่อว่าการทำธุรกิจ กับ ESG เมื่อประกบรวมกันจะเกิดพลังมากที่สุด เป็นการ Do Good , Do Well , Do Together แล้วในที่สุด Do More แน่นอน ESG ทำได้ ไม่ต้องรอ เพื่อก้าวเดินไปได้ก่อน แม้จะยังมีอะไรที่ไม่ชัดเจนบ้าง ไม่สมบูรณ์บ้าง แต่ทุกคนสามารถทำในสิ่งที่รู้ได้ อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม " กสิกรไทยกับเส้นทาง ESG … Do Good, Do Well, Do Together แล้วในที่สุด Do More" ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/03/building-esg-driven-society14/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast, Spotify
2022-06-06
1h 03
ThaiPublica
Building ESG Driven Society ESG โรดแมป ESG “บลจ.ยูโอบี” active investor สกรีนการลงทุนให้ครบทุกมิติ
แม้การลงทุนที่มุ่งสู่ความยั่งยืน หรือ ESG : Environmental (สิ่งแวดล้อม) Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล) จะเป็นแนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย แต่มุมมองเกี่ยวกับการลงทุนด้าน ESG สำหรับบริษัทจัดการกองทุน (บลจ.) แต่ละแห่งก็มีแนวทางปฏิบัติที่แตกต่างกัน สำหรับ บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด ที่มีบริษัทแม่ในสิงคโปร์ ซึ่งเป็น Regional Player และเป็นกลุ่มบริษัทแรกที่ลงนามใน UN-PRI หรือ UN- Principles for Responsible Investment นอกจากจะการมองการลงทุนด้วย ESG ในหลากหลายมิติแล้ว ยังนำ ESG เข้ามาอยู่ในกระบวนการจัดสรรการลงทุนอย่างแท้จริงอีกด้วย มาติดตาม การเติม ESG ให้ครบทุกมิติการลงทุน ของบลจ.ยูโอบี จากการให้สัมภาษณ์ของ คุณเจิดพันธุ์ นิธยายน กรรมการผู้จัดการ สายการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมทีมงาน คุณกุลฉัตร จันทวิมล รองกรรมการผู้จัดการ สายพัฒนาธุรกิจ และคุณสิริอนงค์ ปิยสันติวงศ์ ผู้จัดการกองทุน ฝ่ายการลงทุนสินทรัพย์ทั่วโลก สัมภาษณ์โดยจิระประภา กุลโชติ บรรณาธิการข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า อ่านฉบับเต็มบทสัมภาษณ์ ในหัวข้อ "โรดแมป ESG “บลจ.ยูโอบี” active investor สกรีนการลงทุนให้ครบทุกมิติ" ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/05/building-esg-driven-society21/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #SETESGAcademy #THSI #corporatesustainbility
2022-05-25
1h 02
ThaiPublica
Sustainability EP3 “วิบูลย์ กรมดิษฐ์” แนะทำ “ESG” ต้องไม่ศรีธนญชัย ชูเป็นจุดขาย ดึงนักลงทุน
บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่มีขนาดพื้นที่รวมมากถึงประมาณ 45,000 ไร่ แบ่งเป็น นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี พื้นที่ 18,840 ไร่ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง พื้นที่ 16,895 ไร่ รายรอบด้วยองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ถึง 25 แห่ง ขณะที่รายได้ของอุตสาหกรรมที่มาลงทุนใน “เมืองอมตะ” รวมกันประมาณ 10% ของจีดีพีประเทศ สะท้อนถึงความเกี่ยวพันกับผู้ส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมาก ทำให้กลุ่มอมตะ ยกระดับความเป็นนิคมอุตสาหกรรม มาเป็นเมืองอุตสาหกรรม ต้องบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน สร้างความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (Environment , social, Governance: ESG ) “อมตะ“ อยากเห็นตัวเองเป็น Industrial Park ไม่ใช่เพียง Industrial Estate หรือ Industrial City " แล้วอมตะ จะพัฒนาอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย มาฟังคุณวิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่ บมจ. อมตะ คอร์ปอเรชัน ให้สัมภาษณ์ไทยพับลิก้า อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม “วิบูลย์ กรมดิษฐ์” แนะทำ “ESG” ต้องไม่ศรีธนญชัย ชูเป็นจุดขาย ดึงนักลงทุน ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/02/building-esg-driven-society09/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube,Soundcloud,Apple Podcast,Google Podcast,Spotify
2022-05-17
1h 02
ThaiPublica
Sustainability EP2 น้ำมันพืชไทย : พัฒนาคุณภาพสินค้าควบคู่พัฒนา “ESG”
น้ำมันพืชเป็นสินค้าที่ครัวเรือนส่วนใหญ่บริโภค ผู้ผลิตจึงต้องผลิตสินค้าคุณภาพและปลอดภัย แต่ในโลกปัจจุบันที่ผู้คนไม่เพียงตระหนักถึงการกินดีอยู่ดีเท่านั้น และให้ความสำคัญกับการบริโภคที่ยั่งยืน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น คุณภาพและความปลอดภัยเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ธุรกิจน้ำมันพืชจึงต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังทั้งผู้บริโภคและผู้ลงทุน เนื่องจากธุรกิจน้ำมันพืชมีการแข่งขันสูงด้านราคา ผู้บริโภคสามารถเลือกแบรนด์ที่มีราคาถูกกว่า ผลิตภัณฑ์มีหลากหลายกว่าทดแทนได้ บริษัทน้ำมันพืชไทย จำกัด(มหาชน) ผลิตและจำหน่ายสินค้าน้ำมันบริโภค ตรา “องุ่น” และวัตถุดิบอาหารสัตว์ภายใต้ชื่อ “ทีวีโอ” ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดำเนินธุรกิจมา 50 กว่าปีแล้ว อยากจะอยู่เป็นร้อยปี จึงใช้ ESG เป็นแนวทางปรับตัวให้ทันสถานการณ์อยู่เสมอ มาติดตาม การทำเรื่อง “ยั่งยืน” เพื่อ “องค์กรยั่งยืน” ของบริษัทน้ำมันพืชไทย จำกัด(มหาชน) หรือ TVO กับการให้สัมภาษณ์ของ คุณพาชัย จันทร์พิทักษ์ กรรมการผู้จัดการ โดย “บุญลาภ ภูสุวรรณ” บรรณาธิการบริหารไทยพับลิก้า อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม น้ำมันพืชไทย : พัฒนาคุณภาพสินค้าควบคู่พัฒนา “ESG” https://thaipublica.org/2022/02/building-esg-driven-society05/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube,Soundcloud,Apple Podcast,Google Podcast,Spotify
2022-05-12
48 min
ThaiPublica
Sustainability EP1 สาลี่ คัลเล่อร์ ปลูก DNA "ความยั่งยืน" ด้วยแนวร่วมพนักงานและพันธมิตร
เมื่อ “อุตสาหกรรมพลาสติก” กำลังถูกตั้งคำถามถึงความเป็น “ผู้ร้าย” ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่ภาวะโลกร้อนเป็นวาระสำคัญ พลาสติกเป็นหนึ่งในปัจจัยเร่งให้เกิดภาวะดังกล่าว ตั้งแต่ประเด็นการสร้างมลภาวะ ขยะพลาสติก การย่อยสลาย ขยะในทะเล และอื่นๆ อีกมากมาย เพราะในกระบวนการทำพลาสติกทุกประเภท เป็นอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ต้องแลกกับทรัพยากรธรรมชาติที่สูญเสียไป ขณะเดียวกัน ในขั้นตอนการผลิตก็มีของเสียจากการผลิตจำนวนไม่น้อย ซึ่งพลาสติกหลายชนิดไม่สามารถกำจัดได้โดยไม่ทิ้งสิ่งตกค้างไว้ให้โลก บริษัท สาลี่ คัลเล่อร์ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้เล่นขนาดกลางในอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งดำเนินธุรกิจพลาสติกมาอย่างต่อเนื่อง ได้ปรับและเปลี่ยนเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลง และเทรนด์ ความยั่งยืนที่จะเกิดขึ้น ดร.ศรัญธินี มงคลรัตน์ ผู้จัดการ แผนกนวัตกรรมและความยั่งยืน บริษัท สาลี่ คัลเล่อร์ จำกัด (มหาชน) เล่าให้ฟังถึง การปลูก “ความยั่งยืน” ผ่านการสร้างแนวร่วม เพื่อการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยดีเอ็นเอ “TRIIPS” ในการให้สัมภาษณ์ จิระประภา กุลโชติ บรรณาธิการข่าวต่างประเทศ ไทยพับลิก้า อ่านฉบับเต็มบทสัมภาษณ์ สาลี่ คัลเล่อร์: ปลูกดีเอ็นเอ “ความยั่งยืน” ด้วยแนวร่วมพนักงานและพันธมิตร https://thaipublica.org/2022/02/building-esg-driven-society07/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube,Soundcloud,Apple Podcast,Google Podcast,Spotify
2022-05-07
1h 01
ThaiPublica
Building ESG Driven Society การวิเคราะห์ ESG ไม่มีสูตรสำเร็จ แต่นำไปสู่ผลลัพธ์ที่เหมือนกัน
การลงทุนบนหลัก ESG กำลังเป็นกระแสหลักการลงทุนของโลก บริษัทและนักลงทุนต่างก็เหมือนกันคือ ใช้การวิเคราะห์ ESG ในการประเมินความเสี่ยงการลงทุน นอกเหนือจากการมองเห็นถึงโอกาสของการลงทุนที่ได้รับผลตอบแทน การประเมินด้วยกระบวนการที่เหมาะสม จะช่วยให้มีการจัดสรรทรัพยากรไปยังการลงทุนได้อย่างถูกต้องและนักลงทุนรู้ได้ว่า เป้าหมายการลงทุนที่พิจารณาไว้นั้นคุ้มค่าที่จะลงทุนหรือไม่ การเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญ ปัจจัยภายนอก และข้อมูลอื่นๆที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุน ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่จะผ่านการวิเคราะห์ของนักวิเคราะห์การลงทุน แล้วนักวิเคราะห์การลงทุนของไทยนำ ปัจจัย ESG มาใช้ในการวิเคราะห์อย่างไร ฟังคำตอบจาก คุณไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด ในฐานะนายกสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน สัมภาษณ์โดยจิระประภา กุลโชติ บรรณาธิการข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า อ่านฉบับเต็มบทสัมภาษณ์ ในหัวข้อ การวิเคราะห์ ESG ไม่มีสูตรสำเร็จ แต่สุดท้ายนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เหมือนกัน ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/04/building-esg-driven-society20/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #SETESGAcademy #THSI #corporatesustainbility
2022-04-30
39 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP46 "อินโนบิก" วิถีใหม่ของ ปตท. ขับเคลื่อนทุกชีวิต ด้วยพลังแห่งอนาคต
โลกที่มุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืน ทำให้ปตท. บริษัทชั้นนำข้ามชาติที่เคยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคมด้วยพลังงานฟอสซิล ต้องปรับไปสู่การขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคต วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ ผ่าน อินโนบิก(เอเชีย) และเติบโตบน S-Curve อุตสาหกรรมแห่งอนาคต ดร. บุรณิน รัตนสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารกลยุทธ์กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด ให้สัมภาษณ์ “บุญลาภ ภูสุวรรณ” บรรณาธิการบริหารไทยพับลิก้าว่า วิสัยทัศน์ของ ปตท. จะไม่ได้หยุดที่พลังงานเท่านั้น แต่มีธุรกิจใหม่ๆ ที่ตอบสนองต่อการดำรงชีวิตของผู้คน ตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย โดยอนาคตของประเทศไทยต้องมุ่งเน้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เน้นด้านนวัตกรรมมากขึ้น เพื่อให้มีการเติบโตบนฐานเศรษฐกิจใหม่ ปตท. จึงจัดตั้ง บริษัท อินโนบิก (เอเชีย) ขึ้น และปตท.จะเติบโตไปพร้อมกับพันธมิตรที่มีวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายร่วมกัน บนเส้นทาง ESG อ่านบทความฉบับเต็มในหัวข้อ “อินโนบิก” มุ่งสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพ ด้วย “แพลตฟอร์ม” ให้คนไทยเติบโตไปด้วยกัน ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/03/innobic-buranin-rattanasombat/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify
2022-04-13
58 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP 45 ถอดแก่นคิด “สาธิตธรรมศาสตร์” ปั้นเด็ก ปั้นอนาคตไทย
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ปัจจุบันมีเด็กนักเรียนตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ 1-5 ถือเป็นโรงเรียนสาธิตน้องใหม่มาก เพราะเพิ่งตั้งมาได้ 6 ปี เจอกับประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ว่า “ล้างสมองเด็ก” เป็นเสียงวิพากษ์วิจารณ์ด้านลบ ท่ามกลางเสียงเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปการจัดการเรียนการสอน เพื่อเตรียมความพร้อมเด็กรับมือกับโลกยุคใหม่ บุญลาภ ภูสุวรรณ” บรรณาธิการบริหารไทยพับลิก้า เดินเข้ารั้ว โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อหาคำตอบจากการสัมภาษณ์ ดร.อนุชาติ พวงสำลี ประธานบริหารโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า การเรียนการสอน ณ โรงเรียนแห่งนี้ เป็นกระบวนการล้างสมองเด็ก หรือแนวทางการปฏิรูปการศึกษาที่หลายฝ่ายกำลังเรียกร้องอยู่ในขณะนี้ ในตอนที่แล้ว ดร.อนุชาติ พวงสำลี ประธานบริหารโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวถึงโจทย์การตั้งโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว ว่าต้องการสร้างคนในอนาคตที่มีทักษะในทุกมิติ มีอัตลักษณ์ในการเคารพความแตกต่างหลากหลาย และขับเคลื่อนด้วยการเจาะลึกถึง pain point ของระบบการศึกษาไทยที่ผ่านมา ทั้งเรื่องของสายสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน นักเรียน และผู้ปกครอง ให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน การสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับเด็กนักเรียนทั้งด้านร่างกายและจิตใจ สุดท้าย คือการปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับวิถีการเรียนของเด็กรุ่นใหม่ (learning style) ข่าวเจาะตอนนี้ จะได้พบกับ อีกหนึ่งปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญในการปั้นอนาคตเด็กไทยตามโจทย์ที่ตั้งไว้ คือ “ครู” และ "เด็ก" โดยกระบวนการการบ่มเพาะ “ครู” รุ่นใหม่ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง เป็นการลงทุนที่สำคัญ เพราะโรงเรียนมีหน้าที่ในการสร้างระบบนิเวศน์ให้พร้อม เพื่อดึงศักยภาพเด็กก้าวสู่อนาคต โลกแห่งอาชีพ ต่อไปจะเปลี่ยนไปหมด การทำให้เด็กรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง คือความหวังของอนาคตที่ยั่งยืน อ่านบทสัมภาษณ์ ถอดแก่นคิด “โรงเรียนสาธิตธรรมศาสตร์” ปั้นเด็ก ปั้นอนาคตไทย ทั้ง 2 ตอน ฉบับเต็ม ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/02/thammasat-secondary-school01/ https://thaipublica.org/2022/02/thammasat-secondary-school02/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify
2022-04-01
49 min
ThaiPublica
Building ESG Driven Society กระบวนการลงทุน “ESG” เป็น “Journey” ที่ต้องพัฒนาไม่สิ้นสุด”
การลงทุนบนหลัก ESG (Environmental, Social and Governance: ESG) กำลังเป็นกระแสหลักการลงทุนของโลก ฟังมุมมอง แนวคิด และวิธีการลงทุนด้วยหลัก ESG ของนักลงทุนสถาบัน คุณสันติ ธนะนิรันดร์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ บลจ.บัวหลวง ซึ่งถือเป็นบลจ.แห่งแรก ๆ ที่มีการจัดสรรการลงทุนบนหลัก ESG ต่อเนื่องมาได้ประมาณ 10 ปีแล้ว และยังเป็นบริษัทจัดการกองทุน ที่มีกองทุนซึ่งเน้นการลงทุนในบริษัทที่ทำธุรกิจอย่างยั่งยืนมากที่สุดอีกด้วย สัมภาษณ์โดยจิระประภา กุลโชติ บรรณาธิการข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า อ่านฉบับเต็มบทสัมภาษณ์ในหัวข้อ บลจ.บัวหลวงชี้กระบวนการลงทุน “ESG” เป็น “Journey” ที่ต้องพัฒนาไม่สิ้นสุด” ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/03/building-esg-driven-society11/ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลของกองทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนที่เปิดเผยไว้ในแหล่งต่างๆ ก่อนตัดสินใจลงทุน อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #SETESGAcademy #THSI #corporatesustainbility
2022-03-21
35 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP 44 ถอดแก่นคิด “สาธิตธรรมศาสตร์” ปั้นเด็ก ปั้นอนาคตไทย
จากคำให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ที่ว่า “กำลังให้หน่วยงานเกี่ยวข้องไปดูกรณีที่มีข้อห่วงใยหลักสูตรของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจมีการบิดเบือนประวัติศาสตร์และสถาบัน” เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 นั้น ชื่อ “โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” จึงเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ปัจจุบันมีเด็กนักเรียนตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ 1-5 ถือเป็นโรงเรียนสาธิตน้องใหม่มาก เพราะเพิ่งตั้งมาได้ 6 ปี มีประเด็นวิพากษ์วิจารณ์โรงเรียนแห่งนี้ ว่า “ล้างสมองเด็ก” ด้วยเหตุจากการเชิญนักวิชาการมาร่วมให้แนวทาง ให้ข้อมูลความรู้กับคุณครูผู้สอน ซึ่งเป็นวิถีปกติของโรงเรียนแห่งนี้เพื่อพัฒนาศักยภาพของคุณครูผู้สอน และต่อมาบานปลายไปถึงเรื่องเด็กไม่ใส่เครื่องแบบ ไม่มีการยืนเข้าแถวเคารพธงชาติ ไม่เคร่งครัดเรื่องทรงผม ไม่สอนวิชาลูกเสือ เนตรนารี ฯลฯ เป็นเสียงวิพากษ์วิจารณ์ด้านลบ ท่ามกลางเสียงเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปการจัดการเรียนการสอน เพื่อเตรียมความพร้อมเด็กรับมือกับโลกยุคใหม่ บุญลาภ ภูสุวรรณ” บรรณาธิการบริหารไทยพับลิก้า เดินเข้ารั้ว โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อหาคำตอบจากการสัมภาษณ์ ดร.อนุชาติ พวงสำลี ประธานบริหารโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า การเรียนการสอน ณ โรงเรียนแห่งนี้ เป็นกระบวนการล้างสมองเด็ก หรือแนวทางการปฏิรูปการศึกษาที่หลายฝ่ายกำลังเรียกร้องอยู่ในขณะนี้ และโจทย์ของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คืออะไร อ่านรายงานฉบับเต็ม ในหัวข้อ ถอดแก่นคิด “สาธิตธรรมศาสตร์” ปั้นเด็ก ปั้นอนาคตไทย ทั้ง 2 ตอนได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/02/thammasat-secondary-school01/ https://thaipublica.org/2022/02/thammasat-secondary-school02/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify
2022-03-12
52 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะEP 43 Climate Action 7 Go Green Mission ปักหมุด Net Zero และ Waste Management
รายงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฉบับล่าสุด บ่งชี้ว่า เราไม่มีเวลาจะเสียอีกแล้ว ไทยพับลิก้าขอนำเสนอ Climate Action จากหลากหลายองค์กร เพื่อร่วมกันสร้างโลกใบนี้ให้ยั่งยืน สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า พูดคุยกับ ดร.หลุยส์ คริสธานินทร์ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ถึง กลยุทธ์ ‘7 Go Green Mission’ โดย ‘ซีพี ออลล์’ จากร้าน 7-11 กว่า 13,000 สาขาทั่วประเทศ สู่โจทย์การสร้างความยั่งยืนให้ประเทศ ผ่านแนวคิด Green Store, Green Logistics, Green Packaging และ Green Living กลยุทธ์องค์กรไม่ใช่แค่มิติการทำธุรกิจ ที่แต่เป็นการทำธุรกิจควบคู่กับความยั่งยืน CPALL ยังได้เน้นการส่งเสริม Active Consumer และทำงานร่วมกับทุกพันธมิตร และพยายามจับมือกับทุกคน เพราะเชื่อว่ากระแส sustainability ไม่ใช่แค่ requirement แต่คือ purpose ที่ต้องร่วมมือกันสร้างความตระหนักของคนในสังคมส่วนใหญ่ และทุกคนในสังคมสามารถมีส่วนร่วมได้ อ่านบทสัมภาษณ์ ฉบับเต็มได้ ในหัวข้อ Climate Action: “7 Go Green Mission” ปักหมุด Net Zero และ Waste Management ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2021/12/climate-action-cp-all/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify
2022-03-03
42 min
ThaiPublica
Building ESG Driven Society “ESG” เครื่องมือสำคัญช่วยแยกแยะ “โอกาสในการลงทุน”
การลงทุนบนหลัก ESG (Environmental, Social and Governance: ESG) กำลังเป็นกระแสหลักการลงทุนของโลก กลยุทธ์การลงทุน ESG integration กำลังมาแรง มีการนำ ESG มาใช้ วิเคราะห์ความเสี่ยงในการลงทุนมากมาย เพราะธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับ ESG จะเป็นที่น่าสนใจในสายตานักลงทุน มีความยั่งยืน ศักยภาพในระยะยาว และมีความเสี่ยงน้อยกว่า พบกับ มุมมอง แนวคิด และการใช้ ESG เป็นเครื่องมือในการลงทุนของนักลงทุนสถาบัน คุณธิดาศิริ ศรีสมิต, CFA Chief Investment Officer (รองกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการลงทุน) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย สัมภาษณ์โดยจิระประภา กุลโชติ บรรณาธิการข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มได้ ในหัวข้อ บลจ.กสิกรไทย ชี้ “ESG” เครื่องมือสำคัญช่วยแยกแยะ “โอกาสในการลงทุน”ได้ที่เว็บไซต์ Thaipublica https://thaipublica.org/2022/02/building-esg-driven-society08/ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลของกองทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนที่เปิดเผยไว้ในแหล่งต่างๆ ก่อนตัดสินใจลงทุน อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #SETESGAcademy #THSI #corporatesustainbility
2022-02-28
50 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP 42 Climate Action NRF เร่งลดปล่อยคาร์บอนสู่ Carbon Negative Company
รายงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฉบับล่าสุด บ่งชี้ว่า เราไม่มีเวลาจะเสียอีกแล้ว ไทยพับลิก้าขอนำเสนอ Climate Action จากหลากหลายองค์กร เพื่อร่วมกันสร้างโลกใบนี้ให้ยั่งยืน บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ NRF เป็น 1 ใน 3 องค์กรแรก ของประเทศไทยที่ได้เข้าร่วมกับ Science-based target (SBT): 1.5-degree pledge ตั้งแต่ปี 2019 และตั้งเป้าสู่การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ หรือ Net Zero Emission ภายในปี 2030 สอดคล้องกับเป้าหมายของข้อตกลงปารีส ในการจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยโลกไว้ให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อก้าวสู่การเป็น The 1st Carbon Negative Company บริษัทยั่งยืนแห่งศตวรรษที่ 22 สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า พูดคุยกับ นายแดน ปฐมวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร NRF ถึงกลยุทธ์ที่บริษัทจะบรรลุถึงเป้าหมาย ซึ่งบอกว่า การขับเคลื่อนเรื่อง Net Zero ไม่อาจทำได้เพียงลำพัง แต่ต้องอาศัยทั้งเทคโนโลยี และการร่วมมือกับพันธมิตรในหลาย ๆ ประเทศ และต้องเริ่มลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง อ่านบทสัมภาษณ์ ฉบับเต็มได้ ในหัวข้อ "Climate Action: NRF เร่งเดินหน้าตาม SBTi ลดปล่อยคาร์บอนสู่ Carbon Negative Company" ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/01/climate-action-nrf/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify
2022-02-27
30 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP41 From Strategy to Execution “ยุทธศาสตร์ชาติ” ทำให้เป็นจริง “ทำได้”
เมื่อเร็วๆนี้ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ได้จัดเสวนาเรื่อง From Strategy to Execution ภายในงาน NDC Leadership Talk Series ครั้งที่ 1 โดยมีวิทยากร 3 ท่าน ได้แก่ นายวิรไท สันติประภพ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.), นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และนายโจ ฮอร์น พัธโนทัย กรรมการอำนวยการบริษัท Strategy613 จำกัด ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประเทศจีน โดยมีนายทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ ร่วมดำเนินการเสวนา มุมมองของทั้ง 3 ผู้นำองค์กร ทำให้เห็นถึงความท้าทายของภาครัฐในการวางแผนยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ใหม่แบบหน้ามือเป็นหลังมือ เพื่อรับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มาเร็วและมาแรงให้ได้ทันท่วงที รวมทั้งการเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการทำงาน ที่สำคัญการขับเคลื่อนแผนให้ได้ผลอย่างที่ตั้งเป้าประสงค์ไว้ ต้องมี หลักนำทาง (Guiding Principles) การสื่อสาร การทำความเข้าใจ การสร้างความรับรู้ร่วมกันในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อ่านรายงานฉบับเต็มในหัวข้อ From Strategy to Execution”… “ยุทธศาสตร์ชาติ” ทำให้เป็นจริง “ทำได้” กับ 3 นักปฏิบัติ ทั้ง 3 ตอน ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/01/from-strategy-to-execution01/ https://thaipublica.org/2022/01/from-strategy-to-execution02/ https://thaipublica.org/2022/01/from-strategy-to-execution03/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify
2022-02-10
1h 46
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP40 From Strategy to Execution “ยุทธศาสตร์ชาติ” ทำให้เป็นจริง “ทำได้”
เมื่อเร็วๆนี้ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ได้จัดเสวนาเรื่อง From Strategy to Execution ภายในงาน NDC Leadership Talk Series ครั้งที่ 1 โดยมีวิทยากร 3 ท่าน ได้แก่ นายวิรไท สันติประภพ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.), นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และนายโจ ฮอร์น พัธโนทัย กรรมการอำนวยการบริษัท Strategy613 จำกัด ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประเทศจีน โดยมีนายทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ ร่วมดำเนินการเสวนา รายการข่าวเจาะ จะพาคุณผู้ฟัง ไปติดตามมุมมองของ 3 นักปฏิบัติ ที่ชวนพูดคุย ชวนคิดการทำแผนยุทธศาสตร์ชาติ ทำอย่างไรที่จะนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าประสงค์ที่ทำได้จริง ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการจริงๆ อ่านรายงานฉบับเต็มในหัวข้อ From Strategy to Execution”… “ยุทธศาสตร์ชาติ” ทำให้เป็นจริง “ทำได้” กับ 3 นักปฏิบัติ ทั้ง 3 ตอน ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2022/01/from-strategy-to-execution01/ https://thaipublica.org/2022/01/from-strategy-to-execution02/ https://thaipublica.org/2022/01/from-strategy-to-execution03/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #strategy #execution
2022-02-09
50 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP 39 Climate Action เส้นทางสู่ Net Zero ของเครือเจริญโภคภัณฑ์
รายงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฉบับล่าสุด บ่งชี้ว่า เราไม่มีเวลาจะเสียอีกแล้ว เพื่อร่วมกันสร้างโลกใบนี้ให้ยั่งยืน ไทยพับลิก้าขอนำเสนอ Climate Change Action จากเครือเจริญโภคภัณฑ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือเครือซีพี เป็นองค์กรเอกชนที่มีการดำเนินธุรกิจหลากหลาย ครอบคลุมทั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำผ่าน 14 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ เกษตรอุตสาหกรรม และอาหาร / การค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ / พืชครบวงจร / อาหารสัตว์เลี้ยง / เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และผลิตภัณฑ์อารักขาพืช / ยาและเวชภัณฑ์ / ยานยนต์ / บรรจุภัณฑ์ / การตลาดและการจัดจำหน่าย / การค้าระหว่างประเทศ / อีคอมเมิร์ซและดิจิทัล / โทรคมนาคม / การเงินและธนาคาร / พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงการดำเนินธุรกิจใน 22 ประเทศในทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ มีพนักงานรวมกันทั้งหมด 450,000 คน และมีฐานการผลิตและพื้นที่จัดจำหน่ายทั่วโลก โรงงานผลิต 278 แห่ง ฟาร์มเลี้ยงสัตว์และสัตว์น้ำ 951 แห่ง เซเว่นอีเลฟเว่น 12,432 แห่ง ไฮเปอร์มาร์เก็ตหรือซูเปอร์สโตร์ 219 แห่ง และศูนย์วิจัยฯ 110 แห่ง นี่คือข้อมูลจากรายงานด้านความยั่งยืน เครือเจริญโภคภัณฑ์ปี 2563 นอกจากนี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ยังเป็น Holding Company ที่ไปลงทุนในต่างประเทศ โดยประเทศต่างๆ ที่เครือเจริญโภคภัณฑ์เข้าไปลงทุน ปล่อยก๊าซเรือนกระจกคิดเป็น 55% ของปริมาณการปล่อยทั่วโลก ทำให้เครือเจริญโภคภัณฑ์ต้องแสดงจุดยืนสู่ Net Zero ในการสร้างความยั่งยืนร่วมกัน สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า พูดคุยกับนายสมเจตนา ภาสกานนท์ ผู้อำนวยการด้านพัฒนาความยั่งยืน สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาลและสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ถึงยุทธศาสตร์องค์กรไปสู่เป้าหมาย Carbon Neutral ภายในปีพ.ศ. 2573 หรือปีค.ศ. 2030 จากนั้นค่อยนำไปสู่เป้าหมาย NET ZERO (องค์กรที่ไม่ปล่อยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก) ตามแนวทางของ SBTi (Science Based Target initiative) ภายในปีพ.ศ. 2593 หรือค.ศ. 2050 บทสัมภาษณ์ ฉบับเต็มได้ ในหัวข้อ"Climate Action : “สมเจตนา ภาสกานนท์” กับเส้นทางสู่ Net Zero ของ ‘เครือเจริญโภคภัณฑ์ " ทั้ง 2 ตอน ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2021/12/climate-action-cpg-1/ https://thaipublica.org/2021/12/climate-action-cpg-2/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #NETZero #CarbonNeutral #Sustainability #podcast #โลกร้อน
2022-02-04
43 min
ThaiPublica
Building ESG Driven Society นักลงทุนสถาบันกับ "วิถี ESG...สู่พอร์ตที่ยั่งยืน'
การลงทุนบนหลัก ESG (Environmental, Social and Governance: ESG) กำลังเป็นกระแสหลักการลงทุนของโลก การนำเรื่อง ESG มาผนวกกับการลงทุน ทำให้โอกาสในการลงทุนมีความยั่งยืนในระยะยาว และจากการศึกษา ติดตาม งานวิจัย ของหลายหน่วยงานจะออกมาในทิศทางเดียวกันว่า ความยั่งยืนที่ขับเคลื่อนจากปัจจัยทั้ง 3 ด้านนี้จะส่งผลต่อการลงทุนที่ดีให้กับนักลงทุนในระยะยาวได้ นักลงทุนไทยเองได้เริ่มหันมาให้ความสนใจกับการลงทุนบนหลัก ESG เช่นกัน การลงทุน ESG คืออะไรและทำไมต้องลงทุนด้วย ESG การลงทุน ESG มีความสำคัญอย่างไร พบกับ มุมมอง แนวคิด และวิธีการลงทุนด้วยหลัก ESG ของนักลงทุนสถาบัน คุณยุทธพล ลาภละมูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัด สัมภาษณ์โดย จิระประภา กุลโชติ บรรณาธิการข่าวต่างประเทศ ไทยพับลิก้า อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มได้ ในหัวข้อ ‘นักลงทุนสถาบันกับ "วิถี ESG...สู่พอร์ตที่ยั่งยืน" ได้ที่เว็บไซต์ Thaipublica "การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลของกองทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนที่เปิดเผยไว้ในแหล่งต่างๆ ก่อนตัดสินใจลงทุน" #SETESGAcademy #THSI #corporatesustainbility
2022-01-31
59 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP38 ‘เอ็กโก กรุ๊ป’ เปิดกลยุทธ์เปลี่ยนผ่านจากพลังงานดั้งเดิม สู่ ‘พลังงานหมุนเวียน’
จากสถานการณ์สภาพแวดล้อมโลกที่กดดันธุรกิจการผลิตไฟฟ้าหรืออุตสาหกรรมไฟฟ้า ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ปล่อย Co2 สูงสุด และยังมีแรงกดดันจากสภาวะแวดล้อมอื่นๆ เป็นสาเหตุที่องค์กรหรือภาคธุรกิจในอุตสาหรรมพลังงานไฟฟ้าต้องปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง ทำให้บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือเอ็กโก กรุ๊ป (EGCO) ต้องปรับตัว เปลี่ยนผ่านจากพลังงานดั้งเดิมสู่ ‘พลังงานหมุนเวียน’ ปัจจุบันเอ็กโก กรุ๊ป มีกำลังผลิตตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้นรวมทั้งสิ้น 6,016 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าที่เดินเครื่องเชิงพาณิชย์แล้ว 29 แห่ง โครงการโรงไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง 2 โครงการ และโครงการผลิตจากพลังงานหมุนเวียน ทั้งจากชีวมวล พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ และเซลล์เชื้อเพลิง การเปลี่ยนผ่านจากพลังงานดั้งเดิมสู่ ‘พลังงานหมุนเวียน’ ของเอ็กโก กรุ๊ป จะเป็นอย่างไร มาติดตามกับการให้สัมภาษณ์ของ คุณเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือเอ็กโก กรุ๊ป (EGCO) ที่สัมภาษณ์โยคุณบุญลาภ ภูสุวรรณ บรรณาธิการบริหารไทยพับลิก้า อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มได้ ในหัวข้อ ‘เอ็กโก กรุ๊ป’ เปิดกลยุทธ์เปลี่ยนผ่านจากพลังงานดั้งเดิม สู่ ‘พลังงานหมุนเวียน’ กับเป้า ‘Carbon Neutrality’ ได้ที่เวบไซต์ Thaipublica https://thaipublica.org/2021/12/egco-group-thepparat-theppitak/
2022-01-29
49 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP 37 Climate Action : “ทรู” มุ่งสู่องค์กร Carbon Neutral Take Action-Transform Culture
ข่าวเจาะ EP 37 Climate Action : “ทรู” มุ่งสู่องค์กร Carbon Neutral ผู้นำต้อง Take Action และ Transform Culture รายงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฉบับล่าสุด บ่งชี้ว่า เราไม่มีเวลาจะเสียอีกแล้ว เพื่อร่วมกันสร้างโลกใบนี้ให้ยั่งยืน ไทยพับลิก้าขอนำเสนอ Climate Action จาก บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เล่าว่า กลุ่มทรูได้ประกาศความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ Carbon Neutral ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายในปี ค.ศ. 2030 และประกาศเจตนารมณ์ร่วมกับ GCNT เรื่องวิกฤติโลกร้อนตั้งเป้า Net Zero ภายในปี 2050 หรืออย่างช้าสุดไม่เกินปี 2070 ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางของเครือ ซีพี เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change ความท้าทายที่มีผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของธุรกิจโทรคมนาคม บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)มีการพัฒนานวัตกรรม โซลูชันด้านต่างๆของทรู เพื่อเพิ่มประสิทธิและลดการใช้พลังงาน และเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 5,374 ตันคาร์บอน ที่สำคัญผู้นำต้องพร้อม take action และ transform culture ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรเพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืน และสร้างเวทีของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งองค์กร บทสัมภาษณ์ ฉบับเต็มได้ ในหัวข้อ “Climate Action : “ทรู” มุ่งสู่องค์กร Carbon Neutral ความท้าทายทั้งเป้า “เศรษฐกิจ-สิ่งแวดล้อม” [2]" ที่เวบไซต์ Thaipublica https://thaipublica.org/2021/12/climate-action-true2/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #NETZero #CarbonNeutral #Sustainability #podcast #โลกร้อน
2022-01-25
26 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP 36 Climate Action : “ทรู” มุ่งสู่องค์กร Carbon Neutral ด้วย Sustainability Frame Work
รายงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฉบับล่าสุด บ่งชี้ว่า เราไม่มีเวลาจะเสียอีกแล้ว เพื่อร่วมกันสร้างโลกใบนี้ให้ยั่งยืน ไทยพับลิก้าขอนำเสนอ Climate Action จาก บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เล่าว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change เป็นความท้าทายที่มีผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของธุรกิจโทรคมนาคม เนื่องจากเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่มีการใช้ไฟฟ้าค่อนข้าง กลุ่มทรูจึงได้ประกาศความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ Carbon Neutral ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายในปี ค.ศ. 2030 และประกาศเจตนารมณ์ร่วมกับ GCNT เรื่องวิกฤติโลกร้อนตั้งเป้า Net Zero ภายในปี 2050 หรืออย่างช้าสุดไม่เกินปี 2070 ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางของเครือ ซีพี การขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ Carbon Neutral ได้ยึด True Sustainability Frame Work ซึ่งในหลักการคือ กลุ่มทรูต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน กฎระเบียบพื้นฐานของทุกประเทศ พร้อมวัดผลด้วยตัวชี้วัดทั้งหมด 14 ข้อ ของ True Sustainability Goals 2030 บทสัมภาษณ์ ฉบับเต็มได้ ในหัวข้อ “Climate Action : “ทรู” มุ่งสู่องค์กร Carbon Neutral ความท้าทายทั้งเป้า “เศรษฐกิจ-สิ่งแวดล้อม” [1]" ที่เวบไซต์ Thaipublica https://thaipublica.org/2021/12/climate-action-true1/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify #NETZero #CarbonNeutral #Sustainability #podcast #โลกร้อน
2022-01-22
25 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP35 "เปิดพื้นที่ให้ “เด็กและเยาวชน” สร้าง “ทุนมนุษย์” ขับเคลื่อนประเทศไทยอย่างยั่งยืน"
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) หลังจากที่ได้พ้นจากงานการเมืองไปแล้ว ตอนนี้ ดร.สุวิทย์ ได้เข้ามาทำงานงานด้าน “เด็กและเยาวชน” ที่สนใจเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ประเด็นที่ ดร.สุวิทย์ เข้ามาทำงานมี 2 เรื่องใหญ่ เรื่องแรก คือ เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG (Bio Circular Green Economy) ที่จะเป็นหัวรถจักรในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยหลังโรคโควิด-19 เรื่องที่สอง คือเรื่องเด็กและเยาวชน เพราะเชื่อว่าเด็กและเยาวชน จะเป็นคนกำหนดอนาคต (Future Changer) ของประเทศ ดร.สุวิทย์ เชื่อว่า แต่ละเรื่องหากสำเร็จจะถือเป็นจุดเปลี่ยนประเทศไทย กองบรรณาธิการสำนักข่าวออนไลน์ Thaipublica จะพาไปสำรวจการขับเคลื่อนประเทศไทยอย่างยั่งยืนในมุมมองของ ดร.สุวิทย์ ในรายการข่าวเจาะ บทสัมภาษณ์ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ฉบับเต็มได้ ในหัวข้อ ““สุวิทย์ เมษินทรีย์” ชวนเปิดพื้นที่ให้ “เด็กและเยาวชน” สร้าง “ทุนมนุษย์” ขับเคลื่อนประเทศไทยอย่างยั่งยืน" ที่เวบไซต์ Thaipublica https://thaipublica.org/2021/10/suvit-maesincee-11-10-2564/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify ดำเนินรายการโดย จิรัฐิติ ขันติพะโล
2021-11-26
48 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP34 "“เอสซีจี” ก้าวข้ามวิกฤติโควิด รับโลกยุคใหม่ Zero Carbon"
ท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 หลายๆ องค์กรต่างปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ “เอสซีจี” เป็นอีกหนึ่งในองค์กรขนาดใหญ่ที่ก้าวผ่านวิกฤติมาได้เพราะยึดหลัก ESG สร้างแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีการดำเนินธุรกิจโดยใช้ระบบ BCM (business continuity management) มีการดูแลพนักงาน คำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยของคนหรือพนักงานเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด และยังร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มและทุกภาคส่วนของสังคมในการเผชิญกับสถานการณ์โรคระบาดครั้งนี้ โดยใช้ศักยภาพด้านนวัตกรรมมาพัฒนาและออกแบบนวัตกรรมป้องกันการแพร่เชื้อโควิด-19 เข้ามาต่อยอดช่วยงานบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนอย่างทันท่วงที และพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส รายการข่าวเจาะวันนี้ คุณบุญลาภ ภูสุวรรณ บรรณาธิการบริหาร สำนักข่าวThaiPublica ได้พูดคุยกับคุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี ถึงการฝ่าฟันวิกฤติในช่วงกว่าหนึ่งปีที่ผ่านของ เอสซีจี ด้วย DNA องค์กร ที่พาพนักงาน คู่ค้า สังคม ให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนผ่านยุค New Normal ก้าวไปสู่ความท้าทายในอนาคต อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify ดำเนินรายการโดย จิรัฐิติ ขันติพะโล
2021-11-12
1h 02
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP30 "โควิด-19 วิกฤติเศรษฐกิจ วิกฤติสุขภาพจิตคนไทย"
บทสัมภาษณ์ ธนิสา ทวิชศรี นักวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ถึงปัญหาสุขภาพจิตในประเทศไทย จากวิกฤติโควิด-19 โดยใช้ฐานข้อมูลที่หลากหลาย ตั้งแต่ข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ ไปจนถึงฐานข้อมูล Digital จากดัชนีสืบค้น Google Search Index เพื่อฉายภาพสถานการณ์ด้านสุขภาพจิตของไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และประมวลสถานการณ์ความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตของประชากรในช่วงโควิด-19 ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ที่มีการระบาดระรอกใหม่ และดูเหมือนว่าการแพร่ระบาดในครั้งนี้ ได้นำไปสู่วิกฤติการณ์ในหลายๆเรื่อง ทั้งเรื่องสาธารณสุข และเศรษฐกิจ วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ครั้งนี้ มีความแตกต่างจากวิกฤติอื่นที่ผ่านมา เพราะประชาชนเกือบทั้งประเทศต้องเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตจากมาตรการป้องกันการระบาด เช่น การปิดเมือง การรักษาระยะห่าง (social distancing) และการกักตัวหากเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูง รวมถึงยังมีความไม่แน่นอนว่าวิกฤตครั้งนี้จะนานแค่ไหนและจะจบอย่างไร เพิ่มเติม: วิกฤติโควิด-19 กับปัญหาสุขภาพจิตในประเทศไทย https://thaipublica.org/2021/06/pier-67/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify ดำเนินรายการโดย จิรัฐิติ ขันติพะโล
2021-08-04
22 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP29 "พาประเทศไทยออกจากวิกฤติโควิด กับ ThailandFuture"
ThailandFuture คือ วิสาหกิจเพื่อสังคมที่มีบทบาทสำคัญในการวิเคราะห์แนวโน้มของอนาคต และทำหน้าที่เป็น “ตัวเร่ง-ตัวรวม” ทรัพยากรของประเทศเพื่อหาทางออกนโยบายรูปแบบใหม่ รายการข่าวเจาะตอนที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสพูดคุยกับ ดร.ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการ ThailandFuture ในบทบาทการทำงานของ ThailandFuture ที่มีต่อสังคมไทย โดยรายการข่าวเจาะวันนี้ ดร.ณภัทร จะชี้ให้เห็นถึงปัญหาการรับมือ Covid-19 ณ ขณะนี้ ที่มีความไม่ชัดเจนเรื่องการสั่งการ และกระบวนการทำงาน รวมถึงช่องทางสื่อสารที่ยังมีปัญหา การประกาศต่างๆ มีความเข้าใจยาก โดยทางออกเพื่อจัดการปัญหา Covid-19 ภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีความโปร่งใส ปรับปรุงโครงสร้างให้การทำงานชัดเจน ปลดล็ควัคซีนให้คนได้ได้เข้าถึงวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ สร้างระบบข้อมูลด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล เพื่อช่วยในการตัดสินใจ และควบคุมโรค ขณะที่ความเสี่ยงของประเทศไทยในอนาคต ยังคงมีอีกหลายเรื่อง ที่กำลังรอเราอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Automation ที่กระทบภาคแรงงาน ทำให้เราต้องพัฒนาทักษะ และพัฒนาทุนมนุษย์ เรื่องที่สองคือเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวไทยให้มีคุณภาพ สามคือเรื่องการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในยุคที่ปัญญาประดิษฐ์กำลังเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และสุดท้ายคือการพัฒนาภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ เป็นที่เพิ่งของประชาชนในยามวิกฤติ มาพูดคุยกับ ดร.ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการ ThailandFuture กันต่อ กับบทสัมภาษณ์โดย คุณบุญลาภ ภูสุวรรณ บรรณาธิการบริหารสำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า เพิ่มเติม: สถาบันอนาคตไทยศึกษาเปลี่ยนผ่านสู่ “ThailandFuture” ตัวเร่ง-ตัวรวม ร่วม Rebuilding Thailand https://thaipublica.org/2021/07/thailandfuture01/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify ดำเนินรายการโดย จิรัฐิติ ขันติพะโล
2021-07-22
34 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP28 "ThailandFuture เพื่อ “วันพรุ่งนี้” ของสังคมไทยที่ดีกว่าเมื่อวาน"
สถาบันอนาคตไทยศึกษาเปลี่นผ่านสู่ ‘ThailandFuture’ สานต่อความสำเร็จการเป็นสถาบันคลังสมองที่วิเคราะห์อนาคตไทยมาตั้งแต่พ.ศ. 2555 ThailandFuture คือ วิสาหกิจเพื่อสังคมที่มีบทบาทสำคัญในการวิเคราะห์แนวโน้มของอนาคต และทำหน้าที่เป็น “ตัวเร่ง-ตัวรวม” ทรัพยากรของประเทศเพื่อค้นทางออกนโยบายรูปแบบใหม่ เพื่อให้รู้จัก เข้าใจวิสัยทัศน์ และการทำงานของ ThailandFuture พูดคุยกับ ดร.ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการ ThailandFutureสัมภาษณ์โดย บุญลาภ ภูสุวรรณ บรรณาธิการบริหารสำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า เพิ่มเติม: สถาบันอนาคตไทยศึกษาเปลี่ยนผ่านสู่ “ThailandFuture” ตัวเร่ง-ตัวรวม ร่วม Rebuilding Thailand https://thaipublica.org/2021/07/thailandfuture01/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify ดำเนินรายการโดย จิรัฐิติ ขันติพะโล
2021-07-08
42 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP27 "ปิดทองหลังพระฯ ฟื้นประเทศไทยหลังโควิด ตามแนวพระราชดำริ"
การัณย์ ศุภกิจวิเลขการ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ในฐานะองค์กร ที่เข้ามาพัฒนา และให้ความช่วยเหลือท้องถิ่นในการดูดซับแรงงานที่ย้ายถิ่นฐานจากผลกระทบของโควิด เพื่อจ้างงานผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกเลิกจ้างเข้ามาเป็นพนักงานโครงการและอาสาสมัคร จากประสบการณ์ทำงานร่วมกับชุมเพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ และส่งเสริมอาชีพ ประชาชนมากว่า 10 ปี ปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศไทยที่สถาบันฯพอเจอคืออะไร วิธีทำงานร่วมกับชุมชน และการฟื้นฟูประเทศไทยหลังยุคโควิดควรเป็นอย่างไร เพิ่มเติม: "ปิดทองหลังพระ แนะ 4 ประสาน 3 ประโยชน์ แนวทางบรรเทาพิษโควิด-19 ในชนบทอย่างยั่งยืน" https://thaipublica.org/2020/05/pidthong-4-5-2563/ ข้อมูลมูลนิธิ http://www.pidthong.org/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify ดำเนินรายการโดย จิรัฐิติ ขันติพะโล
2021-06-24
31 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP26 "Mobile Big Data เปิดข้อมูลแรงงานคืนถิ่นไทยหลังโควิค 19"
ผลกระทบที่เราเห็น จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา คือการเคลื่อนย้ายแรงงานครั้งใหญ่ของประเทศไทย ที่ย้ายจากเมืองใหญ่กลับสู่ชนบท ย้ายจากภาคบริการกลับเข้าสู่ภาคการเกษตร รายการข่าวเจาะวันนี้ จะไปพูดคุยกับ ดร. เสาวณี จันทะพงษ์ จากธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้เขียนบทความเรื่อง "แรงงานคืนถิ่นหลังโควิค 19 จุดเปลี่ยนภาคเกษตรไทยและเร่งกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค:ข้อมูลจาก Mobile Big Data" https://thaipublica.org/2021/04/returned-migrant-workers-turning-point-for-agriculture-sector/?fbclid=IwAR0HhzVscIPfQiF1FqKlmFmQVWeI8t5NjpHGB2EUD6qXAefo5NJ1Yq0skzs เพื่อดูว่าผลกระทบของโควิด-19 ต่อตลาดแรงงานในมิติการย้ายคืนถิ่นของช่วงการระบาดระลอกแรกและสองโดยใช้ข้อมูลเร็ว Mobile Big Data เป็นอย่างไร รวมถึงนัยทางนโยบายที่ทุกฝ่ายควรคว้าโอกาสนี้ทรานส์ฟอร์มภาคเกษตรและกระจายความเจริญสู่เศรษฐกิจฐานรากสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจไทยยั่งยืนอย่างแท้จริง อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify ดำเนินรายการโดย จิรัฐิติ ขันติพะโล
2021-05-20
22 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP25 "รื้อโครงสร้างภาษี หาทางรอดยาสูบ จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ”
การจัดเก็บภาษียาสูบ 2 อัตรา ได้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมยาสูบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น โรงงานยาสูบ เกษตรกร พฤติกรรมของผู้บริโภค รวมไปถึงกลไกตลาดด้วย นอกจากนี้การกำหนดนโยบายใหม่ ยังส่งผลต่อการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตรอีก รายการข่าวเจาะวันนี้ จะพาทุกท่านไปพูดคุยกับคุณ กมล ชวาลวิทย์ บรรณาธิการข่าวข้อมูล สำนักข่าวไทยพับลิก้า ถึงผลกระทบของอัตราภาษียาสูบแบบใหม่ เพื่อหาข้อเสนอนโยบาย เพื่อรื้อโครงสร้างภาษีบุหรี่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมไทย คุณผู้ฟังสามารถเข้าไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติม เรื่องโครงสร้างภาษียาสูบได้ ในซีรีย์ข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน ของสำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า ในชื่อซีรีย์ "รื้อโครงสร้างภาษียาสูบ" (1): สำรวจตลาดบุหรี่เมืองไทย ทำไมมีแค่ 2 ราคา? https://thaipublica.org/2021/03/tobacco-tax-restructuring01/ (2) : 3 ปี ภาษีบุหรี่ 2 อัตรา ใครกระทบบ้าง? https://thaipublica.org/2021/03/tobacco-tax-restructuring-02/ (3) : แนะทางรอดยาสูบ จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ https://thaipublica.org/2021/03/tobacco-tax-restructuring-03/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify ดำเนินรายการโดย จิรัฐิติ ขันติพะโล
2021-05-07
28 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP24 " เพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาไทย ด้วยบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติ”
พูดคุยกับ รศ. ดร.ชัยยุทธ ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยฯ รายงานสถานการณ์รายจ่ายด้านการศึกษาไทย ในประเด็นประสิทธิภาพด้านการศึกษาของประเทศไทย ปัจจุบัน ประเทศไทยลงทุนกับการศึกษากว่า 8 แสนล้านบาทต่อปี แต่การศึกษาไทยยัง ‘ใช้เงินไม่ตรงจุด’ ประเมินจากผลคะแนนสอบด้านต่างๆ รวมไปถึงตัวชี้วัดด้าน ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ที่เป็นกับดักให้ระบบการศึกษาย่ำอยู่กับที่ จาก 2 ปัญหาสำคัญคืองบอุดหนุนรายหัว และการให้ความสำคัญกับการพัฒนาครูด้วยงบที่ต่ำ ปัญหาสำคัญที่โครงการนี้พบ ไม่ได้อยู่ที่งบประมาณที่ไม่เพียงพอ แต่อยู่ที่ไม่สามารถใช้งบประมาณได้มีประสิทธิภาพ ผลลัพธ์ต่อผู้เรียนยังไม่เป็นที่น่าพอใจ และยังมีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาทั้งในมิติของโอกาสและคุณภาพ สถานการณ์รายจ่ายด้านการศึกษาของประเทศไทยเป็นอย่างไร การจัดสรรงบประมาณมีปัญหาตรงไหนบ้าง และระบบบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติ จะช่วยให้เราสามาถเข้าใจปัญหาด้านการศึกษาไทยได้อย่างไร มาติดตามได้ ในรายการข่าวเจาะ รายงาน "ข้อมูลระบบบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติ" ที่เวบไซต์ Thaipublica.org (ตอน 1) งบการศึกษา 8 แสนล้าน: รายจ่ายสูง ตกหล่น-ใช้เงินไม่ตรงจุด!!! https://thaipublica.org/2021/02/national-education-accounts01/ (ตอน 2) งบการศึกษา 8 แสนล้าน: กระทรวงศึกษาฯ ควักเท่าไรให้ ‘สวัสดิการนร.-ค่าวิทยฐานะครู’ https://thaipublica.org/2021/02/national-education-accounts02/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify ดำเนินรายการโดย จิรัฐิติ ขันติพะโล
2021-04-15
36 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP23 "ผลกระทบท่องเที่ยวไทย เมื่อยังไม่มีวัคซีนสำหรับเด็กและวัยรุ่น”
ดร.กิตติพงษ์ เรือนทิพย์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส Krungthai COMPASS ผู้เขียนบทความ “Krungthai COMPASS ฉายภาพการท่องเที่ยวไทย เมื่อโลกยังไม่พร้อมใช้วัคซีนโควิดสำหรับเด็กและวัยรุ่น” ระบุว่า แม้ไทยจะอนุญาตนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับวัคซีน เดินทางเข้าประเทศได้แบบไม่ต้องกักตัวในช่วงปลายปี 2021 แต่การที่เด็กยังไม่สามารถฉีดวัคซีนได้ อาจทำให้หลายครอบครัวเลื่อนการเดินทางต่างประเทศออกไปก่อน ภาพของการท่องเที่ยวเมื่อประชากรวัยเด็กและวัยรุ่นยังไม่มีวัคซีนจะเป็นอย่างไร มาติดตามกันในรายการข่าวเจาะวันนี้ “Krungthai COMPASS ฉายภาพการท่องเที่ยวไทย เมื่อโลกยังไม่พร้อมใช้วัคซีนโควิดสำหรับเด็กและวัยรุ่น” https://thaipublica.org/2021/03/krungthai-compass-26/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify ดำเนินรายการโดย จิรัฐิติ ขันติพะโล
2021-03-12
30 min
ThaiPublica
1. เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ "ESG… Growth Engine ในอนาคต เอกชนต้องนำ - รัฐเป็น Part Of Solution"
1. เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ "ESG… Growth Engine ในอนาคต เอกชนต้องนำ - รัฐเป็น Part Of Solution" by ThaiPublica
2021-01-07
25 min
ThaiPublica
2. รื่นวดี สุวรรณมงคล "สร้างระบบนิเวศน์ หนุนบจ.ไทยรับการลงทุนในโลก ESG"
2. รื่นวดี สุวรรณมงคล "สร้างระบบนิเวศน์ หนุนบจ.ไทยรับการลงทุนในโลก ESG" by ThaiPublica
2021-01-07
26 min
ThaiPublica
3. ภากร ปีตธวัชชัย "ESG ไม่ใช่ Nice To Have แต่เป็น Must Have อนาคตตลาดทุนไทย"
3. ภากร ปีตธวัชชัย "ESG ไม่ใช่ Nice To Have แต่เป็น Must Have อนาคตตลาดทุนไทย" by ThaiPublica
2021-01-07
18 min
ThaiPublica
4. ชญาน์ จันทวสุ "Stakeholders เป็นศูนย์กลาง Action ฝังในธุรกิจ ขับเคลื่อนทั้ง Ecosystem"
4. ชญาน์ จันทวสุ "Stakeholders เป็นศูนย์กลาง Action ฝังในธุรกิจ ขับเคลื่อนทั้ง Ecosystem" by ThaiPublica
2021-01-07
25 min
ThaiPublica
5. วิทัย รัตนากร "Social Bank เต็มรูปแบบ นำแบงก์รัฐมุ่ง ลดความเหลื่อมล้ำ แก้ความยากจน"
5. วิทัย รัตนากร "Social Bank เต็มรูปแบบ นำแบงก์รัฐมุ่ง ลดความเหลื่อมล้ำ แก้ความยากจน" by ThaiPublica
2021-01-07
22 min
ThaiPublica
6. นุชรี อยู่วิทยา "60 ปี จากปณิธานผู้ก่อตั้ง สู่การหล่อหลอมให้ TCP เป็นองค์กรช่วยเหลือสังคม"
6. นุชรี อยู่วิทยา "60 ปี จากปณิธานผู้ก่อตั้ง สู่การหล่อหลอมให้ TCP เป็นองค์กรช่วยเหลือสังคม" by ThaiPublica
2021-01-07
26 min
ThaiPublica
7. ศรีกัญญา ยาทิพย์ "ไม่มี One Size Fits All สำหรับนักลงทุนอย่างรับผิดชอบ"
7. ศรีกัญญา ยาทิพย์ "ไม่มี One Size Fits All สำหรับนักลงทุนอย่างรับผิดชอบ" by ThaiPublica
2021-01-07
21 min
ThaiPublica
8. บรรยง พงษ์พานิช "ใช้กลไกการแข่งขันให้ผู้บริโภคต้องการในสิ่งที่จะช่วยโลกยั่งยืน"
8. บรรยง พงษ์พานิช "ใช้กลไกการแข่งขันให้ผู้บริโภคต้องการในสิ่งที่จะช่วยโลกยั่งยืน" by ThaiPublica
2021-01-07
22 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP20 กสศ. กับการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาอย่างยั่งยืน
ดร.ไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. เปิดเผยถึงการทำงานล่าสุด ที่ กสศ. ได้วิจัยและพัฒนา นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (Information System for Equitable Education : iSEE) เวอร์ชั่น 2.0 ซึ่งเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (BIG Data) รายบุคคล ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส จากฐานข้อมูล “สถานการณ์การศึกษาไทย” ปีการศึกษา 2562 นักเรียนไทย 7.3 ล้านราย เกินครึ่งเข้าเกณฑ์กลุ่มเปราะบาง ด้อยโอกาส-พิการ รายได้กลุ่มนักเรียนยากจนเฉลี่ย 1,268 บาทต่อครัวเรือน พบนักเรียนอีก 4.5 พันรายไม่มีโรงเรียนในตำบลที่พักอาศัย ซึ่งตัวเลขเหล่านี้เป็นตัวสะท้อนถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของไทยได้อย่างชัดเจน รายการข่าวเจาะ จะพาไปดูการทำงานของ กสศ. ผ่านการสัมภาษณ์ โดยคุณบุญลาภ ภูสุวรรณ บรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิสำนักข่าวออนไลน์ ThaiPublica เพื่อไปสำรวจโครงการต่างๆ ทั้งการสร้างฐานข้อมูล สร้างนวัตรกรรม และการให้ทุน เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาไทย สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการ ‘ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา’ ได้ โดยร่วมบริจาคเข้ากองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อแบ่งปันโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียนยากจนพิเศษ ด้วยการบริจาคกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ผู้บริจาคสามารถนำเงินบริจาคไปหักลดหย่อนภาษี ได้ 2 เท่า เข้าไปดูข้อมูลได้ที่ www.eef.or.th/donate เปิดพิกัดนักเรียน 7.3 ล้านคน เจาะลึกทำไม “การศึกษาไทย” เหลื่อมล้ำสูง https://thaipublica.org/2020/08/thai-education-high-inequality01/ iSEE เวอร์ชัน 2.0 สแกนชีวิต-ความเป็นอยู่ “นักเรียนยากจน 1.7 ล้านคน” สภาวะลำบากซ้ำซ้อน (ตอน2) https://thaipublica.org/2020/09/eef-isee-version2-02/ เด็กไทยไร้ข้อมูลในระบบการศึกษา 1.1 ล้านคน ฐานะยากจน-พิษเศรษฐกิจตัดโอกาสเรียนหนังสือ (ตอน3) https://thaipublica.org/2020/10/eef-isee-version2-03/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify ดำเนินรายการโดย จิรัฐิติ ขันติพะโล
2020-10-15
46 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP18 ตำนาน 30 ปี คดีค่าโง่ "โฮปเวลล์" กับความเคลื่อนไหวล่าสุดในปี 2563
มหากาพย์คดีพิพาทระหว่างกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กับบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ยืดเยื้อมานานเกือบ 30 ปี เริ่มต้นขึ้นในสมัยรัฐบาล พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณได้มีแนวคิดที่จะแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยนำเสนอโครงการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับในเขต กทม ซึ่งมีบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) เป็นผู้รับสัมปทาน แต่เมื่อเวลาผ่านไป ปรากฎว่าการก่อสร้างมีความล่าช้ากว่ากำหนด มีความยืดเยื้อหลายปี จนนำไปสู่การบอกเลิกสัญญา และฟ้องร้อง เรียกค่าเสียหายมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท จนถึงปัจจุบัน ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา คดีนี้ก็ยังไม่จบ มีการยื่นคำร้องต่อศาลเพิ่มเติม และมีการพูดถึงหลักฐานใหม่ รายการข่าวเจาะจะพาไปย้อนรอยตำนาน 30 ปี คดีค่าโง่ "โฮปเวลล์" กับความเคลื่อนไหวล่าสุดในปี 2563 ว่าจะมีข้อมูลใหม่ หรือมีประเด็นอะไรที่น่าสนใจ พร้อมวิเคราะห์สถานการณ์ โดย กมล ชวาลวิทย์ บรรณาธิการข่าวข้อมูล สำนักข่าว ThaiPublica อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify ดำเนินรายการโดย จิรัฐิติ ขันติพะโล
2020-10-01
46 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP04 ปฏิรูปนโยบายการคลัง เพื่อสร้างสวัสดิการที่ยั่งยืน
ข่าวเจาะ EP04 โควิด 19 กับ 19 นักเศรษฐศาสตร์: ปฏิรูปนโยบายการคลัง เพื่อสร้างสวัสดิการที่ยั่งยืน . เศรษฐกิจที่บอบช้ำจากวิกฤติในครั้งนี้ จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลในการเยียวยา เราจะใช้ช้วิกฤติโควิด สร้างสวัสดิการให้กับประเทศไทยได้อย่างไร ข้อควรระมัดระวังในการใช้นโยบายทางการคลัง และการใช้เงินจาก พรก. กู้เงิน 1 ล้านล้านบาทมีอะไรบ้าง มาพูดคุยกับ ดร.ธร ปีติดล ดร.ภาวิน ศิริประภานุกูล และ ดร.อธิภัทร มุทิตาเจริญ ผู้เขียนบทความจากซีรีย์ "โควิด 19 กับ 19 นักเศรษฐศาสตร์" ใน ThaiPublica . อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast, Google Podcast และ Spotify . ดำเนินรายการโดย จิรัฐิติ ขันติพะโล
2020-05-13
29 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP03 ฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย จากโควิด-19
ข่าวเจาะ EP03 ฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย จากโควิด-19 . หาวิธีฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย จากโควิด-19 ในประเด็นเศรษฐศาสตร์มหภาค ความเหลื่อมล้ำ และเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข กับ ดร.ดอน นาครทรรพ ดร.สมชัย จิตสุชน และ ดร.นพพล วิทย์วรพงศ์ ผู้เขียนบทความจากซีรีย์ "โควิด 19 กับ 19 นักเศรษฐศาสตร์" ใน ThaiPublica . อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube Apple Podcast Google Podcast Spotify Soundcloud . ดำเนินรายการโดย จิรัฐิติ ขันติพะโล
2020-05-05
29 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ EP01 เอาชนะ COVID-19 กับ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
'ข่าวเจาะ' Podcast รายการข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน โดยสำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า เปิดตัวครั้งแรก กับเรื่อง COVID-19 วิกฤตการณ์ด้านสาธารณสุข ที่กำลังก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของโลกตามมา . สถานการณ์ COVID-19 อาจจะอยู่กับเรานานกว่าที่เราคิด ขณะที่มาตรการปิดเมือง หยุดเศรษฐกิจ กำลังทำให้เศรษฐกิจล่มสลาย วิธีที่เราจะก้าวผ่าน และอยู่กับ COVID-19 คืออะไร จิรัฐิติ ขันติพะโล จะพาไปตั้งคำถาม สำรวจ และวิเคราะห์หาวิธี 'เอาชนะ COVID-19' กับ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ผู้เขียนหนังสือ "Beating Covid-19 เอาชนะโรคร้ายด้วยความเข้าใจ" . อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube Apple Podcast Google Podcast Spotify . ดำเนินรายการโดย จิรัฐิติ ขันติพะโล . หนังสือ ‘Beating COVID-19 เอาชนะโรคร้ายด้วยความเข้าใจ’ ดาวน์โหลดได้ที่ https://thaipublica.org/2020/04/kkp-openbooks-beating-covid-19
2020-04-19
51 min
ThaiPublica
ข่าวเจาะ - Trailer
รายการข่าวเจาะ Podcast โดยสำนักข่าวออนไลน์ ThaiPublica ที่จะพาคุณไปพบกับข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน เพื่อความโปร่งใสของประเทศไทย ในประเด็นสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และความยั่งยืน พร้อมบทสัมภาษณ์สุดพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญในประเด็นที่น่าสนใจ คัดสรรโดยกองบรรราธิการสำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า . ดำเนินรายการโดย จิรัฐิติ ขันติพะโล
2020-04-19
00 min